112A DHT Line Preamp

หลอด DHT (Direct Heat Triode) เบอร์ 112A เป็นหลอดที่ผมชอบน้ำเสียงเป็นการส่วนตัว เนื้อเสียง ไดนามิค รายละเอียด ความต่อเนื่องลื่นไหล โทนัลบาลานซ์ ไดนามิค อิมแพ็ค ครบเครื่องดีครับ สำหรับไลน์ปรีแอมป์ 112A ตัวนี้ผมขึ้นพร้อมกันสองตัว เลือกใช้ Line Output Transformer ของ Tango (อ่านแบบญี่ปุ่นว่า “ทังโกะ”) รุ่น NP-126 ซึ่งปัจจุบัน Tango เลิกผลิตไปแล้วทำให้ราคาหม้อแปลงรุ่นนี้เพิ่มสูงขึ้น 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม 112A DHT Line Preamp

Western Electric vs Japanese Vintage Hifi Style

11/06/2560 สมาชิกกลุ่มไปเยี่ยมห้องฟังคุณ Nott Tosapol ห้องแรกวางลำโพงไว้สองชุดคือ Western Electric 16A ใช้ไดร์เวอร์ฟีลด์คอลย์ WE 555 ไม่เสริมตู้เบสส์ หรือทวีตเตอร์ใดๆเลยใช้สำหรับการฟังโมโน ขับด้วยเพาเวอร์แอมป์ 101D P&C

อ่านเพิ่มเติม Western Electric vs Japanese Vintage Hifi Style

วินเทจมอนิเตอร์สารพัดนึก…RCA LC-1

ถ้ามีคนถามผมว่าลำโพงวินเทจยี่ห้อนี้รุ่นนี้เสียงดีมั้ย? ผมจะถามกลับทุกครั้งว่าใช้ฟังเพลงแบบไหน? คำตอบส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพลงแจ๊ส และเพลงร้อง ผมก็จะมีคำถามที่สองตามไปอีกว่าเป็นแจ๊สยุคไหน? เพราะลำโพงวินเทจจะให้เสียงออกมาสมบูรณ์แบบก็ต้องฟังเพลงในยุคของมัน อย่าง JBL Hartsfield ก็ต้องเป็นแจ๊สยุคเก่าเนื่องจากเบสส์ของลำโพง Hartsfield ลงได้ไม่ลึกเป็นลูกเหมือนกับลำโพง JBL รุ่นหลัง (แต่ถ้าจัด System Matching ลงตัวได้ Hartsfield จะสำแดงเดชได้สุดยอดครับ) หรืออย่าง JBL Monitor รุ่น 43xx พวกนี้ก็ไม่เหมาะกับแจ๊สยุคเก่าเนื่องจากให้เสียงกลางไม่ใหญ่ดิบแผดเหมือนลำโพง JBL รุ่นแรกๆทำให้อรรถรสการฟังเครื่องเป่าไม่สนุกเท่า เคยถามตัวเองเหมือนกันว่าแล้วมันมีมั้ยลำโพงวินเทจที่ฟังเพลงได้หลายยุคหลายสมัย???

อ่านเพิ่มเติม วินเทจมอนิเตอร์สารพัดนึก…RCA LC-1

เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 2 เพาเวอร์แอมป์

มาต่อกันกับเครื่องเสียงวินเทจที่เป็นเพาเวอร์แอมป์ ซึ่งตัวเลือกมีเยอะมากหลายตัวเรียกได้ว่าหายไปจากตลาดประมูลต่างประเทศเกลี้ยง แต่ถ้าหาได้ก็เป็นเพาเวอร์แอมป์ที่น่าเล่น แม้จะไม่หวือหวาเหมือนกับตัวยอดนิยม แต่คุณค่าไม่ได้ลดลงตามกาลเวลาครับ เพาเวอร์แอมป์วินเทจที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ไม่ได้เรียงลำดับตามความนิยม มูลค่า หรือคุณภาพเสียง แต่กล่าวถึงตามลำดับที่นึกออก และยังคงมีวนเวียนในตลาดเครื่องเสียงวินเทจอยู่ครับ

