DIY vs Vintage Meeting (24 ก.ค 2559 )

วันอาทิตย์ที่ 24 ก.ค 2559 ที่ผ่านมามีงานสังสรรค์เฉพาะกิจของกลุ่มนักเล่นเครื่องเสียงดีไอวาย และวินเทจ ร่วมกันจัดงาน “DIY vs Vintage :  เสือหนุ่มขยุ้มสิงห์เฒ่า” ที่โรงแรมเดอะ ภัทรา พระรามเก้า ผมมีโอกาสร่วมจัดงานขนข้าวของไปร่วมงานหลายรายการ แม้ช่วงวันจัดงานตัวผมเองจะอยู่บางช่วง แต่อยากเก็บมาเล่าให้อ่านกันครับ งานนี้เป็นการจัดงานโดยกลุ่ม thaidiyaudio.net และพี่ท่านหนึ่งซึ่งในกลุ่มวินเทจเรียกติดปากว่า “ป๋า oldies” เห็นพ้องกันว่าอยากจัดงานสังสรรค์ร่วมกันระหว่างกลุ่ม แต่เพื่อให้เกิดสีสันของงานที่น่าสนใจ เลยคิดธีมการจัดงานเป็นแนว “DIY vs Vintage” ปลุกเร้ากระแสกันในโลกโซเชียลกันครึกโครม แหย่กันไปแหย่กันมา แล้วค่อยมาเฉลยกันวันจัดงานว่าต้องการให้นักเล่นเครื่องเสียงทั้งสองแนวทางมีโอกาศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

อ่านเพิ่มเติม DIY vs Vintage Meeting (24 ก.ค 2559 )

Altec A5 & Jazz Mono (13 มี.ค 2559)

วินเทจสัญจรเที่ยวนี้บุกไปพัทยาไปเยี่ยมห้องฟังของคุณหมอท่านหนึ่ง เป็นนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจที่มาถึงเสียงที่ต้องการในช่วงเวลาไม่นานนัก เท่าที่จำได้ว่าคุณหมอเริ่มต้นจากการเดินหาเครื่องเสียงสำหรับมาฟังเพลงตามห้างร้านทั่วๆไป มีทั้งซื้อมาทดลองเล่นก็ยังได้เสียงไม่ถูกใจเสียที จนกระทั่งวันหนึ่งกลุ่มก๊วนนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจมีนัดกันที่โรงเตี๊ยมตาสว่าง ซึ่งเป็นบ้านของนักเล่นท่านหนึ่งที่นำเอาเครื่องเสียงวินเทจนอกกระแสมาเล่น ทำให้เหล่าสมาชิกได้เปิดหูเปิดตากับเครื่องเสียงวินเทจนอกกระแสมากมาย เลยเชิญชวนคุณหมอท่านนี้ไปเข้ามาฟังด้วยกัน หลังจากฟังเสียงจากเครื่องเสียงวินเทจแล้วก็พบคำตอบของแนวเสียงที่ค้นหา วิ่งตามเก็บเครื่องเล่นวินเทจหลายต่อหลายชิ้นโดยมีลำโพงตัวแรกที่เป็นตัวเริ่มต้นระบบนั่นก็คือ Altec A5 Voice of the Theatre

อ่านเพิ่มเติม Altec A5 & Jazz Mono (13 มี.ค 2559)

ตำนานมอนิเตอร์ฝั่ง UK (1 พ.ค 2559)

วินเทจสัญจรตอนนี้พาไปเยี่ยมชมห้องฟังของดีเจนักคิดนักเขียนนักแต่งเพลง ฯลฯ ท่านหนึ่งที่ชื่นชอบลำโพงฟากฝั่งอังกฤษเป็นพิเศษ เนื่องเพราะในห้องเดียวมีทั้ง Tannoy Westminster และ Buckingham Monitor อยู่ในห้องเดียวกัน!!! จุดเด่นของลำโพงมอนิเตอร์ค่าย Tannoy ที่เราท่านนึกออกในทันทีคือ เป็นนวัตกรรมลำโพงที่มีไดร์เวอร์ดอกเดียว มีทวีตเตอร์อยู่ตรงกลางวูฟเฟอร์ ให้เสียงได้ถูกต้องแม่นยำจากแหล่งกำเนิดเสียงเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเรียกว่าลำโพงแบบ “Dual Concentric” เป็นไดร์เวอร์ที่แตกต่างไปจากดอกลำโพงอื่นๆในอุตสาหกรรมการผลิตลำโพง เนื่องจากเป็นการสร้างให้ตรงกลางของวูฟเฟอร์จะมีทวีตเตอร์ทำงานร่วมกันในการสร้างเสียงเพลงออกมาแบบแกนกำเนิดเสียงเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้ผลิตลำโพงชั้นนำอย่างต่างก็ทราบถึงจุดเด่นของการวางไดร์เวอร์ในรูปแบบแกนร่วม หรือจัดวางให้วูฟเฟอร์ และทวีตเตอร์เป็นจุดกำเนิดเสียงจากจุดเดียวกัน แต่ก็ยังไม่มีผู้ผลิตรายได้ค้นพบทางออกของปัญหาทางวิศวกรรมอะคูสติคของไดร์ เวอร์แบบแกนร่วมได้สำเร็จ จนกระทั่ง Tannoy ได้สร้างลำโพงแบบ Dual Concentric ขึ้นมา

