JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 3 : สู่ยุคของ Harman (1969 – 1977)

จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism

ปี 1969 เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ JBL ไปแล้วครั้งหนึ่งเนื่องจากการเสียชีวิตของ Jim Lansing ในปีนี้เองที่ Thomas ขาย JBL ให้กับ Jervis Corporation และเป็นปีสุดท้ายของการเป็นบริษัทอิสระ Tom Jennings, ซึ่งเป็น Vice President of Marketing ของ Thomas ได้รับมอบหมายให้หาผู้ซื้อบริษัท เขานึกถึง Dr. Sidney Harman ซึ่งเป็นแกนนำของ Jervis Corporation และมีความสนใจที่จะขยายบริษัทในตลาดเครื่องเสียงเพิ่มเติมจากตลาดอิเล็กทรอนิกส์ Jennings ได้จัดให้ทั้งสองบริษัทพบกัน และเจรจาต่อรองการซื้อบริษัท Jervis ได้สิทธิเต็ม 100% ในการเป็นเจ้าของ JBL และควบคุมบริษัทได้อย่างสมบูรณ์ Thomas ก็ไม่ถึงกับหมดบทบาทในการมีส่วนร่วมกับ JBL เขาได้นับมอบตำแหน่งจากบอร์ดบริหารของ Jervis ในตำแหน่ง Honorary Chairman of JBL

JBL อยู่ภายใต้การนำของ Dr. Harman ทั้ังหมดเนื่องจากเป็นสาขาหนึ่งของ Jervis เป็นช่วงเวลาที่ ยกเว้นช่วงปี 1977-1980, Dr. Harman ได้สร้างแนวทางของ JBL ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาบริหาร นั่นหมายความว่า Dr. Harman บริหารบริษัทนี้นานกว่าใครๆ ซึ่งต้องเข้าใจพื้นเพของเขาก่อน จึงจะทราบว่าเหตุใดเขาจึงผลักดันให้ JBL บรรลุเป้าหมายภายใต้การบริหารของเขา
Dr. Harman เป็นหนึ่งในผู้นำในอุัตสาหกรรมไฮไฟ เขาเิริ่มทำงานในอุตสาหกรรมออดิโอทันทีที่เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี 1939, โดยถูกจ้างโดยบริษิท David Bogen ในการทำงานในฝ่ายวิศวกรรม อีกสองปีต่อมาเขาออกจาก Bogen ไปเป็นทหารเพื่อนับใช้ชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และได้กลับเข้ามาทำงานที่ Bogen อีกครั้งในปี 1946 ในช่วงการทำงานที่นี่เขามีเพื่อนวิศวกรชือ Bernard Kardon พอมาในปี 1953, ทั้งสองคน Harman และ Kardon ก็ออกจาก Bogen เพื่อเริ่มต้นบริษัทของพวกเขา, โดยมุ่งเน้นในแนวทางที่พวกเขาสนใจ—นั่นคือระบบอิเล็กโทรนิคสำหรับเครื่องเีสียงไฮไฟ ซึ่งไม่แปลกใจว่าบริษัทที่ชื่อว่า Harman/Kardon, มีิสินค้าลำดับแรกๆของไลน์เป็นแอมป์ และูจูนเนอร์

Dr. Harman ได้กลับมาลงทุนตั้งบริษัทขนาดเล็ก, ดำเนินธุรกิจหลายอย่าง และเป็นบริษัทมหาชนเรียกว่า Jervis Corporation ผ่านไประยะเวลาพอสมควรเขาก็ได้ถือหุ้นในบริษัทมากขึ้น และมากพอที่จะควบคุมการบริหารบริํษัท ณ.จุดนี้เขาได้ขยายกิจการของบริษัทไปสู่อุตสาหกรรมออดิโอ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจหลักที่เขาให้ความสนใจมาตั้งแต่ต้น เขาได้เข้าซื้อบริษัท Harman/Kardon คืนจาก Jerrold และได้กลายมาเป็นผู้นำในตลาดออดิโอ ในเวลาต่อมาก็ได้เข้าซื้อบริษัท JBL ซึ่ง Dr. Harman เล็งเห็นว่าเป็นบริษัทที่มีคุณภาพ และัศักยภาพยอดเยี่ยม ที่จะเติมเต็มตามวัตถุประสงค์ของเขา

