JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 5 : ยุคที่สองของ Harman (1980 – Present)

จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism

หลังจากที่ Dr. Harman หมดวาระการทำงานในทีมของประธานาธิบดี Carter ในท้ายปี 1978 เขาก็หวนคืนสู่วงการตลาดออดิโออีกครั้ง ช่วงเวลาที่ผ่านมา Beatrice พบว่าค่อนข้างลำบากมากในการทำอุตสาหกรรมออดิโอ เนื่องด้วยพวกเขาขาดประสบการณ์ทางด้านการตลาดทางด้านนี้อย่างมาก ทำให้ไม่ค่อยสร้างบทบาทได้โดดเด่นมากนัก ผลประกอบการจึงไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ดั้งนั้นเมื่อ Dr. Harman เข้าทาบทาม Beatrice จึงมึความเป็นไปได้สูงในการซื้อบริษัทคืน แบรนด์หลักภายใต้ Harman International ในช่วงนั้นที่ทาง Beatrice ได้จากการซื้อบริษัทก็คือ Harman Kardon, JBL, Ortofon และ Tannoy ในปี 1980, ก็ได้ทำความตกลงร่วมกับ Dr. Harman ว่าซื้อเฉพาะ JBL คืนจาก Beatrice ส่วนแบรนด์ Harman/Kardon เดิมถูกขายให้กับบริัษัทญี่ปุ่น Shin-Shirasuna ซึ่งเป็นผู้จำหน่าย OEM ของ Harman/Kardon ส่วน Tannoy และ Ortofon ถูกแยกกออกมาต่างหาก ภายหลังการตกลงซื้อขาย และมีข้อเสนอด้านการเงินเพิ่มเติมในการซื้อ JBL, Dr. Harman ก็สามารถซื้อรวมกับ Harman International คืนมาด้วย หลังจากที่ขายให้กับ Beatrice เมื่อสามปีก่อน โดย Dr. Harman ได้ปรับโครงสร้าง Harman International โดยให้แบรนด์ JBL เป็นแนวหน้า เพื่อคืนสู่สังเวียนการตลาดต่อ เขาได้สร้างให้ Harman International กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

การล่มสลายปราการสุดท้าย…Altec Lansing
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในช่วงต้นของบทความ JBL พยายามเผชิญหน้ากับ Altec Lansing ในตลาดระบบเสียงโปรฯหลายต่อหลายครั้ง มีทั้งสำเร็จแล้วล้มเหลว แต่ก็ผลักดันตัวเองให้มีส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆตลอด เวลา จนมาถึงในปี 1980 ความพยายามก็สัมฤทธิ์ผลเมื่อไม่สามารถต้านแรงปะทะอย่างต่อเนื่องตลอด 30 ปีจาก JBL ในที่สุดก็สามารถทะลายปราการเข้าสู่อุตสาหกรรมระบบเสียงโรงภาพยนตร์ได้ สำเร็จ ซึ่งไม่เคยทำได้สำเร็จตั้งแ่ต่ปี 1945 ได้เปิดตัวระบบลำโพง Altec Lansing Voice of the Theatre (VOTT) ซึ่งเป็นระบบลำโพงที่เป็นมาตรฐานสำหรับโรงภาพยนตร์อย่างยากจะหาใครต่อกร หลังจากพัฒนาการถึงห้าคำรบในที่สุดระบบลำโพง JBL ก็กลายเป็นมาตรฐานระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ไปในที่สุดโดยมีนวัตกรรมใหม่ดังนี้
การพัฒนาแรกสุดคือระบบฮอร์นซีรีย์ Bi-Radial® เป็นระบบฮอร์นแบบ constant directivity, หรือ CD ฮอร์น ซึ่งถูกพัฒนาโดย Don Keele ในปี 1973 เดิมเขาเคยทำงานที่ Electro-Voice ในยุคนั้นฮอร์นส่่วนใหญ่จะเป็ยแบบเอ็กโปเนนเชียลซึ่งเป็นฮอร์นที่พัฒนาโดย Bell Labs มาตั้งแต่ยุค 1920s ซึ่งฮอร์นทุกตัวที่เข้าข่ายนี้จะให้มุมกระจายเสียงแคบลงเมื่อความถี่สูงขึ้น เป็นผลมาจากรูปแบบการกระจายเสียงทางฟิสิกส์ของคอมเพรสชันไดร์เวอร์ เมื่อใช้ไดอะแฟรมโลหะขนาดใหญ่ก็จะทำให้เกิดการโรลล์ออฟความถี่สูงมากขึ้น เมื่อนำมาใช้กับฮอร์นแบบเอ็กโปเนนเชียลก็จะได้ผลดีเฉพาะเสียงในแนวตรงเท่า นั้น