อ่านเพิ่มเติม เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 2 เพาเวอร์แอมป์

DAC ESS Sabre32 with DHT I/V

DAC เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องเล่นซีดี หรือซีดีทรานสปอร์ตให้เป็นสัญญาณเสียงเพลง จะมีหัวใจหลักคือชิปไอซี DAC สำหรับทำหน้าที่แปลงดิจิตอลให้เป็นอนาลอก ซึ่งก็มีหลายแนวหลากสำนักทางให้เลือกใช้เบอร์ยอดนิยมได้แก่ NOS DAC, Wolfson, BB PCMxxx, ESS Sabre32 ซึ่งผมเลือกใช้เบอร์ ESS 9018 Sabre32 โดยใช้ชุดบอร์ดของ AckoDAC ในภาคดิจิตอล

อ่านเพิ่มเติม DAC ESS Sabre32 with DHT I/V

เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 1 ปรีแอมป์

ข้อแตกต่างที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของเครื่องเสียงใหม่กับเครื่องเสียงวินเทจนั่นก็คือ มูลค่าของตัวเครื่องมีการแปรผันกับกาลเวลาแตกต่างกัน เครื่องเสียงใหม่มูลค่าของเครื่องจะแปรผกผันไปกับเวลาที่เพิ่มขึ้น เช่น ซื้อเครื่องใหม่ราคาหนึ่งแสนบาทฟังไปหนึ่งปี เบื่อเอาไปฝากขายราคาอาจจะเหลือแค่ครึ่งเดียว แต่เครื่องเสียงวินเทจหลายๆตัวกลับแปรฝันตามเวลาที่เพิ่มขึ้นเช่น ซื้อปรีแอมป์วินเทจราคาหนึ่งแสนบาท ฟังไปได้หนึ่งปีราคาเพิ่มขึ้นกลายเป็น 1.2 แสนบาท แต่ต้องเลือกยี่ห้อรุ่นที่นิยมเล่น และสะสมกัน หลายๆตัวยิ่งเก็บนานยิ่งเพิ่มมูลค่า ความจริงไม่ได้อยากจะชักชวนให้ท่านผู้อ่านแห่กันเข้ามาซื้อเก็บเครื่องเสียงวินเทจ จนทำให้ราคาเครื่องในปัจจุบันที่สูงอยู่แล้วจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก แต่อยากจะชักชวนนักเล่นบ้านเราเก็บเครื่องเสียงวินเทจที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ให้เข้ามาอยู่ในบ้านเรามากที่สุด หรือคิดว่าเป็นการลงทุนแบบฟุ่มเฟือย (Luxury Investment) อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะต่อให้บ้านเราไม่มีคนสะสม ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ก็ไล่กวาดเครื่องเสียงวินเทจเหล่านี้เข้ากรุสะสมเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว

อ่านเพิ่มเติม เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 1 ปรีแอมป์

My way Vintage System

วินเทจสัญจรได้แวะเวียนไปเยี่ยมนักเล่นท่านหนึ่งที่มีแนวทางการเล่นในแบบฉบับที่มีความเป็นตัวตนชัดเจน ไม่ยึดแนวทางการเล่นของนักเล่นวินเทจกระแสหลัก เครื่องวินเทจที่ครอบครองก็ต่างไปจากวินเทจกระแสหลัก นักเล่นท่านนี้รู้จักผ่านทางเฟซบุคมาช่วงเวลานานพอสมควร แต่กลับเพิ่งรู้ว่าเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันในสาขาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (IE) สจพ. (ปัจจุบันคือ มจพ.)  ก็อาศัยความเป็นรุ่นพี่ขอบุกไปเยี่ยมกรุรุ่นน้องกันหน่อยครับ

อ่านเพิ่มเติม My way Vintage System

Vintage Audio Experiment (8 ส.ค 2559)