อ่านเพิ่มเติม ตำนานมอนิเตอร์ฝั่ง UK (1 พ.ค 2559)

สานต่อตำนานลำโพง Western Electric (28 ก.ค 2558)

ติดค้างจากวินเทจสัญจรตอนที่ผ่านว่าจะเอาเรื่องราวเกี่ยวกับลำโพง GIP 5006 มาเล่าสู่กันฟังในตอนนี้ครับ ต้องย้อนรอยไปถึงประวัติลำโพงในสายวินเทจอเมริกา พบว่าคอมเพรสชันไดร์เวอร์แถวหน้าของทำเนียบอย่าง JBL 375, Altec 288 ต่างได้รับแนวทางในการพัฒนาไดร์เวอร์มาจาก “Western Electric” ชื่อ…ที่เปี่ยมมนต์ขลังสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ ซึ่ง GIP Laboratory ถือว่าเป็นสายตรงของการนำเอาเทคโนโลยีลำโพงวินเทจ Western Electric มาผลิตใหม่ จะมีทั้งไดร์เวอร์หลากหลายรุ่น ครอสส์โอเวอร์ และตู้ลำโพง ไปจนถึงระบบลำโพงที่พร้อมใช้งานทั้งในแบบของ Western Electric  ดั้งเดิม และแบบผสมผสานขึ้นมาใหม่

อ่านเพิ่มเติม สานต่อตำนานลำโพง Western Electric (28 ก.ค 2558)

ส่งการบ้าน Garrard 301 (13 ก.พ 2559)

สืบเนื่องจากการที่สมาชิกในกลุ่มนักเล่นมักแวะเวียนกันไปฟังบ้านโน้นทีบ้านนี้ที จนกระทั่งมาถึงห้องที่เล่นซีสเต็มที่เป็นวินเทจในยุคพัฒนาคือใช้เทคโนโลยีวินเทจมาสร้างเป็นของใหม่นั่นก็คือลำโพง GIP 5005 ที่ผลิตไดร์เวอร์ตามสเปคของ Western Electric ดั้งเดิมเลย (ซีสเต็มนี้ไว้เล่าต่อในวินเทจสัญจรตอนหน้านะครับ) แต่ที่ไปสะดุดหูสะดุดตาสมาชิกท่านหนึ่งเข้าก็คือเทิร์นเทเบิลของ Shindo เผอิญว่ามีเทิร์นรุ่นเดียวกันนี้อยู่พอดี  แต่ติดตั้งอาร์มสมัยใหม่เลยให้เสียงไม่ค่อยจะถูกใจในน้ำเสียงสักเท่าไหร่ ลองแอบกระซิบถามไถ่ราคา Shindo 301 ได้ความว่าปาเข้าไป 6 หลักปลายๆเกือบ 7 หลักเลยทีเดียว เลยเป็นทีมาของการนำเอา Garrard 301 ฝากกลับมาให้ผมทำการบ้านให้หน่อยครับว่าจะเข็นไปได้ถึงไหน

อ่านเพิ่มเติม ส่งการบ้าน Garrard 301 (13 ก.พ 2559)

Tannoy Westminster Royal Mini Meeting (21 ม.ค 2559)

ลำโพงวินเทจฝั่งอังกฤษที่ครองใจนักเล่นมานานแสนนาน “Westminster Royal” เป็นระบบลำโพงที่ประสิทธิภาพสูงมากๆ และใช้แม่เหล็กหล่อโลหะผสม Alcomax 3 ไดร์เวอร์ความถี่สูงใช้ฮอร์นที่ยาวขึ้น เพื่อเพิ่มความยาวของทางเดินแม่เหล็ก ทำให้ลงตัวกับเสียงที่เกิดจากโหลดฮอร์นอะคูสติคบริเวณด้านหน้าตู้ ภายในตัวตู้มีโครงสร้างที่ซับซ้อน และสร้างมาเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถรีดประสิทธิภาพของไดร์เวอร์ Dual Concentric ออกมาได้มากที่สุด ตัวตู้ถูกสร้างขึ้นจากไม้อัดเบิร์ชเป็นโครงสร้างซับซ้อน และแข็งแรง ด้านหน้ามีฮอร์นโหลดทำหน้าที่เป็นปากฮอร์นสำหรับความถี่กลางต่ำ ตัวตู้ Westminster Royal จะมีความสูงกว่า Westminster HW  ทั้งด้านบนและด้านล่างตู้เป็นไม้วอลนัตแท้ลายเดียวกับด้านหน้าตู้ Westminster Royal นับเป็นลำโพงในฝันของนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ ถ้าไม่อยากเสียเวลาควานหาตัว Original ก็ลองดูตัวปัจจุบัน Westminster Royal ที่ยังมีผลิตจำหน่ายอยู่ในซีรีย์ Prestige GR ซึ่งมีนักเล่นสองท่านใช้เล่นกับชุดวินเทจอยู่ เลยเป็นที่มาของ “ Tannoy Westminister Royal Mini Meeting” ในครั้งนี้