Don Keele แก้ปัญหาโดยสร้างช่องกระจายเสียงเป็นช่องยาวๆแทนช่องคอฮอร์นปกติ เพื่อให้พลังงานอะคูสติคคงที่ และไม่แปรผันตามความถี่ โดยจะเป็นช่องเดียว (ปกติจะเป็นช่องแนวนอน) และมีระนาบฮอร์นผิวโค้งสองข้างเพื่อประคองให้เสียงเอาต์พุตมีความคงที่ (ปกติจะเป็นแนวตั้ง) Don Keele ได้เข้ามาเป็นพนักงานของ JBL ในปี 1980, ก็ได้ปรับแนวคิด CD ฮอร์นกลายมาเป็นฮอร์นในแบบของ Bi-Radial® ข้อดีที่เหนือกว่าของฮอร์นที่พัฒนาให้กับ JBL คือ Keele สามารถพัฒนาโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่มีความแ่ม่นยำมากกว่าในการสร้าง ระนาบผิวโค้งของฮอร์นทำใ็ห้ Bi-Radial® สามารถจัดการปัญหาเรื่องการตอบสนองความถี่ในการออกแบบฮอร์นในแบบเดิมๆได้หมด สิ้น เืมื่อแก้้ปัญหานี้ได้แล้วระบบฮอร์นของ JBL ก็ปราศจากปัญหาการโรลล์ออฟความถี่สูงที่เป็นข้อจำกัดของคอมเพรสชันไดร์เวอร์ อันที่จริงปัญหานี้แก้ได้ไม่ยากนักคือปรับชดเชตความถี่ที่เน็ตเิวิร์ค หรือที่แอมป์ก็ได้

ในการนำเสนองานวิจัยชิ้นนี้ก็ได้มีการสาธิตเทคโนโลยีใหม่ๆที่โรงภาพยนตร์ ของ Academy of Motion Picture Arts and Sciences ในลอสแองเจลิส ทาง JBL ก็ได้ประกอบต้นแบบลำโพงซึ่งประกอบไปด้วยไดร์เวอร์เบสส์รุ่น 2225 สองตัวติดตั้งลงตู้ 4508 และในส่วนของความถี่สูงใช้คอมเพรสชนไดร์เวอร์ 2441 และฮอร์น Bi-Radial® รุ่น 2360 ระบบลำโพงนี้ยังใช้ร่วมกับสับวูฟเฟอร์ที่ใช้ไดร์เวอร์รุ่นใหม่ขนาด 18″ สี่ตัวนั่นคือรุ่น 2245
การนำเสนอครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม สมาชิกที่เข้ามาร่วมทดสอบในการสาธิตต่างประหลาดใจกับระดับของประสิทธิภาพ ระบบลำโพง VOTT ที่เป็นมาตรฐานของวงการยังไม่มีแบนด์วิดธ์กว้างเหมือนกับต้นแบบของ JBL เนื่องจากตู้แบบผสมผสานระหว่างฮอร์น/รีเฟล็กซ์ที่เป็นหัวใจของระบบ VOTT จะให้การตอบสนองย่านมิดเบสส์ได้ไม่ดีนักเนื่องจากไม่มีเสียงแบบได เร็ค-เรดิเอเตอร์เหมือนกับต้นแบบของ JBL และการทำงานของฮอร์นแบบ Bi-Radial® ก็เหนือกว่าฮอร์นแบบมัลติเซลล์ของระบบ VOTT