JBL กลายเป็นส่วนหนึ่งบริษัทในเครือ

หลังจากที่ได้เข้าซื้อ JBL ในเวลาไม่นานนัก, Jervis Corporation ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Harman International โดย Harman ได้จากที่ปรึกษาด้านออกแบบอุตสาหกรรมที่อยู่กับ JBL มานานนั่นคือ Arnold Wolf เพื่อที่จะนำทีม JBL  การดึง Wolf ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของทีมบริหารที่ประกอบไปด้วย Irving Stern (Vice President, Marketing), Sterling Sander (Vice President, Operations), และ Albert Schwartz (Vice President, Manufacturing) .
ในช่วงที่ JBL อยู่ภายใต้การนำของ Thomas จะเน้นตลาดเฉพาะด้าน, เจาะไปที่ตลาดลำโพงไฮเอ็นด์ ในขณะที่ Dr. Harman กลับสนใจในการปรับให้แบรนด์ของ JBL เข้าถึงได้ในตลาดทุกระดับ โดยสินค้าที่เปิดตัวที่กลายมาเป็นขวัญใจมหาชนคนออดิโอของ JBL นั่นคือลำโพง L100

มองด้านเทคนิคแล้ว L100 ไม่ได้เป็นลำโพงที่เิริ่มต้นจากศูนย์ แต่เป็นการนำเอามอนิเตอร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงรุ่น 4310 มาทำตู้แบบใหม่ ความสำเร็จของลำโพง L100 อยู่ยุทธศาสตร์การตลาดเบื้องหลังต่างหากที่เป็นตัวผลักผลักดัน Larry Phillips ผู้ทำหน้าที่ด้านการตลาดในประเทศ ได้เขียนแผนโปรโมทจากพื้นฐานความสำเร็จในปัจจุบันของ JBL โดยนำเอาความสำเร็จในลำโพงโปรฯเป็นตัวชูโรงในการทำตลาดลำโพงบ้าน ในปี 1970 ลำโพงมอนิเตอร์ 4310 ประสบความสำเร็จ และได้กลายเป็นมาตรฐานของสตูดิดอในยุคนั้น Philips ได้วางแนวเคมเปญด้านการตลาดว่าลำโพง L100 เป็นลำโพงที่ถูกเลือกโดยมืิออาชีพ ซึ่งมันก็ได้พิสูจน์ตัวด้วยความสำเร็จล้นหลาม

ช่วงเวลาแห่งความสำเร็จของ L100 มีบทบาทต่อจำนวนนักเล่นในตลาด ในยุคเริ่มต้นของตลาดไฮไฟในอดีตจำนวนนักเล่นมีไม่มากนัก เนื่องจากเป็นงานอดิเรกที่ใช้ทุนทรัพย์สูง และคนส่วนใหญ่เพิ่งฟื้นตัวจากเศรษฐกิจตกต่ำ จำนวนนักเล่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคปี 70s เพลงป๊อประจายสู่นักฟังวัยรุ่น และนักฟังรุ่นใหม่ๆก็มีทุนทรัพย์สูงกว่าในอดีต ลำโพง L100 มีคุณสมบัติโดดเด่นโดนใจนักฟังอายุไม่มากนัก สุ้มเสียงของ L100 เป็นที่ทราบกันดีถึงเสียงเบสส์หนักหน่วง, ให้ไดนามิคเสียงที่เหมาะสมกับดนตรีร็อคที่เป็นคำจำกัดความของวัยรุ่นในยุค นั้น ภาพลักษณ์ของ L100 ยังก้าวพ้นภาพลักษ์เดิมๆของลำโพงคู่แข่งรายอื่นๆที่หน้าตาลำโพงแบบ เฟอร์นิเจอร์โบร่ำโบราณ โดย L100 กลับใช้กริลล์หน้าลำโพงเป็นโฟมขึ้นรูปที่ออกแบบโดย Arnold Wolf ทำให้ลำโพงมีหน้าตาที่ร่วมสมัยกลายมาเป็นอัตลักษณ์ และยังตอกย้ำความเป็น L100 โดยภาพโฆษณาที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุค 1970s ชื่อภาพ “Blown Away,” ซึ่งมีต้นกำเหนิดจากเคมเปญโฆษณาของ Hitachi Maxell

