มีนักเล่นเครื่องเสียง Ultra Hi-end เพิ่งเอาเทิร์นวินเทจ EMT 930st เข้ามาในระบบ แต่อยากเล่นปรีโฟโนนอก ก็เลยต้องเตรียม MC SUT Western Electric 618B Silver กับหัวเข็ม EMT TSD15 SFL กับVdH ติดไปหน่อย เพื่อดูแนวเสียงครับ
เก็บงาน Lansing Iconic
Lansing Iconic (Replica) เป็นลำโพง Field Coil ทั้งระบบต้องมีภาคจ่ายไฟสำหรับขดฟีลด์คอยล์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ผลิตลำโพงกำหนดให้มีการต่อวงจรต้องอนุกรมขดฟีลด์คอยล์ของคอมเพรสชันไดร์เวอร์กับวูฟเฟอร์ แล้วใช้ตัวต้านทานคร่อมขดฟีลด์คอยล์ของวูฟเฟอร์เพื่อกำหนดแรงดันตกคร่อม แถมภาคจ่ายไฟทำเป็นสายพ่วงออกมาแค่สองเส้น ถ้าจะต่อวงจรตามที่ต้องการ ก็ทำให้มีสายห้อยโยงระยางหลังตู้ไม่เรียบร้อยด้านหลังตู้ ยิ่งตัวต้านทานรักษาแรงดันเกิดความร้อนสูง ไปแตะโดนไม้หลังตู้นี่เป็นรอยไหม้กันเลยทีเดียว
EMT 930st Full Upgrade
EMT 930st บางตัวซื้อมาเป็นไฟความถี่ 60 Hz ถ้าเอามาใช้งานบ้านเราต้องมีตัวสร้างแรงดันป้อนที่เป็นความถี่ 60 Hz ในฟอรัมมีการใช้อุปกรณ์ประเภท Variable Frequency Inverter มาต่อใช้งาน แต่มีตัวที่ทำขึ้นมาเฉพาะเพื่อใช้งานกับเทิร์นเทเบิล EMT 930/927 เลยนั่นก็คือ Multiconverter DU 937 110V 60Hz จาก Studiotechnik Dusch แต่ไหนก็ไหนแล้วเลยจับเปลี่ยนโทนอาร์มเป็นอาร์มกล้วยหอม EMT 997 ไปเลยดีกว่าครับ เรียกได้ว่าเป็นตัว EMT 930st ฉบับ “จัดเต็ม” เลยทีเดียว
Cinemeccanica Iconic Setup
Cinemeccanica เป็นยี่ห้อของระบบโรงภาพยนตร์สัญชาติอิตาลี จะมีทั้งเครื่องฉาย แอมป์ ไปจนถึงลำโพง ในส่วนของการนำมาใช้งานเป็นระบบเสียงภายในบ้านที่ยากหน่อยเพราะแทบจะไม่มีข้อมูลอ้างอิงใดๆได้เลย บังเอิญว่ามีเพื่อนชาวรัสเซียเสนอไดร์เวอร์ครบชุด พร้อมฮอร์น 15 ช่อง และครอสส์โอเวอร์ของ Cinemeccanica มา ในช่วงที่ผ่านมามีโอกาสได้สร้างลำโพงในสไตล์ของ Lansing Iconic โดยใช้ฮอร์น 8 ช่องกับ MG Driver พบว่าให้เสียงได้ดีมาก เลยเป็นที่มาของการเซ็ตระบบลำโพงชุดนี้
Setup 22A Replica Horn
เซ็ตอัพลำโพงฮอร์น Western Electric 22A Replica ตัวฮอร์นขึ้นรูปจากเหล็กแผ่นพ่นแดมป์ลดเรโซแนนซ์ ติดตั้งคอมเพรสชันไดร์เวอร์ Neumann วางบนขารองฮอร์นที่มีจุดสัมผัสฮอร์นน้อยที่สุด และจัดวางทั้งชุดลงบนโต๊ะที่แยกจากตู้เบสส์อย่างอิสระ เพื่อไม่ให้แรงสั่นสะเทือนจากวูฟเฟอร์เข้าถึงฮอร์น
111C CD Enhancement
