JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 5 : ยุคที่สองของ Harman (1980 – Present)

จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism

หลังจากที่ Dr. Harman หมดวาระการทำงานในทีมของประธานาธิบดี Carter ในท้ายปี 1978 เขาก็หวนคืนสู่วงการตลาดออดิโออีกครั้ง ช่วงเวลาที่ผ่านมา Beatrice พบว่าค่อนข้างลำบากมากในการทำอุตสาหกรรมออดิโอ เนื่องด้วยพวกเขาขาดประสบการณ์ทางด้านการตลาดทางด้านนี้อย่างมาก ทำให้ไม่ค่อยสร้างบทบาทได้โดดเด่นมากนัก ผลประกอบการจึงไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ดั้งนั้นเมื่อ Dr. Harman เข้าทาบทาม Beatrice จึงมึความเป็นไปได้สูงในการซื้อบริษัทคืน แบรนด์หลักภายใต้ Harman International ในช่วงนั้นที่ทาง Beatrice ได้จากการซื้อบริษัทก็คือ Harman Kardon, JBL, Ortofon และ Tannoy ในปี 1980, ก็ได้ทำความตกลงร่วมกับ Dr. Harman ว่าซื้อเฉพาะ JBL คืนจาก Beatrice ส่วนแบรนด์ Harman/Kardon เดิมถูกขายให้กับบริัษัทญี่ปุ่น Shin-Shirasuna ซึ่งเป็นผู้จำหน่าย OEM ของ Harman/Kardon ส่วน Tannoy และ Ortofon ถูกแยกกออกมาต่างหาก ภายหลังการตกลงซื้อขาย และมีข้อเสนอด้านการเงินเพิ่มเติมในการซื้อ JBL, Dr. Harman ก็สามารถซื้อรวมกับ Harman International คืนมาด้วย หลังจากที่ขายให้กับ Beatrice เมื่อสามปีก่อน โดย Dr. Harman ได้ปรับโครงสร้าง Harman International โดยให้แบรนด์ JBL เป็นแนวหน้า เพื่อคืนสู่สังเวียนการตลาดต่อ เขาได้สร้างให้ Harman International กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

อ่านเพิ่มเติม JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 5 : ยุคที่สองของ Harman (1980 – Present)

JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 4 : ยุค Beatrice (1977-1980)

จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism

ในปี 1977 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งขึ้นกับ JBL เมื่อ Harman International ถูกขายให้กับ Beatrice Foods Co. ในช่วงที่ Dr. Harman ได้ก่อตั้งและบริหารให้ Harman International ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด ชื่อเสียงของเขาขจรไปถึงหูผู้ลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น นั่นคือ Jimmy Carter โดย Carter ได้เข้าทาบทาม Dr. Harman เข้าร่วมโดยเสนอตำแหน่งเลขาธิการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง Dr. Harman ก็ตอบรับ ซึ่งตอนรับตำแหน่งมีข้อบังคับเรื่องการถือหุ้นอยู่ ทำให้เขาต้องขายหุ้นทั้งหมดให้กับ Beatrice ซึ่งเคยเสนอขอซื้อ Harman International ซึ่งเขาก็ได้ปฏิเสธไปแล้วครั้งหนึ่ง พอมาในปี 1977, Dr. Harman ก็ได้ติดต่อกับทาง Beatrice เพื่อขายหุ้น Harman International

อ่านเพิ่มเติม JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 4 : ยุค Beatrice (1977-1980)

JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 3 : สู่ยุคของ Harman (1969 – 1977)

จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism

ปี 1969 เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ JBL ไปแล้วครั้งหนึ่งเนื่องจากการเสียชีวิตของ Jim Lansing ในปีนี้เองที่ Thomas ขาย JBL ให้กับ Jervis Corporation และเป็นปีสุดท้ายของการเป็นบริษัทอิสระ Tom Jennings, ซึ่งเป็น Vice President of Marketing ของ Thomas ได้รับมอบหมายให้หาผู้ซื้อบริษัท เขานึกถึง Dr. Sidney Harman ซึ่งเป็นแกนนำของ Jervis Corporation และมีความสนใจที่จะขยายบริษัทในตลาดเครื่องเสียงเพิ่มเติมจากตลาดอิเล็กทรอนิกส์ Jennings ได้จัดให้ทั้งสองบริษัทพบกัน และเจรจาต่อรองการซื้อบริษัท Jervis ได้สิทธิเต็ม 100% ในการเป็นเจ้าของ JBL และควบคุมบริษัทได้อย่างสมบูรณ์ Thomas ก็ไม่ถึงกับหมดบทบาทในการมีส่วนร่วมกับ JBL เขาได้นับมอบตำแหน่งจากบอร์ดบริหารของ Jervis ในตำแหน่ง Honorary Chairman of JBL

อ่านเพิ่มเติม JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 3 : สู่ยุคของ Harman (1969 – 1977)

JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 2 : ก้าวสู่ยุคของ Thomas

จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism

การเสียชีวิตของ Jim Lansing ทำให้ดูราวกับว่าเป็นจุดจบของ JBL เนื่องจากในช่วงนั้นบริษัทกำลังติดหล่มของภาระหนี้สิน, การดำเนินกิจการโดยไม่เกิดผลกำไร และผู้ที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่เป็นหน้าตาของบริษัทก็ลี้หนีหายไปสิ้น ทว่าจุดนี้กลับเป็นจัดเปลี่ยนผันของ JBL ที่ก้าวไปสู่ยุครุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมลำโพง หนึ่งในผู้ที่พลิกผันที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุด — William H. Thomas