ลำโพง L100 ผ่านบทพิสูจน์การเป็นลำโพงหนึ่งเดียวที่ประสบความสำเร็จสูงสุด เหนือกว่าลำโพงใดๆทุกตัวในท้องตลาดขณะนั้น ยอดขาย L100 ในยุค 1970s มีมากกว่าลำโพงไฮไฟทุกยี่ห้อรวมกันเสียอีก ส่งผลให้สินค้าในไลน์อื่นๆเป็นที่ต้องการจองตัวแทนจำหน่าย ทำให้ JBL ขยายตลาดได้มากขึ่น ความสำเร็จนี้ทำใ้ห้ JBL เป็นผู้ผลิตลำโพงรายแรกที่จำหน่ายสินค้าแบบผลิตเป็นจำนวนมาก (mass-market) ลำโพง L100 ยังได้พิสูจน์ว่าความสำเร็จไม่ได้มาจากราคาถูกเพียงอย่างเดียว หากแต่ให้คุณภาพสูงดังเช่นลำโพงไฮเอ็นด์ของ JBL ซึ่ง L100 ฉีกไปสู่ตลาดมหาชนแทนที่จะเน้นความเป็น สเตต-ออฟ-ธิ-อาร์ต ดังเช่นรุ่นก่อนๆ Ed May เป็นผู้พัฒนาลำโพงซีรีย์นี้ เขาได้พัฒนาลำโพงสามรุ่นคือ L16, L26, และ L36 รุ่นแรกสุดเป็นลำโพงสองทางใช้ไดร์เวอร์เบสส์ 8″ bass driver, รุ่นที่สองใช้ไดร์เวอร์ 10″ แทนไดร์เวอร์ 8″, รุ่นที่สามเป็นลำโพงสามทางใช้รุ่น L26 มาเพิ่มมิดเรนจ์ไดร์เวอร์ LE-5
เป็นครั้งแรกที่ JBL หันมาใช้ไดร์เวอร์แบบแม่เหล็กเฟอร์ไรต์ สำหรับผลิตมิดเรนจ์ และทวีตเตอร์ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง ทำให้สามารถแข่งขันเรื่องราคาได้โดยไม่ลดทอนคุณภาพเียงมากนัก ไดร์เวอร์ LE5-6 ที่เป็นแม่เหล็กเฟอร์ไรต์พัฒนามาจากL36 ซึ่งพัฒนามาจากไดร์เวอร์ L65 ที่มีราคาแพง ไม่เพียงว่ามันสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เท่านั้น แต่มันยังทำงานได้ดีกว่าไดร์เวอร์ที่เป็นแม่เหล็กอัลนิโก
ลำโพงซีรีย์ 100 ประสบความสำเร็จดังเป้าหมาย ได้เิ่ติมเต็มไลน์สินค้าครอบคลุมทุกตลาด เป็นผลให้ช่วงกลางยุค 70s ลำโพง JBL เป็นตัวจริงของระบบลำโพงบ้าน

รุกสู่ตลาดของ JBL สตูดิโอมอนิเตอร์
ถ้าลองดูภาพประกอบด้านบนจะพบว่ามีลำโพงขนาดใหญ่หลายขนาดหลากแบบ แต่มีอยู่หนึ่งที่ดูโดดเด่นประกอบไปด้วยไดร์เวอร์เบสส์ 15″ สองตัว ติดตั้งในแนวตั้ง ด้านบนมีไดร์เวอร์ขนาด 12″ driver, มีฮอร์น/เลนส์ และทวีตเตอร์แบบสล็อต นี่คือต้นแบบลำโพงที่มีผลต่อการพัฒนาสตูดิโอมอนิเตอร์ี่ของ JBL ในกลางยุคปี 70s.
ต้นแบบนี้คิดค้นจากมันสมองของ Walter Dick ซึ่งเป็นแนวหน้าฝ่ายวิศวกรรมทราสดิวเซอร์ของ JBL เป็นหน่วยงานที่เกิดการเรียกชื่อที่ผิด ตั้งแต่รับผิดชอบในด้านวิศวกรรมให้กับระบบลำโพงทุกประเภท ทั้งลำโพงโปรฯ และคอนซูเมอร์ รวมถึงตัวทรานสดิวเซอร์ หรือไดร์เวอร์, เน็ตเวิร์ค, ตู้ลำโพง, และภาพรวมของพารามิเตอร์ของระบบลำโพง ในปี 1971, Walter ได้พัฒนาลำโพงที่ JBL ต้องการนำไปใช้ทำกรณีศึกษาในงานที่ Audio Engineering Society (AES) เขาได้กำหนดพารามิเตอร์ของระบบลำโพงโปรฯ แบบไม่ไ้ด้ขนานกันเพื่อให้พลังงานเสียงเอาต์พุตแรงขึ้น และมีความแม่นยำมากขึ้น