การสาธิตในครั้งนี้ได้ชักนำให้ JBL ทุ่มเทพัฒนาเข้าสู่ตลาดระบบลำโพงโรงภาพยนตร์เป็นรอบที่สาม และรอบที่สี่ ในงานประชุมที่ AES มีผู้เข้าร่วมฟังการสาธิตนั่นคือ Dan Ross ซึ่งเป็นผู้บริหารของ Academy of Motion Picture Arts and Sciences ในปี 1983 ภายใต้แนวทางของ Ross ก็ได้ทำการปรับปรุงโรงภาพยนตร์ครั้งใหญ่โดยเปลี่ยนระบบเสียงใหม่ทั้งหมด Ross ประทับใจระบบที่สาธิตในงาน AES ทำให้เขามุ่งตรงไปหา JBL ให้ทำการผลิตระบบลำโพงระดับสเตต-ออฟ-ธิ-อาร์ตที่มีพื้นฐานมาจากลำโพงโรง ภาพยนต์ที่นำมาสาธิต เป็นผลให้ระบบลำโพงโรงภาพยนนตร์กลายมาเป็นโชว์เคส และประชาสัมพันธ์ความเป็นผู้นำในระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ของ JBL
ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนี้ Tomlinson Holman จาก Lucasfilm ได้เริ่มพัฒนาระบบที่กลายเป็นมาตรฐานของระบบ THX ซึ่งเป็นมาตรฐานและการรับรองกระบวนการของการบันทึกเสียง และเล่นกลับสำหรับภาพยนตร์ ที่มั่นใจได้ว่าผู้ชมภาพยนตร์จะได้ประสบการณ์ฟังเสียงที่ถูกต้องในการชม ภาพยนตร์ Holman ก็ได้ฟังการสาธิตลำโพงโรงภาพยนตร์ที่งาน AES ด้วยเช่นกัน และให้การตอบสนองในเชิงบวก เขาจึงสอบถาม JBL ในการสร้างตัวอย่างระบบลำโพงที่ใช้ไดร์เวอร์แบบเดียวกัน เพื่อพัฒนาระบบการเล่นกลับที่ได้มาตรฐาน ผลคือ JBL ก็ได้รับสิทธิในการเป็นมาตรฐานของระบบลำโพง THX เนื่องจากเป็นระบบลำโพงที่เป็นพื้นฐานในการกำหนดมาตรฐาน และเมื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ก็เป็นเจ้าแรกที่ได้การรับรองตามมาตรฐาน THX

การพัฒนาระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ครั้งที่ห้านี้ได้ปิดผนึก Altec ด้วยการปรับไปใช้มาตรฐาน THX ซึ่งมีการประการเป็นทางการครั้งแรกในปี 1983, ในปีถัดมาความต้องการปรับปรุงระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ให้ได้การรับรองตาม มาตรฐาน THX ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในปี 1984, Altec Lansing รวนไปทั้งบริษัท โดยเฉพาะในทุนในการดำเนินการ Altec ได้ขายโรงงานที่ดำเนินการมานานแสนนานไปทีละแห่งสองแห่ง JBL พบว่าตนได้ทำสำเร็จแล้วกับการเจาะตลาดระบบเสียงโรงภาพยนตร์ที่ความต้องการ ระบบของ JBL พุ่งทะยาน
ความสำเร็จทางเทคนิคเบื้องหลังระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ของ JBL ในยุคปี 1980s ต้องยกย่องนักออกแบบ John Eargle, Mark Engebretson, และ Don Keele, ซึ่งพวกเขาได้รับรางวัล Academy Award for Scientific and Technical Achievement ปี 2001 สำหรับแนวคิดการออกแบบ และวิศวกรรมของระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ นับเป็นรางวัลชิ้นที่สองจาก Academy of Motion Pictures Arts and Sciences ที่ไม่เคยมอบให้กับเทคโนโลยีลำโพงใดๆเลย ซึ่งการมอบรางวัลนี้ครั้งแรกถูกมอบให้กับบริษัท Lansing ในปี 1936 สำหรับระบบลำโพง Shearer ที่พัฒนาโดยบริษัทของ Jim Lansing นั่นคือบริษัท Lansing Manufacturing

วิวัฒนาการของลำโพงมอนิเตอร์
ในปี 1980, JBL ประสบความสำเร็จในการพัฒนาลำโพงมอนิเตอร์ที่ให้ระดับเอาต์พุตสูง, แบนด์วิดธ์กว้าง นั่นคือมอนิเตอร์ซีรีย์ 4300 แต่มีคู่แข่งที่เป็นบริษัทเล็กๆ ผลิตอุปกรณ์สตูดิโอสังกัดอิสระนั่นคือ UREI ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายยุค 70s, มอนิเตอร์ของ UREI รุ่น 811 และ 813 ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางในตลาดสตูดิโอ โดยแบ่งตลาดลำโพงมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ของ JBL ยิ่งไปกว่านั้นนวัตกรรมของมอนิเตอร์ UREI นอกจากจะมีระบบเฉพาะ เน็ตเวิร์คจัดการเรื่องการเหลื่อมของเวลา และที่สำคัญใช้ไดร์เวอร์ของ Altec Lansing 604 Duplex ที่ผ่านการปรับแต่งแล้ว เป็นผลให้มอนิเตอร์ของ UREI ได้รับความสนใจอย่างมาก ลำโพงมอนิเตอร์ของ JBL มีข้อจำกัดจากระบบเป็นแบบสี่ทางที่ไม่มีการจัดการเรื่องการเหลื่อมของเวลา จากไดร์เวอร์แต่ละตัว ทำให้มีปัญหาเมื่อนำมาใช้งานในระยะห่างจากลำโพงน้อยกว่า 8 ฟุต ซึ่งไดร์เวอร์แบบโคแอ็กเชียลจะได้เปรียบกว่ามาก หากใช้การจัดการในเรื่องการเหลื่อมของเวลาโดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ดังเช่นมอนิเตอร์ของ UREI) กับระบบลำโพงสี่ืทางจะมีความซับซ้อนในการออกแบบมาก ทำให้ JBL ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ไว้