อ่านเพิ่มเติม Tannoy Westminster Royal Mini Meeting (21 ม.ค 2559)

แอบส่อง Electro-Voice Georgian (30 ธ.ค 2558)


หลายปีก่อนเคยเห็นลำโพงวินเทจอยู่คู่หนึ่งบนหน้าปกวารสารญี่ปุ่น Stereo Sound ฉบับพิเศษ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลำโพงวินเทจที่เข้าทำเนียบสุดยอดลำโพงวินเทจ ก็ยังนึกในใจว่าลำโพงคู่นี้สวย และดูแปลกมาก เป็นตู้ทรงสูงสีโอ๊คด้านล่างปิดทึบหมด มีทองเหลืองหล่อขึ้นรูปเหมือนกับ f Hole ของไวโอลิน ด้านบนกรุผ้าปิดทับด้วยทองเหลืองหล่อเป็นโครงตาข่ายห่างๆเหมือนเหล็กดัด พอศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก็ได้ความว่าลำโพงคู่นี้คือ “Electro-Voice Georgian” นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม แอบส่อง Electro-Voice Georgian (30 ธ.ค 2558)

เซ็ตอัพ Tannoy Westminster (19 ต.ค 2558)

ถ้าให้ลองตรองดูว่า “ลำโพงวินเทจในดวงใจ” สิบคู่นั้นมีอะไรบ้าง Tannoy Westminster Royal  ก็คงเป็นหนึ่งในสิบนั้นอย่างมิพักต้องสงสัย ตัวตู้ผสมผสานระหว่างฮอร์นด้านหน้า และฮอร์นโหลดด้านหลัง ภายในมีความซับซ้อนมาก ใช้ไดร์เวอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Tannoy คือเป็น Dual Concentric ปัจจุบันลำโพง Tannoy Westminster GR ยังคงผลิตจำหน่ายอยู่ แต่ตัวไดร์เวอร์ได้รับการปรับปรุงให้สามารถรับกำลังขับได้สูงขึ้น และตอบสนองความถี่ได้ดีกว่ารุ่นก่อน ถ้าเป็น  Westminister วินเทจความไวสูงจะไม่ค่อยจุกจิกกับการเลือกเพาเวอร์แอมป์มาเล่นมากนักจึงเครื่องเสียงมาขับได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ผลิตจำหน่ายในปัจจุบันค่อนข้างจะเลือกไปสักหน่อย เรียกได้ว่าเป็นไปได้ทั้ง “ขนม และยาขม” ถ้าหากเลือกชุดมาเล่นด้วยแมตช์หรือไม่?

อ่านเพิ่มเติม เซ็ตอัพ Tannoy Westminster (19 ต.ค 2558)

เงาเสียงในตำนาน WE 91A


ถ้าให้นึกเบอร์หลอดซิงเกิลเอ็นด์ไตรโอดมาสักสามเบอร์ เบอร์ 300B คงเป็นเบอร์แรกที่นักเล่นมิใครต่อใครก็ต้องบอกออกมาเป็นแน่ แล้วเคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมหลอดเบอร์นี้จึงเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางนัก?  ย้อนกลับไปราวๆปี ค.ศ. 1930 อเมริกันชนทั่วไปจะมีโอกาสฟังเสียงจากระบบเสียงที่ให้คุณภาพเสียงเต็มย่านจากเครื่องขยายเสียงหลอดในโรงภาพยนตร์เท่านั้น เพราะในยุคนั้นการฟังเพลงจะใช้แผ่นครั่งสปีด 78rpm เล่นผ่านฮอร์นปากแตรที่ขยายเสียงจากหัวเข็มในแบบอะคูสติคเสียงออกจะกระป๋องกระแป๋งมาก ยิ่งวิทยุกระจายเสียงในยุคนั้นคุณภาพเสียงไม่ต้องพูดถึง ดังสถานที่ใช้ฟังเพลงได้สมบูรณ์แบบที่สุดก็ต้องเป็นโรงภาพยนตร์

อ่านเพิ่มเติม เงาเสียงในตำนาน WE 91A

ชอบหลอดมีแสงครับ

นอกจากเรื่องเสียงหวานๆของแอมป์หลอดแล้ว เสน่ห์ของแสงส้มๆจางๆจากไส้หลอด 2A3, 300B หรือจะสว่างโร่แบบ 211, 845 ก็ดึงดูดใจให้เราชื่นชมกับเครื่องเสียงหลอด เรียกได้ว่าเสพทั้งเสียง และแสงเลยก็ว่าได้ เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับ ว่าหลอดมันมีแสงสีอื่นบ้างมั้ย? คำตอบคือ มีครับ มีแบบทั้งที่ตั้งใจให้เกิด และไม่ได้ตั้งใจให้มันเกิด

อ่านเพิ่มเติม ชอบหลอดมีแสงครับ

Vintage Audio Blog by AnalogLism