ระบบลำโพงที่กล่าวถึงใช้ไดร์เวอร์เบสส์รุ่น 2216 สองตัวซึ่งเป็นไดร์เวอร์, ซึ่งเป็นไดร์เวอร์โปรฯที่เีทียบเท่ากับไดร์เวอร์รุ่น LE15B ที่ถูกพัฒนาสำหรับใช้งานในลำโพงรุ่น L200 ใช้ไดร์เวอร์มิด-เบสส์รุ่น 2130, ส่วนไดร์เวอร์เสียงกลาง และแหลมเป็นรุ่น 2440 และ 2405 เป็นระบบลำโพงที่ต้องใช้ไบ-แอมป์ แยำสำหรับขับเบสส์ และกลาง/แหลม และมีชื่อเล่นว่า “Texas Bookshelf.”
ระบบลำโพงนี้ได้สำแดงพลังเสียงในงาน AES ได้อย่างน่าทึ่ง Walter Dick พบว่ามันมีความน่าสนใจมากพอที่จะนำเอาลำโพงต้นแบบนี้่มาพัฒนาต่อให้เป็น ผลิตภัณฑ์จริงๆ โดยต้นแบบนี้ยังไม่ได้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มตลาดใดในขั้นต้นของการออกแบบ เขาพบว่าการปรับไปใช้งานสำหรับสตูดิโอมอนิเตอร์ดูจะเข้าทีสำหรับแนวทางของ ลำโพงต้นแบบนี้ ในยุคนั้นดนตรีร็อคกลายเป็นศูนย์กลางของสังคงป๊อบในยุค 1970s แนวเพลงแบบนี้ต้องการระดับการเล่นกลับในระดับสูง ซึ่งในยุตนั้นนิยมใช้ Altec 604 และลำโพงมอนิเตอร์ JBL 4320 ยังไม่สามารถรับมือกับเพลงแนวนี้ได้อย่างเพียงพอ
Dick ได้สนองตอบต่อความต้องการนี้โดยพัฒนาต้นแบบลำโพงออกมาเป็น มอนิเตอร์รุ่น 4350 โดยได้จ้างวิศวกรชื่อ Pat Everidge เป็นผู้พัฒนา โดยมี Ed May รับผิดชอบในการพัฒนาไดร์เวอร์เบสส์รุ่นใหม่สำหรับระบบลำโพงนี้นั่นคือ ไดร์เวอร์เบสส์รุ่น 2230 เป็นไดร์เวอร์ขนาด 15″ ของ JBL ตัวแรกที่มีการแดมป์กรวยลำโพงโดยวัสดุที่เรียกว่า Aquaplas เพื่อป้องกันการเรโซแนนซ์ที่ความถี่ต่ำ และเพิ่งการตอบสนองของเสียงเบสส์ให้ลงได้ลึกมากขึ้น Ed ยังได้พัฒนาไดร์เวอร์ขนาด 12″ นั่นคือรุ่น 2202 สำหรับใช้เป็นไดร์เวอร์สำหรับมิด-เบสส์ของลำโพงนี้ และใช้มิดเรนจ์ 2440 และทวีตเตอร์ 2405 ที่มีอยู่แล้ว

ระบบลำโพงที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้เป็นแบบสี่ทางซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อนในวงการ สตูดิโอมอนิเตอร์ ส่วนใหญ่สตูดิโอมอนิเตอร์จะถูกออกแบบสร้างเป็นระบบสองทาง แนวคิดของลำโพงสี่ทางมีจุดเด่นสองนัย—เพิ่มความแม่นยำ และเพิ่มระดับเอาต์พุต เนื่องจากแต่ละย่านความถี่เสียงถูกแยกออกเป็นสีส่วน ทำให้ไดร์เวอร์แต่ละความถี่ทำงานในช่วงแบนด์วิดธ์แคบๆทำให้ไดร์เวอร์แต่ละ ตัวมีความเป็นเิชิงเส้นมากขึ้น เนื่องจากไดร์เวอร์รับกำลังแยกแต่ละความถี่ทำให้ การรับกำลังรวมสูงขึ้น ทำให้ไดนามิคเรนจ์เพิ่มขึ้น และระดับเสียงเอาต์พุตสูงขึ้น
ลงลึกไปในแนวการสร้างของลำโพง 4350 จะพบว่ามีการออกแบบระบบ และเน็ตเวิร์คที่มีความซับซ้อน เพื่อสนองตอบกับความต้องการผลการทำงานตามเป้าหมายการออกแบบ ในอดีตที่ผ่านมาไม่เว้นแม้กระทั่งลำโพง Paragon, ระบบลำโพงของ JBL ถูกออกแบบให้ใช้อรรถประโยชน์จากส่วนประกอบของลำโพงทุกส่วนมากที่สุด นั่นหมายความว่าคุณภาพของระบบไม่ได้มีเพียงเฉพาะคุณภาพของไดร์เวอร์เท่านั้น แต่ยังมาจากการออกแบบด้านวิศวกรรมของการออกแบบลำโพงด้วย ทำให้ได้มอนิเตอร์ที่เหนือกว่าดังเช่นรุ่น 4350 การพัฒนาแนวทางนี้เป็นแกนหลักที่ยังคงอยู่ของลำโพงรุ่นคลาสสิคของ JBL มาถึงทุกวันนี้