ในช่วงที่มอนิเตอร์ซีรีย์ 4300 เปิดตัวขึ้นมา, ทาง JBL มุ่งเน้นไปที่การรับกำลังขับ เช่น ใช้วัสดุทนความร้อนสูง, โครงของวอยซ์คอยล์เป็น Kapton และซัสเพนชันที่แข็งแรงเพื่อให้ไดร์เวอร์เบสส์รับกำลังขับได้มาก ยังมีการพัฒนาวัสดุทำกรวยลำโพงที่ JBL ได้ทำการค้นคว้าเพื่อแก้ปัญหาการสั่นค้าง นั่นหมายถึงเบสส์ไดร์เวอร์ให้ผลการตอบสนองเสียงเบสส์ได้ลึก และแบนด์วิดธ์ไดกว้างขึ้นทำใำห้เลือกจุดตัดได้สูงขึ้น โดยยังไม่คำนึงถึงเรื่องการเหลื่อมของเวลาระหว่างไดร์เวอร์แต่ละตัว
พอเจอข้อจำกัดหลายๆอย่างเข้า JBL ก็กลับเ้ข้ามาการจัดไดร์เวอร์สำหรับลำโพงมอนิเตอร์ให้เป็นระบบลำโพงสองทาง แทน เป็นผลให้เกิดมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการชดเชยการเหลือมของเวลาสำหรับ ไดร์เวอร์แต่ละตัว โดยยังให้ระดับเอาต์พุตได้สูง และแบนด์วิดธ์กว้างดังเช่นมอนิเตอร์ซีรีย์ 4300 โดยมีรูปแบบเป็นลำโพงแบบสองทาง ฮอร์นสำหรับความถี่สูงสามารถทำงานร่วมกับเบสส์ไดร์เวอร์แม้การฟังแบบเนีย ร์ฟิลด์ ลำโพงซีรีย์ใหม่นี้มีสองรุ่นคือ–แบบให้ระดับเสียงเอาต์พุตสูํงใช้วูฟเฟอร์ สองตัวนั่นคือรุ่น 4435 และรุ่นรองลงมาใช้วูฟเฟอร์ตัวเดียวนั่นคือรุ่น 4430

องค์ประกอบทางคุณสมบัติที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ก็นำไปสู่มอนิเตอร์ซีรีย์ 4400 โดยพัฒนาจากรุ่นก่อนๆ และจากคู่แข่ง—การตอบสนองด้านกำลังที่ราบเรียบ ให้มุมในการฟังกว้างขึ้น คุณสมบัติสองประการนี้มอนิเตอร์ UREI ไม่สามารถให้ได้ จากความต้องการนี้ JBL จึงใช้มาพัฒนามอนิเตอร์ของตน-การพัฒนาเทคโนโลยีฮอร์น Bi-Radial® โดยวิศวกรของ JBL ชื่อ David Smith เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบฮอร์นสองรุ่นที่อาศัยพื้นฐานจากฮอร์นรุ่นใหม่ ของ Keele ทำให้ได้ฮอร์นรุ่น 2344, ที่มีคุณสมบัติคือให้มุมกระจายเสียงกว้างถึง 100º ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน

ต้องใ้ช้แนวทางในการพัฒนาครอสส์โอเวอร์ที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการตอบสนองของ Bi-Radial® และมีปุ่มควบคมุความดังของเสียงกลางแหลมแบบดั้งเดิมของระบบสองทาง ยังต้องปรับอีควอไลซ์ให้กับเน็ตเวิร์คสำหรับไดร์เวอร์ความถี่สูงเพื่อแก้ไข การโรลล์ออฟของความถี่สูงจากน้ำหนักของไดอะแฟรม (ฮอร์นแบบ Bi-Radial® ให้เสียงในแนวแกนที่มีการตอบสนองความถี่ตกลง ซึ่งต่างไปจากระบบ radial-horn แบบเดิมที่กลับกัน) ในตอนแรกใช้คอมเพรสชันไดร์เวอร์ 2421A ร่วมกับฮอร์นตัวใหม่นี้ แต่ก็เปลี่ยนมาเป็นรุ่น Alnico 2420 ที่ใช้ไดอะแฟรมอลูมิเนียมรุ่นใหม่ ที่ออกแบบพัฒนาขอบไดอะแฟรมเป็นลายเหมือนเพชร ซึ่งขอบแบบนี้จะช่วยยกระดับการตอบสนองความถี่สูงให้เกิดการเรโซแนนซ์ลำดับ ที่สองให้สูงกว่า 16kHz

