ราชันย์หลอดเพาเวอร์ 6550 & KT88

เมื่อกำลังขับของแอมป์มีนัยในตลาดเครื่องเสียงไฮไฟ ทำให้ในยุคหนึ่งเครื่องเสียงต้องพะตัวเลขวัตต์สูงๆเพื่อให้ขายได้ง่าย แนวคิดนี้เริ่มขึ้นช่วงปี 1950 ผู้บริโภคมองหาเครื่องเสียงที่กำลังขับสูงขึ้น หรือเครื่องเสียงแยกชิ้นกันมากขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วความไวของลำโพงต่างหากที่มีความสำคัญมากกว่า หรืออาจกล่าวได้ว่าลำโพงเบสส์รีเฟล็กซ์ทั่วๆไป ก็เล่นได้ลั่นทุ่งกับเพาเวอร์แอมป์เพียง 30 วัตต์ต่อข้างแล้ว แต่ไหนก็ไหนแล้วแนวคิดที่ว่าก็ทำให้เกิดการพัฒนาสิ่งต่างๆมากมาย

อ่านเพิ่มเติม ราชันย์หลอดเพาเวอร์ 6550 & KT88

DHT หลงเสียง…ฮัม

จั่วหัวเรื่องไม่ผิดแน่นอนครับพักนึ้หลงเสียงฮัมครับ เสียงที่ไม่เป็นที่ปรารถนาของนักเล่นหลอดคือเสียงฮัม แต่มีหลอดกลุ่มหนึ่งเมื่อนำมาทำปรีแอมป์พบว่าที่ให้เสียงไพเราะน่าฟัง และหน้าตาหลอดสวยงามน่ามอง แต่หลอดกลุ่มนี้มักแถมเสียงฮัมเบาบ้างดังบ้างมาให้เสมอ เรียกได้ว่า เสียงนางฟ้า ฮัมดั่งซาตาน ก็ว่าได้ หลอดกลุ่มนี้คือหลอด Direct Heat Triode ครับ ฮัมดังบ้างเบาบ้าง แต่สุ้มเสียงที่ได้น่าสนใจครับ

อ่านเพิ่มเติม DHT หลงเสียง…ฮัม

211&845 Big Triode

นับตั้งแต่ที่มีการทดลองสร้างหลอดไตรโอดในปี 1917 General Electric หรือ GE ก็ได้เริ่มพัฒนาหลอด ‘Type U Pliotron’ เพื่อใช้ในการส่งคลื่นวิทยุทางการทหาร เรียกว่าหลอดเบอร์ CG1144  ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้มีการบรรจุระบบวิทยุรับส่งที่ใช้หลอดเบอร์นี้ลงในเครื่องบินที่แล่นบนผิวน้ำ หลังจากสงครามจบลงหลอด Type U ก็กลายมาเป็นเบอร์ UV-203 เริ่มถูกนำออกสู่ตลาดโดย RCA ในปี 1921 เป็นหลอดที่ผลิตโดย GE ถูกนำมาใช้งานกับเครื่องส่งวิทยุเอเอ็ม เป็นหลอดที่มีค่ามิวเท่ากับ 25 ไส้หลอดเป็นทังสเตนบริสุทธิ์ ในสมัยแรกหลอด 203 เป็นหลอดเครื่องส่งขนาดใหญ่ที่มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรม หลอด 203 ที่ใช้ไส้หลอดเป็นทังสเตนล้วนๆยังถูกผลิตออกมาโดยใช้เบอร์หลอดเฉพาะด้วยเช่น PG132 และ HW15

อ่านเพิ่มเติม 211&845 Big Triode

RCA 50 คู่กัด WE300B

ในยุคเฟื่องของหลอดสนามแข่งขันของบรรดาผู้หลิตหลอดนิยมไปฟาดฟันกันนัก ก็คือโรงภาพยนตร์นั่นเอง ในสมัยก่อนเชื่อมั้ยครับว่าหลอด 2A3 นี่ใช้เป็นแอมป์โรงหนังกัน เนื่องจากว่าลำโพงสมัยก่อนออกแบบให้ใช้งานกับแอมป์หลอดจึงมีความไวสูง ทำให้ใช้แอมป์กำลังขับ 3-4 วัตต์ ก็ลั่นโรงแล้ว แต่วันดีคืนดี Western Electric ก็สร้างแอมป์หลอดที่กำลังขับทะลุ 10 วัตต์ขึ้นมา คือ Model 86 แอมป์พุชพูลกำลังขับ 15 วัตต์ และ Model 91 แอมป์ซิงเกิลเอ็นด์กำลังขับเกิน 5 วัตต์ ทั้งสองรุ่นใช้หลอด WE300B ครับ เล่นเอาค่าย RCA ระส่ำระส่ายไปพอสมควร จะนิ่งเฉยให้ Western Electric รุกอยู่ฝ่ายเดียวได้อย่างไร ทีมวิศวกร RCA ก็ทุ่มเทวิจัยหลอดออกมาเบอร์หนึ่ง เพื่อเป็นหมัดเด็ดที่จะต่อกรกับ WE300B ได้นั่นก็คือหลอดเบอร์ 50