หัวใจของการออกแบบระบบคือการจัดเน็ตเวร์ค มอนิเตอร์รุ่น 4350 ใช้เน็ตเวิร์คไฮบริดจ์ทั้งพาสซีพว์ และแอ็คทีพว์ เพื่อให้การตอบสนองของระบบมีความแม่นยำสูงสุด และรับกำลังขับได้สูง ดังนั้นมอนิเตอร์ 4350 จึงเป็นมอนิเตอร์ของ JBL รุ่นรกที่ต้องใช้แอคทีพว์ครอสส์โอเวอร์เน็ตเวิร์ค ซึ่งไดร์เวอร์เบสส์ทั้งสองตัวต้องขับผ่านแอมป์แยกกันอิสระสองตัว ระบบอิเล็กทรอนิกส์ครอสส์โอเวอร์ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถสอดการ์ดสำหรับ ปรับแต่งพารามิเตอร์สำหรับระบบที่แตกต่างกัน การ์ดที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับรุ่น 4350 จะทำการปรับความถี่จุดตัดระหว่างไดร์เวอร์เบสส์ และพาสซีพว์เน็ตเวิร์คกลางแหลมที่จุดตัด 250Hz โดย Pat Everidge ออกแบบให้มีการใช้พาสซีพว์ครอสส์โอเวอร์เน็ตเวิร์คสำหรับไดร์เวอร์ มิด-เบสส์, มิดเรนจ์, และไดร์เวอร์ความถี่สูง เน็ตเวิร์คลักษณะนี้มีจุดเด่นเหนือกว่าครอสส์โอเวอร์ทั่วๆไปที่ JBL ใช้สร้างลำโพงรุ่นอื่นๆ เพราะมันจะให้การตอบสนองความถี่ได้ดีที่สุดสำหรับไดร์เวอร์ทั้งสามชุดของ 4350 โดยสามารถปรับพารามิเตอร์ของระบบได้ทั้งระบบ
ระบบมอนิเตร์ 4350 เิิปิดตัวในปี 1973 ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง อย่างเช่น วง The Who นำ 4350 ไปติดตั้งในสตูดิโอส่วนตัวถึงสิบสองตัว Dick พบว่ามอนิเตอร์สามารถพัฒนาให้อยู่ในกรอบแนวคิดนี้นั่นคือ การผลการตอบสนองแบนด์วิดธ์กว้าง และรับกำลังขับได้สูง เหมือนกับพื้นฐานการออกแบบของ 4350 ซึ่ทำให้ช่วงปี 1973-1974, เขาได้พัฒนามอนิเตอร์สี่ทาง, สามทาง, และสองทาง ที่เป็นรู้จักกันว่าเป็นลำโพงมอนิเตอร์ขนาดใหญ่การแยกขนาดจะพิจารณาจากขนาด ไดร์เวอร์เบสส์ 15″ ใช้ในการฟังแบบฟาร์-ฟิีลด์ ห่างจากผู้ฟังอย่างน้อย 8 ฟุต มอนิเตอร์ที่พัฒนาต่อมาได้แก่ 4340/4341, 4332/4333 และ 4330/4331 โดยการกำหนดรุ่นเป็นชุดเลขคู่กันเป็นการระบุว่าเป็นรุ่นที่ใช้พาส ซีพว์ครอสส์โอเวอร์อย่างเดียว หรือสามารถใช้งานในลักษณะไบ-แอมป์ได้ด้วย (ตัวเลขน้อยกว่าจะเป็นเวอร์ชันที่เล่นไบ-แอมป์ได้)

การพัฒนาระบบมอนิเตอร์รุ่นรองลงมา Ed May ได้ออกแบบเบสส์ไดร์เวอร์ที่กลายมาเป็นมาตรฐานของระบบมอนิเตอร์ของ JBL ที่ผลิตในช่วงยี่สิบปีต่อมา มันคือไดร์เวอร์ 2231, ซึ่งเป็นไดร์เวอร์แบบเดียวกับลำโพงคอนซูเมอร์รุ่น 136A ภายหลังการพัฒนา 4350 ไดร์เวอร์ขนาด 15″ ที่กลายเป็นมาตรฐานของ JBL สำหรับลำโพงมอนิเตอร์ และลำโพงบ้านนั่นคือรุ่น 2215/LE15A เป็นไดร์เวอร์คุณสมบัติดีมากให้การตอบสนองที่แม่นยำ แต่รับกำลังขับได้ไม่มากนัก ไดร์เวอร์รุ่น 2230 ที่ Ed May พัฒนาขึ้นมาสำหรับมอนิเตอร์รุ่น 4350 เป็นไดร์เวอร์ของ JBL รุ่นแรกที่ใช้วอยซ์คอยล์ที่มีความยาวมาก และใช้ช่องแก๊ปสั้น ทำให้รับกำลังขับได้สูงขึ้น และสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนทำได้ดีขึ้น ยังออกแบบให้กรวยลำโพงรับการสั่นได้มากขึ้น เพิ่มไดนามิคเรนจ์ และให้ััระดับเสียงเอาต์พุตสูงขึ้น

