อุปกรณ์ประเภทพาสซีพว์เช่น R หรือ ตัวต้านทาน, C หรือ ตัวเก็บประจุ (เฉพาะแบบไม่มีขั้ว), ฟิวส์, สายสัญญาณ ฯลฯ มันมีทิศทางการใส่ด้วยหรือ? ปกติอุปกรณ์เหล่านี้จะต่อกลับหัวกลับหางอย่างไรก็ไม่เกิดผลเสียทางไฟฟ้าแต่อย่างใด ในส่วนของสายสัญญาณ และฟิวส์ ท่านที่ใช้งานเครื่องเสียงคอมเมอร์เชียลคงทราบว่ามันมีผลมากบ้างน้อยบ้างตามซีสเต็มที่ใช้งานอยู่ แต่สำหรับท่านที่เล่นเครื่องเสียงหลอดทำเอง อาจจะยังไม่ได้สังเกตุ หรือสนใจถึงผลจากทิศทางของอุปกรณ์ จริงๆแล้วมันเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องพิจารณาเวลาประกอบแอมป์หลอดขึ้นมาสักเครื่องหนึ่งครับ
เรื่องทั้งหมดโดย AnalogLism
เสน่ห์เสียง Western Electric
“Western Electric” ชื่อที่มีมนต์ขลังทุกครั้งที่นึกถึงเสมอสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ เพราะไม่ว่าอะไรก็ตามที่พะยี่ห้อนี้ มันต้องแพงไปซะทุกชิ้นสิท่า ไม่ว่าจะเป็น หลอดสุญญากาศ, หม้อแปลงอินพุต เอาต์พุต อินเตอร์สเตจ หม้อแปลงไฟ โช๊ค, อุปกรณ์พาสซีฟว์พวกตัวต้านทานหน้าตาแปลกๆ ตัวเก็บประจุตัวเขื่องๆ หรือแม้กระทั่งเศษสายไฟ มูลค่าที่เกิดขึ้นจากความเป็น “Western Electric” นี่เอง ยิ่งเป็นเครื่องเสียงวินเทจเพาเวอร์แอมป์ ลำโพง ด้วยละก็แทบไม่ต้องคิดเลยว่ามูลค่าจะไปเป็นเท่าไหร่ครับ
Lowther ที่สุดของฟูลเรนจ์
สืบเนื่องจากงาน “Keep it Analog Meeting 2016” ในวินเทจสัญจร มีลำโพงที่ชื่ออาจจะไม่คุ้นหูนักเล่นวินเทจสักเท่าไหร่ นั่นก็คือลำโพงฟูลเรนจ์ “Lowther” ที่สร้างความประทับใจ และประหลาดใจไปกับไดร์เวอร์ขนาดเพียง 8 นิ้วดอกเดียว สามารถสร้างเสียงได้ครบแบบมีคุณภาพทั้งทุ้มกลางแหลม แต่ลำโพง “Lowther” กลับเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักเล่นแบบ DIY ด้วยความไวสูงมากเฉพาะไดร์เวอร์เปล่าๆก็มีความไวถึง 99.5 ดีบี ถ้าลงตู้แล้วบางแบบความไวจะสูงถึง 107 ดีบีกันเลยทีเดียว ทำให้สามารถเล่นแอมป์วัตต์ต่ำๆ อย่าง 101D, 45, 2A3 ได้เสียงดันลั่นบ้าน และไม่ยุ่งยากในการทำครอสส์โอเวอร์แบบลำโพงหลายทาง
เสียงของ R คาร์บอนหัวตัด
ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนคอมฯ (carbon composition หรือ CC) ถูกยกให้เป็นสุดปลายฝันของพิสุทธิ์แห่งเสียงแนวหลอด โดยได้รับการยอมรับจากนักเล่นที่อยากได้เสียงแบบแอมป์วินเทจ มันสามารถชุบชีวิตแอมป์เสียงแห้งๆให้มีชีวิตชีวาอย่างน่าฟังขึ้นได้
ตามรอยหลอดจิ๋วจอมพลัง EL84
หลอดเพาเวอร์เพนโทด EL84 เป็นผู้นำทั้งในแอมป์กีตาร์ และเครื่องเสียงไฮไฟคลาสสิคหลายๆรุ่น หลอด EL84 เริ่มจากการพัฒนาซีรีย์หลอดเพนโทดเอาต์พุตสำหรับงานออดิโอ สำหรับใช้งานในภาคขยายไฮไฟกำลังต่ำ เครื่องบันทึกเทป และเครื่องรับวิทยุที่ใช้ไฟ AC สิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมคือสกรีนกริดสามารถรับแรงดันสูงได้ เหมือนเพลท (ที่ 300V) ใช้งานแพร่หลายทั้งวิทยุราคาถูกๆไปจนถึงเครื่องเสียงไฮไฟราคาแพงๆ
ราชันย์หลอดเพาเวอร์ 6550 & KT88