อ่านเพิ่มเติม JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 2 : ก้าวสู่ยุคของ Thomas

JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 1: จุดเริ่มต้นยุคของ Jim Lansing

จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism

James B. Lansing (ผู้แปล: Jim หรือ James คนเดียวกันครับ) เคยลองไปสมัครงานบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ Nathaniel Baldwin Company ในตำแหน่งงานในโรงงานผลิตวิทยุ, หูฟัง และลำโพง ที่ Salt Lake City โดยมี Mr.Baldwin เป็นผู้สัมภาษณ์ แต่ก็ไม่ได้ถูกว่าจ้างให้ทำงานที่โรงงาน แต่เขาก็ได้ทำงานที่สถานีวิทยุท้องถิ่น และหลังจากนั้ันก็ไปทำงานที่ Felt Auto Parts Company ซึ่งได้เสริืมทักษะด้านเครื่องยนต์กลไกให้กับเขาเป็นอย่างดี ในช่วงที่ทำงานอยู่เขาก็ได้เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับการสร้างลำโพง โดยลองสร้างกรวยกระดาษขึ้นมาใหม่แล้วยึดกับโครงไดรเวอร์ของ Nathaniel Baldwin ลำโพงแบบกรวยในยุคนั้นเพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นลำโพงที่มีแนวโน้มว่าให้คุณภาพเสียงดีกว่าลำโพงฮอร์นแบบคอห่าน

อ่านเพิ่มเติม JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 1: จุดเริ่มต้นยุคของ Jim Lansing

Original Western Electric 22A Speaker System

ระบบลำโพงฮอร์น Western Electric 22A น่าจะเป็นลำโพงที่ถูกสร้างมากที่สุด ด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่โตเกินไปนัก เมื่อเซ็ตอัพเป็นระบบสเตอริโอสามารถจัดระยะติดตั้ง และตำแหน่งนั่งฟังได้เหมาะสมกับขนาดห้องในบ้านเรามากกว่าฮอร์น Western Electric ตัวอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก แน่นอนว่าการสร้างก็อาศัยแปลนกับขนาด และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตประกอบการสร้าง นักเล่นเครื่องเสียงวินเทจในบ้านเราสร้างเลียนแบบขึ้นมามากมาย แล้วของจริงนั้นเป็นอย่างไร?

อ่านเพิ่มเติม Original Western Electric 22A Speaker System

Wonder WiFi Streaming Vintage Speaker

       เริ่มต้นจากไปได้ลำโพงวินเทจตัวเล็กๆค่าย B&O รุ่น Beovox CX100 ผลิตออกมาใช้ช่วง 1984 – 2003 ผลงานการออกแบบโดย Jacob Jensen ตัวตู้เป็นอลูมีเนียม​ วูฟเฟอร์กรวยกระดาษขนาดราวๆ 4 นิ้วสองดอก คั่นกลางตู้ด้วยทวีตเตอร์แบบโดมหนึ่งดอก ลองต่อฟังเล่นน้ำเสียงเข้าท่าจัดว่าเสียงดีเกินตัว แต่ยังไม่มีอะไรพิเศษต่างจากลำโพงวางหิ้งปกติ เลยไม่ได้ทำอะไรต่อวางทิ้งไว้อยู่หลายเดือน

Western Electric 300A (1930s)

Western Electric 300A เป็นหลอดเพาเวอร์ไตรโอดที่เป็นตัวตั้งต้นให้กับหลอดเพาเวอร์ไตรโอดยอดนิยมตลอดกาลนั่่นคือหลอด 300B หลอด Western Electric 300A ผลิตออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1933 ต่อมาก็ถูกแทนด้วยหลอด 300B ในปี 1938 คุณสมบัติเหมือนกับหลอด 300A ทุกประการ ยกเว้น Guide Pin สำหรับซ๊อกเก็ต bayonet ทำมุมกับขากริดของหลอดเป็นมุม 45 องศา โดยวิศวกรตั้งใจออกแบบให้หลอด 300B สามารถใช้เสียบแทนกับหลอด 205A ได้โดยตรง

อ่านเพิ่มเติม Western Electric 300A (1930s)

Wurlitzer Model 771

Wurlitzer Model 771 (1937) เพาเวอร์​แอมป์โมโนเดิมอยู่ในตู้เพลงระบบหยอดเหรียญ Rudolph Wurlitzer​ 616 ในยุค 1930 ใช้งานร่วมกับลำโพงฟีลด์คอยล์ และกลไลเล่นเลือกเล่นแผ่นเสียง

อ่านเพิ่มเติม Wurlitzer Model 771

Tube Rolling with Cary CAD-805 AE

เพาเวอร์แอมป์โมโนบล๊อก Cary Audio CAD-805 Anniversary Edition ภาคเพาเวอร์เอาต์พุตเป็นเพาเวอร์ไตรโอดขนาดใหญ่ เลือกเล่นได้สองเบอร์คือ 211 และ 845 ขับด้วยด้วยหลอดเพาเวอร์ไตรโอด 300B ภาคปรี 6SN7 และภาคไดร์วของ 300B เป็น 6SN7 หลอดติดเครื่องโดยมากจะใช้หลอดผลิตใหม่ 6SN7 รัสเซีย หลอด 300 จีน และ 845 จีน ดูจากหน่วยก้านทั้งนอกทั้งไส้ในของเครื่องแล้วถ้าอัพเกรดหลอดดีๆคุณภาพเสียงน่าจะไปได้ไกล

อ่านเพิ่มเติม Tube Rolling with Cary CAD-805 AE

Vintage Audio Blog by AnalogLism