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าไดร์เวอร์ 2230 มีการเคลือบกรวยด้วย Aquaplas ทำให้เพิ่มการตอบสนองความถี่ต่ำ ทำให้ประสิทธิภาพของ 4350 สามารถตัดความถี่ต่ำลงมาที่ 250-Hz ,แต่ก็พบปัญหาอยู่ว่าที่จุดตัดความถี่สองต้องออกแบบเป็นระบบสอง หรือสามทาง การแดมป์กรวยอย่างมากทำให้การตอบสนองความถี่ย่านมิด-เบสส์ลดลง เพื่อแก้ปัญหานี้ Ed May ใช้วิธีการเพิ่มวงแหวนปรับมวลซึ่งเป็นวงแหลนโลหะติดตรงรอยต่อของกรวยและ คอยล์ฟอร์ม จะ้สร้างให้มีมวลสำหรับเพิ่มความถี่ต่ำ โดยสามารถใช้กรวยที่เบาลงเพื่อเพิ่มการตอบสนองงความถี่ย่านมิด-เบสส์ การปรับปรุงทรานสดิวเซอร์นี้ได้นำไหใช้กับไดร์เวอร์ 15″ ของลำโพงมอนิเตอร์ รวมถึงรุ่น 4350 ที่ปรับปรุงใหม่ด้วย และปรับปรุงไดร์เวอร์รุ่น 136A ซึ่งจะพบในลำโพง L200B และ L300

เพื่อเติมเต็มไลน์สินค้าลำโพงมอนิเตอร์ Pat Everidge เลยออกแบบมอนิเตอร์ 4340/41 ออกมาในปี 1973 เป็นมอนิเตอร์ที่ลดสเกลลงมาจากแนวคิดของระบบลำโพงสี่ทางแบบเดียวกับ 4350 แต่ใช้ไดร์เวอร์ 2230 เพียงตัวเดียว (รุ่นหลังๆจะใช้รุ่น 2231 แทน) โดยมีมิด-เบสส์ขนาดเล็ก และคอมเพรสชันไดร์เวอร์ ออกแบบมาให้ตอบสนองย่านความถี่ได้กว้า และมีความเป็นเชิงเส้นเหมือนกับ 4350 เพียงแต่ลดขนาดลงเท่านั้นเอง มอนิเตอร์รุ่นนี้่ผ่านบทพิสูจน์มากมายในความนิยมสำหรับการใช้เป็นมอนิเตร์ และเป็นที่นิยมในการนำมาใช้งานเป็นลำโพงบ้าน โดยเฉพาะตลาดเครื่องเสียงในญี่ปุ่น

Dick ก็ยังได้จ้างพนักงานเพิ่มเิติมเพื่อออกแบบลำโพงมอนิเตอร์สองทางรุ่น 4330/4331 และแบบสามทางรุ่น 4332/4333 คนนั้นก็คือ Greg Timbers ผู้ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้ออกแบบด้านวิศวกรรมให้กับลำโพงระดับสเตต-ออฟ-ธิ- อาร์ตของ JBL ระบบลำโพงมอนิเตอร์ทั้งสองรุ่นนี้กลับไปใช้ไดร์เวอร์แบบดั้งเดิมของ JBL ในซีรีย์ D50 ที่ผลิตออกมาตั้งแีต่ยุค 1960s ดังเช่นรุ่น 4350, ได้เกิดนวัตกรรมเบื้องหลังระบบลำโพง และการรวบรวมการออกแบบทั้งหมด มีการออกแบบเน็ตเวิร์คใหม่ทั้งระบบเพื่อให้การตอบสนองโดยรวมดีขึ้น มอนิเตอร์รุ่น 4333 ให้การตอบสนองเต็มแบนด์วิดธ์ และการตอบสนองด้านกำลังราบเรียบ โดยมีขนาดตู้กระทัดรัด กลายมาเป็นมอนิเตอร์อีกหนึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมสำหรับลำโพงมอนิเตอร์ขนาด ใหญ่ของ JBL