เมื่อกำลังขับของแอมป์มีนัยในตลาดเครื่องเสียงไฮไฟ ทำให้ในยุคหนึ่งเครื่องเสียงต้องพะตัวเลขวัตต์สูงๆเพื่อให้ขายได้ง่าย แนวคิดนี้เริ่มขึ้นช่วงปี 1950 ผู้บริโภคมองหาเครื่องเสียงที่กำลังขับสูงขึ้น หรือเครื่องเสียงแยกชิ้นกันมากขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วความไวของลำโพงต่างหากที่มีความสำคัญมากกว่า หรืออาจกล่าวได้ว่าลำโพงเบสส์รีเฟล็กซ์ทั่วๆไป ก็เล่นได้ลั่นทุ่งกับเพาเวอร์แอมป์เพียง 30 วัตต์ต่อข้างแล้ว แต่ไหนก็ไหนแล้วแนวคิดที่ว่าก็ทำให้เกิดการพัฒนาสิ่งต่างๆมากมาย
DHT หลงเสียง…ฮัม
จั่วหัวเรื่องไม่ผิดแน่นอนครับพักนึ้หลงเสียงฮัมครับ เสียงที่ไม่เป็นที่ปรารถนาของนักเล่นหลอดคือเสียงฮัม แต่มีหลอดกลุ่มหนึ่งเมื่อนำมาทำปรีแอมป์พบว่าที่ให้เสียงไพเราะน่าฟัง และหน้าตาหลอดสวยงามน่ามอง แต่หลอดกลุ่มนี้มักแถมเสียงฮัมเบาบ้างดังบ้างมาให้เสมอ เรียกได้ว่า เสียงนางฟ้า ฮัมดั่งซาตาน ก็ว่าได้ หลอดกลุ่มนี้คือหลอด Direct Heat Triode ครับ ฮัมดังบ้างเบาบ้าง แต่สุ้มเสียงที่ได้น่าสนใจครับ
211&845 Big Triode
นับตั้งแต่ที่มีการทดลองสร้างหลอดไตรโอดในปี 1917 General Electric หรือ GE ก็ได้เริ่มพัฒนาหลอด ‘Type U Pliotron’ เพื่อใช้ในการส่งคลื่นวิทยุทางการทหาร เรียกว่าหลอดเบอร์ CG1144 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้มีการบรรจุระบบวิทยุรับส่งที่ใช้หลอดเบอร์นี้ลงในเครื่องบินที่แล่นบนผิวน้ำ หลังจากสงครามจบลงหลอด Type U ก็กลายมาเป็นเบอร์ UV-203 เริ่มถูกนำออกสู่ตลาดโดย RCA ในปี 1921 เป็นหลอดที่ผลิตโดย GE ถูกนำมาใช้งานกับเครื่องส่งวิทยุเอเอ็ม เป็นหลอดที่มีค่ามิวเท่ากับ 25 ไส้หลอดเป็นทังสเตนบริสุทธิ์ ในสมัยแรกหลอด 203 เป็นหลอดเครื่องส่งขนาดใหญ่ที่มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรม หลอด 203 ที่ใช้ไส้หลอดเป็นทังสเตนล้วนๆยังถูกผลิตออกมาโดยใช้เบอร์หลอดเฉพาะด้วยเช่น PG132 และ HW15
RCA 50 คู่กัด WE300B
ในยุคเฟื่องของหลอดสนามแข่งขันของบรรดาผู้หลิตหลอดนิยมไปฟาดฟันกันนัก ก็คือโรงภาพยนตร์นั่นเอง ในสมัยก่อนเชื่อมั้ยครับว่าหลอด 2A3 นี่ใช้เป็นแอมป์โรงหนังกัน เนื่องจากว่าลำโพงสมัยก่อนออกแบบให้ใช้งานกับแอมป์หลอดจึงมีความไวสูง ทำให้ใช้แอมป์กำลังขับ 3-4 วัตต์ ก็ลั่นโรงแล้ว แต่วันดีคืนดี Western Electric ก็สร้างแอมป์หลอดที่กำลังขับทะลุ 10 วัตต์ขึ้นมา คือ Model 86 แอมป์พุชพูลกำลังขับ 15 วัตต์ และ Model 91 แอมป์ซิงเกิลเอ็นด์กำลังขับเกิน 5 วัตต์ ทั้งสองรุ่นใช้หลอด WE300B ครับ เล่นเอาค่าย RCA ระส่ำระส่ายไปพอสมควร จะนิ่งเฉยให้ Western Electric รุกอยู่ฝ่ายเดียวได้อย่างไร ทีมวิศวกร RCA ก็ทุ่มเทวิจัยหลอดออกมาเบอร์หนึ่ง เพื่อเป็นหมัดเด็ดที่จะต่อกรกับ WE300B ได้นั่นก็คือหลอดเบอร์ 50
ลองเล่นสุดยอด 6SN7 ยุโรป
ใครจะคิดละครับว่าหลอดทรง GT หน้าตาธรรมดาอย่าง 6SN7GT กลับเป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในเครื่องหลอดคอมเมอร์เชียล และเครื่องหลอด DIY ที่เห็นกันส่วนมากก็จะเป็นหลอดอเมริกาไม่ว่าจะเป็น Sylvania Chorme Top, Bad Boy, Metal Base หรือ Tangsol Round Plate หรือ RCA Smoke Glass, Red Base เป็นต้น แต่ถ้าลองเล่นหลอดมะกันมาหลายแล้วยังไม่โดนซะที ลองหันมาเล่นหลอดฟากฝั่งยุโรปกันบ้างมั้ยครับ