ห้องโฮมเธียร์เตอร์หลังติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการรับชมภาพยนตร์ครบเรียบร้อยแล้ว บรรดาลำโพงของชุดโฮมเธียร์เตอร์ถูกติดตั้งบนผนังทั้งหมด จะมีวางพื้นก็เพียงสับวูฟเฟอร์ตัวเดียว อุปกรณ์ต้นทางเพาเวอร์แอมป์ทั้งหลายติดตั้งบนชั้นวางด้านหลังห้อง พบว่ายังพอมีที่จัดวางเครื่องเสียงวินเทจสำหรับใช้ในการฟังเพลงเพิ่มเติมได้อีก แต่อยากให้ชุดนี้สามารถเลือกเล่นได้หลากหลายจากเครื่องเสียงวินเทจที่สะสมไว้ เลยเพิ่มอุปกรณ์ขึ้นมาตัวหนึ่งนั่นคือ Pre-Speaker-Amp Selector JS-24 ทำให้สามารถเลือกเล่นเพาเวอร์แอมป์ได้ 4 ชุด ปรีแอมป์ 2 ชุด และลำโพง 2 ชุด ในชุดนี้วางลำโพงหลักเป็น JBL Hartsfield 9 ตู้แท้เวอร์ชันแรกวูฟเฟอร์ติดจากด้านบน และไดร์เวอร์ 375 สีเทาไดร์เวอร์ทั้งชุดเป็น รุ่น Big L ทั้งหมด ลำโพงรองแล้วแต่จะยกตัวไหนออกมาลองเล่น ในวันที่เซ็ตอัพได้ยกเอา RCA LC-1A ในตู้ RCA MI-11406 มาวางด้านหน้า เพื่อใช้ทดสอบการทำงานของ Pre-Speaker-Amp Selector

อ่านเพิ่มเติม Vintage Audio Experiment (8 ส.ค 2559)

Keep it Analog Meeting 2016 (18 ก.ย 2559)

“Keep it Analog “ เป็นชื่อกลุ่มนักเล่นบนเฟซบุคที่นิยมการฟังเพลงจากแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นอะนาล็อคเช่น แผ่นเสียง และเทปรีล เป็นกลุ่มที่มีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องจัดงานเพื่อให้สมาชิก และผู้สนใจได้เปิดหูเปิดตา รับข้อมูลของแนวทางการเล่นเครื่องเสียงของกลุ่มเป็นประจำ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 18 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา โดยกำหนดธีมของงานเป็น “USA Meet UK” โดยนำเอาลำโพงวินเทจฝั่งอเมริกามาชนกับฝั่งอังกฤษ พยายามจัดเครื่องเสียงให้ตรงกับธีมของงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

อ่านเพิ่มเติม Keep it Analog Meeting 2016 (18 ก.ย 2559)

บนเส้นทางของ Vintage Hifi (21 ส.ค 2559)

ความทรงจำชัดเจนเหมือนเกิดขึ้นไม่นานสักเท่าไหร่ เมื่อนายแบงค์หนุ่มใหญ่ที่หอบหิ้วเครื่องเล่นเทป กับเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบอัตโนมัติมาให้ผมช่วยดูแล ในขณะนั้นคุณเบิ้น (ชื่อเล่นของนายแบงค์หนุ่มใหญ่ครับ) ยังไม่ได้สัมผัสถึงนิยามของเสียงในแบบ “Vintage Hifi” เลยถือโอกาสเชิญเข้ามาฟังลำโพงลูกผสม Karlson K-15 กับฮอร์น Altec 511B กับเครื่องเล่นแผ่นเสียง ในตอนนั้นเผอิญว่ามีแผ่นอัลบั้ม “จูบ”ของคุณพิทยา บุณยรัตพันธุ์ เสียงแรกจากแทร็คแรกหน้าแรกเหมือนมนต์สะกดให้คุณเบิ้นเริ่มก้าวแรกสู่การเล่นในแบบ Vintage Hifi และผมก็เห็นพัฒนาการการเล่นมาโดยตลอด ที่น่าสนใจคือ การเล่นแบบมีเสียงที่ต้องการอยู่ในใจแล้วทำให้สามารถเดินทางไปสู่จุดหมายได้รวดเร็วมาก

อ่านเพิ่มเติม บนเส้นทางของ Vintage Hifi (21 ส.ค 2559)

Vintage Audio Blog by AnalogLism