เพื่อให้ไลน์ของมอนิเตอร์ซีรีย์ 4300 สมบูรณ์มากขึ้น จึงมีการพัฒนานาลำโพงมอนิเตอร์ขนาดกลาง ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบให้กับลำโพงบ้านของ JBL ในภายหลัง มอนิเตอร์ที่ว่านี้ก็คือรุ่น 4315 ซึ่งครอบคลุมแบนด์วิดธ์ได้กว่างเหมือยกับ 4350 แต่มีขนาดเล็กกว่ามากสามารถใช้งานได้หลากหลาย เดิมทีเป็นระบบลำโพงที่เหมาะกับการนำไปใช้ในกรณีที่ระดับเสียงในสตูดิโอไม่ เหมาะกับรุ่นใหญ่กว่า แต่กลับไปเหมาะเจาะกับตลาดสตูดิโอขนาดเล็ก และสตูดิโออิสระ มอนิเตอร์รุ่น 4315 ออกแบบในแนวคิดเดียวกันกับ 4350 โดยเป็นระบบสี่ทาง แต่ใช้ไดว์เวอร์เบสส์รุ่นใหม่ขนาด 12″ (รุ่น 2203) ซึ่งถูกพัฒนามาโดยเฉพาะกับระบบมอนิเตอร์รุ่นนี้ ใช้ไดร์เวอร์มิด-เบสส์รุ่นใหม่ขนาด 8″ (รุ่น 2108), ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางวอยซ์คอยล์ 3″ ถูกออกแบบมาเฉาพะสำหรับมอนิเตอร์ตัวใหม่นี้ใช้มิดเรนจ์รุ่น 2105 และทวีตเตอร์แบบ 2405 แบบ ring radiator
หลังจากลำโพงมอนิเตอร์รุ่นสุดท้ายเข้่าที่เข้าทางในปี 1974 ก็ได้เปิดตัวเป็นมอนิเตอร์ซีรีย์ 4300 ของ JBL เป็นระบบลำโพงมอนิเตอร์ที่ครบเครื่อง เพียงแค่สามปี JBL ก็สามารถครอบครองตลาดสตูดิโอมอนิเตอร์ การเปลี่ยนแปลงของตลาดมอนิเตอร์ถูกติดตามโดยการสำรวจของวารสาร Billboard ในปี 1973, วารสารได้ตีพิมพ์ผลการสำรวจว่ามอนิเตอร์ Altec Lansing monitors ถูกใช้ในสตูดิโอบันทึกเสียงมากที่สุด ซึ่งข้อมูลนี้ Altec Lansing ก็ได้นำมาทำแคมเปญการตลาดให้กับลำโพงบ้าน และลำโพงโปรของ Altec พอมาในปี 1977 ผลสำรวจของ Billboard ออกมาทาง JBL ก็นำมาทำแคมเปญเดียวกันกับ Altec ซึ่งผลสำรวจระบุว่า JBL ได้ส่วนแบ่งการตลาดของลำโพงมอนิเตอร์ถึง 70% —มากกว่าสองเท่าของ Altec

ตอนต่อของตำนานลำโพง

หลังจากที่ JBL ขยายไปสู่ตลาดลำโพงที่ผลิตเป็นจำนวนมากอย่าง L100 ในยุค1970s JBL ก็ยังพัฒนาลำโพงบ้านแบบไฮเอ็นด์เช่นกัน โดยมีลำโพงรุ่น L200 เปิดตัวครั้งแรกในปี 1971 เป็นการนำเอามอนิเตอร์ 4325 มาปรับให้เป็นลำโพงบ้าน โดยมีรูปแบบภายนอกของลำโพงต่างไปจากเดิม งานออกแบบเป็นผลงานของ Douglas Warner ซึ่งเป็นผู้ช่วยของทีมที่ปรึกษาในบริษัทเดิมของ Arnold Wolf เมื่อ Arnold รับตำแหน่งใน JBL เขาก็ได้ขายบริษัทเดิมให้กับ Warner, ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น Warner and Associates บริษัทนี้เป็นฝ่ายออกแบบอุตสาหกรรมที่มีบทบาทของ JBL มาจนถึงกลางยุคปี 1980s

ลำโพงบ้านเดินหน้าต่อจากการนำเอาลำโพงมอนิเตอร์มาปรับเปลี่ยน Greg Timbers ได้ทำงานพัฒนาลำโพงบ้านในซีรีย์นี้ต่อ ในปี 1975 รุ่น L200 ได้รับการปรับปรุงเป็นรุ่น L200B ซึ่งใช้ไดร์เวอร์จากมอนิเตอร์รุ่น 4331 ในปีเดียวกันนี้ก็ได้เปิดตัวลำโพงบ้านที่มีขยาดใหญ่ของ JBL—นั่นคือ L300 เป็นลำโพงที่นำเอามอนิเตอร์รุ่น 4333 มาเป็นจุดเริ่มต้น Warner ได้ทำการออกแบบอุตสาหกรรมของลำโพงรุ่นนี้โดยใช้รูปแบบเดียวกันกับ L200 แต่ในขณะที่ L200 ดูโบราณกว่า L300 ดูสะอาดทันสมัยด้วยขอบมน, ด้านบนเงา, หน้าลำโพงเอียง และหน้ากากถอดได้โดยมีจนาดเท่ากับตัวตู้ เป็นการออกแบบที่อยู่เหนือกาลเวลาดูโดดเด่นแม้จะผ่านเวลาไปมากกว่า 30 ปี