อ่านเพิ่มเติม RCA 50 คู่กัด WE300B

ลองเล่นสุดยอด 6SN7 ยุโรป

ใครจะคิดละครับว่าหลอดทรง GT หน้าตาธรรมดาอย่าง 6SN7GT กลับเป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในเครื่องหลอดคอมเมอร์เชียล และเครื่องหลอด DIY ที่เห็นกันส่วนมากก็จะเป็นหลอดอเมริกาไม่ว่าจะเป็น Sylvania Chorme Top, Bad Boy, Metal Base หรือ Tangsol Round Plate หรือ RCA Smoke Glass, Red Base เป็นต้น แต่ถ้าลองเล่นหลอดมะกันมาหลายแล้วยังไม่โดนซะที ลองหันมาเล่นหลอดฟากฝั่งยุโรปกันบ้างมั้ยครับ

อ่านเพิ่มเติม ลองเล่นสุดยอด 6SN7 ยุโรป

ทำไมหลอดผลิตใหม่ถึงสู้หลอด NOS ไม่ได้?

คำถามพื้นๆคือ ทำไมหลอด NOS ถึงได้ดีกว่าหลอดที่ผลิตใหม่? ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานแล้ววิทยาศาสตาร์รุดหน้า และเทคโนโลยีก็ล้ำกว่า ทำไมเราสร้างหลอดให้ดีเหมือนเดิมไม่ได้? การผลิตหลอดในอดีตกุมความลับอะไรไว้หรือ? กับหลอดเครื่องเสียงที่ดูจะเป็นงานอดิเรกมากกว่าจะเป็นอุตสาหกรรม ผู้จำหน่ายหลอดหลากหลายจากบริษัทเล็กๆ ได้พยายามปรับปรุงคุณภาพหลอดที่ตนมี พยายามผลักดันให้โรงงานผลิตหลอดปรับปรุงหลอดเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้  แต่ก็ดูจะเป็นการยากที่จะเข้าถึงเสียงในแบบหลอด NOS ได้ ลองมาพิจารณาปัจจัยต่างๆเหล่านี้ว่าทำไมหลอด NOS ถึงได้ดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม ทำไมหลอดผลิตใหม่ถึงสู้หลอด NOS ไม่ได้?

หม้อเก่า…กับหัวเข็ม MC

หัวเข็ม MC จะมีระดับสัญญาณเอาต์พุตต่ำกว่าหัวเข็ม MM มาก ถ้าปรีโฟโนที่มีสวิทช์เลือก MM/MC ก็สามารถใช้งานได้เลย แต่ถ้ามีแต่ปรีโฟโน MM อย่างเดียวจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ขยายสัญญาณหัวเข็ม MC เพื่อยกให้ระดับสัญญาณมีความแรงเท่ากับหัวเข็ม MM โดยปกติจะใช้ MC Headamp ที่เป็นวงจรขยาย กับ MC SUT (MC Step up Transformer) หรือหม้อแปลงขยายสัญญาณ ซึ่งอย่างหลังนี่แหละที่เราจะมาพูดถึงกันครับ อ่านเพิ่มเติม หม้อเก่า…กับหัวเข็ม MC

เลือกเล่นวินเทจโทนอาร์ม

พื้นฐานการทำงานของโทนอาร์มก็คือนำพาหัวเข็มวิ่งผ่านร่องเสียงจากแทร็คแรกไปถึงแทร็คสุดท้ายเท่านั้นเอง  แต่การทำหน้าที่ง่ายๆนี่ก็ไม่ง่ายนักเมื่อต้องผ่านปัญหาทางกายภาพ และปัญหาอะคูสติคนานับประการ อาร์มที่ดีที่สุดล้วนออกแบบมาเพื่อให้แก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้  โทนอาร์มจะต้องทำหน้าที่ควบคุมแรงกดของปลายหัวเข็มให้เหมาะสม นำพาปลายของหัวเข็มอยู่ในองศาที่เหมาะสมตลอดร่องเสียง และปราศจากการเรโซแนนซ์ที่ความถี่ใดๆอันจะเกิดผลการทำงานระหว่างหัวเข็มกับ แผ่นเสียง จึงมีเพียงโทนอาร์มที่ดีเท่านั้นจึงจะนำพาเสียงเพลงที่ปราศจากความเพี้ยนและ เสียงรบกวนต่างๆปนมากับเสียงเพลง นั่นเป็นเพียงอุดมคติ แต่โทนอาร์มที่จะกล่าวถึงนี้เป็นโทนอาร์มวินเทจที่น่าสนใจ และผ่านการนำมาเล่น เพื่อให้ได้บรรยากาศเสียงในแบบดั้งเดิมในยุคเดียวกับเพลงที่ฟัง

อ่านเพิ่มเติม เลือกเล่นวินเทจโทนอาร์ม

Vintage Audio Blog by AnalogLism