ในซีสเต็มที่ใช้แหล่งกำเนิดเสียงหลายฟอร์แมตในการฟังเพลง เมื่อไปถึงจุดๆหนึ่งจะพบว่า เสียงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะให้ความไพเราะในการฟังมากกว่าเครื่องเล่นซีดีมากๆ ทำให้ซีดีกลายจุดอ่อนของระบบเสียงไปโดยปริยาย แต่เมื่อนำเอาหม้อแปลง Western Electric 111C มาต่อใช้งานกลับพบว่าไดนามิคเฮดรูมของเครื่องเล่นซีดีถูกยกระดับขึ้นมาโดยพลัน ผมของเรียกมันว่า “CD Enhancement”
6SN7GT 300B SE
300B Single Ended ตัวนี้น่าจะเป็นงานเคาะสนิมงานดี.ไอ.วาย ที่ทิ้งช่วงมาหลายปีด้วยกัน ก็ด้วยเหตุผลสองประการคือ ประการแรกซ้อมมือก่อนลงมือทำแอมป์โมโนบล๊อก 300B วงจร WE91 ประการที่สองมีหลอด WE300B ปีเก่าทั้งปีลึกปีไม่ลึกทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แต่กลับไม่มีแอมป์สำหรับทดลองหลอด!
DST 62 Holy Grail of a Cartridge
จั่วหัวเป็นภาษาอังกฤษว่า “DST 62 จอกศักดิ์สิทธิ์แห่งหัวเข็ม” อาจจะดูเกินจริงไปสักนิด แต่ถ้ามีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์ทางเสียงจากหัวเข็ม Neumann DST-62 สักครั้ง คงต้องยอมรับโดยดุษฎีว่าสมคำล่ำลือจริงๆ ทั้งในแง่มูลค่า และความหายากมาก เนื่องจากหัวเข็มรุ่นนี้มีผลิตมาจำกัดเพียง 900 หัวทั่วโลกเท่านั้น! ถึงกับมีคนกล่าวไว้ว่า “เป็นหัวเข็มหนึ่งเดียวที่นักเลงวินเทจออดิโอไฟล์ควรหาโอกาสฟังได้สักหนึ่งครั้งในชีวิต”
อ่านเพิ่มเติม DST 62 Holy Grail of a Cartridge
“ถูกต้อง” และ “เหมาะสม”
21 ก.พ. 2562 ซีสเต็มวินเทจที่เพิ่งเตรียมเทิร์นเข้าประจำการสองตัวด้วยกันนั่นคือ EMT930st หัวเข็ม EMT TDS-15 สำหรับการเล่นสเตอริโอ และ Garrard 301 อาร์ม Gray Research 208S หัวเข็ม GE RPX Golden Treasure สำหรับการเล่นโมโน
Doshi Tape Stage with Studer A820
Studer A820 จัดว่าเป็นเครื่องเล่นเทปรีลตัวกลั่นของค่าย Studer และเป็นหนึ่งในเบญจภาคีเมื่อนำมาจัดลำดับเครื่องเล่นเทปรีลที่ดีที่สุดในโลก กลไกทำงานยอดเยี่ยมแม่นยำ ภาคปรีสำหรับเล่นกลับและอัดก็ถือว่าดีเยี่ยม แต่ในกลุ่มนักเล่นสายลึกต่างลงความเห็นว่าภาคปรีภายในตัวมันเองไม่ได้ดีมาก!!! ถ้าบายพาสสัญญาณจากหัวเทปไปใช้ปรีเทปข้างนอกมันจะให้เสียงที่ดีกว่ามาก แต่ปรีเทปข้างนอกต้องคุณภาพดีกว่ามากๆด้วยครับ ตัวเลือกปรีเทปมีให้เลือกไม่มากนักเรียกว่ายกนิ้วขึ้นมานับได้ไม่ถึงสิบตัว หนึ่งในนั้นคือ Doshi Audio รุ่น V3.0 Tape Stage