ลำโพงไฮ-เอ็นด์ตัวหลักอีกตัวที่เป็นจุดเปลี่ยนทางเทคโนโลยีของ JBL และได้ิพิสูจน์ความเป็นผู้นำในการสร้างระบบลำโพงที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน นั่นคือระบบลำโพง L212 ในปี 1976, ที่กลายมาเป็นนัยทางด้านความสำเร็จทางเทคนิค แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จด้านการตลาด ซึ่งเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความไม่พร้อมที่จะยอมรับของตลาด
แนวคิดของลำโพง L212 คือให้ความแม่นยำ, ช่วงการตอบสนองความถี่กว้างกว่าลำโพงบ้านทุกตัวของ JBL โดย Greg Timbers รับผิดชอบงานด้านวิศวกรรมร่วมกับ Steve Lyle ภายใต้การนำของผู้ัจัดการด้านผลิตภัณฑ์ Lorr Kramer เป็นระบบลำโพงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ และเป็นระบบลำโพงแรกๆที่มีการแยกซับวูฟเฟอร์/เซ็ตเทิลไลต์ โดยใช้ซับวูฟเฟอร์แบบแอคทีพว์ การแยกซับวูฟเฟอร์เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การตอบสนองเสียงเบสส์ที่ลงได้ต่ำ ถึง 25 Hz ตู้ซับวูฟเฟอร์ใช้เบสส์ไดร์เวอร์ที่พัฒนามาเฉพาะโดยปรับจากรุ่น 2203 ที่ถูกพัฒนามาสำหรับมอนิเตอร์รุ่น 4315 โดยมีแอมป์กำลังขับ 75-watt ถูกติดตั้งรวมไว้ในตู้ซับวูฟเฟอร์ ดังนั้นแอมป์ที่ใช้กับลำโพงนี้ทำหน้าที่ขับเฉพาะลำโพงเซ็ตเทิลไลต์ซ้ายกับ ขวาเท่านั้น

ลำโพงรุ่น L212 ออกแบบจากมอนิเตอร์รุ่น 4315 โดยใช้ไดร์เวอร์มิดเบสส์ 2108 ที่เป็นเวอร์ชันสำหรับลำโพงบ้าน ไดร์เวอร์มีความเป็นเชิงเส้นใช้วอยซ์คอยล์ 3″ ตัวไดร์เวอร์ขนาด 8″ มิดเรนจ์เป็นรุ่นปรับปรุงจากไดร์เวอร์ LE5 เพื่อปรับใช้กับระบบลำโพง L121, และความถี่สูงใช้ทวีตเตอร์แบบซอฟต์-โดมรุ่น 066 เดิมทีเป็นที่รู้จักกันในรุ่น L166 ไดร์เวอร์ทั้งสามตัวติดตั้งลงตู้โครงสร้างแน่นหนา ลำโพงเซ็ตเทิลไลต์เป็นลำโพง JBL ตัวแรกที่มีการจัดไทม์อไลน์เมนต์ ซึ่งให้อิมเมจชัดเจนขึ้น ภาพรวมของระบบเป็นเน้นประสิทธิภาพสูงสุดของลำโพง JBL
ถึึงกระนั้น L212 กลับไม่ประสบความสำเร็จดังที่คาดหวัง ยอดขายของลำโพงรุ่นนี้น้อยมาก และเลิกผลิตในปี 1979 ด้วยเหตุผลที่ว่าการออกแบบฉีกแนวจากรูปแบบลำโพงเดิมๆของ JBL ที่เป็นลำโพงขนาดใหญ่ เป็นระบบลำโพงฮอร์น L212 ยังมีจุดอ่อนเหมือนกับเทพ Achilles นั่นคือสับวูฟเฟอร์มีขนาดค่อนข้างเล็กให้ไดนามิคเรนจ์ไม่ดีนัก แต่ลำโพง L212 ก็ถูกบันทึกไว้ในตำนานของลำโพง JBL อยู่สืบทอดไปสู่รุ่น L250 เป็นลำโพงซีรีย์ Performance ที่พัฒนามาจากแนวคิดและเทคโนโลยีเดียวกับ L212