เบสส์ไดร์เวอร์รุ่นใหม่สองตัวที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับระบบนี้ึืคือ: รุ่น 2234H และรุ่น 2235H โดยรุ่น 2235H เป็นรุ่นที่ปรับปรุงมาจากรุ่น 2231A,ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อใ้้ช้งานกับมอนิเตอร์รุ่น 4300 ไดร์เวอร์ตัวใหม่พัฒนาให้สามารถรับกำลังขับได้เป็นสองเท่าของรุ่นเดิม และแก้ปัญหาีเล็กๆน้อยๆของรุ่นก่อนนั่นคือ dynamic offset มักเกิดขึ้นเมื่อทำงานที่ความถี่ต่ำๆกรวยจะเคลื่อนเข้าออกอย่างแรง การสั่นนี้จะทำให้คอยล์เกิดการเลื่อนจากศูนย์กลางของแก็ป, ทำให้เกิดความเพี้ยนทางเสียง และความดังเอาต์พุตลดลง Mark Gander ออกแบบระบบซัสเพนชันที่แข็งแรงแน่นหนาี่ที่จะสร้างแรงต้านขึ้นเมื่อกรวยสั่น มากๆ ทำให้แก้ปัญหาไดนามิคออฟเซ็ตได้ และกลายเป็นเทคโนโนยีที่ทำไปสร้างไดร์เวอร์รุ่ร 2235H และรุ่นร่วมสมัยอย่าง 2225H

มอนิเตอร์รุ่น 4430 ใช้ไดร์เวอร์ 2235H ตัวเดียว, ส่วนรุ่น 4435 ใช้ไดร์เวอร์ 2234H สองตัว ไดร์เวอร์รุ่น 2234H มันก็คือรุ่น 2235H แต่ไม่มีวงแหวนเพิ่มมวล ซึ่งทำหน้าที่ลดการกระพือแรงๆที่ความถี่ต่ำๆ ทำให้รุ่น 4435 มีความไวสูงกกว่า เพราะใช้ไดร์เวอร์ที่มีมวลเบากว่า ให้เสียงเบสส์ลงได้ลึกกว่ารุ่น 4430 ภายในจะแยกตู้อิสระสำหรับไดร์เวอร์ 2234H ทั้งสองตัว แต่จะจำกัดแบนด์วิดธ์ให้ไดร์เวอร์ตัวหนึ่งทำงานถึงแค่ 100Hz การจำกัดแบนด์วิดธ์ให้เหลือเพียงวูฟเฟวอร์ตัวเดียวทำงานที่ 27-100 Hz ทำให้ผลการตอบสนองโดยรวมราบเรียบถึงลงมาถึง 30Hz โดยยังมีความไวมากกว่า 4430 ประมาณ 3 dB
มอนิเตอร์รุ่นนี้เปิดตัวในปี 1981 และนำไปสู่เป้าหมายในการเป็นมาตรฐานใหม่ของมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ ในปี 1983, ก็เริ่้มมีการพัฒนามอนิเตอร์ที่ใช้ฮอร์น Bi-Radial® นั่นคือรุ่น 4425 ซึ่งถูกออกแบบโดย Dean Rivera ใช้เบสส์ไดร์เวอร์ขนาด 12″ ร่วมกับฮอร์น/ไดร์เวอร์รุ่นเล็ก 2342/2416H Bi-Radial® มอนิเตอร์ซีรีย์นี้ถือเป็นตัวหลักของ JBL ต่อมาอีกกว่ายี่ิสิบปี และเลิกผลิตในปี 2000

ยังมีมอนิเตอร์อีกรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาในยุคนี้เช่นกันนั่นคือ 4312 ผลิตออกมาในปี 1982 เป็นมอนิเตอร์ที่พัฒนาจากรากเหง้าของ 4310 ที่ผลิตในปี 1968 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนอีกจุดหนึ่ง เดิม 4310 ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทดแทน Altec Lansing 604 Duplex ซึ่งยังไม่ได้ให้ความแม่นยำของเสียงมากนัก ต่อมาก็มีการพัฒนาเป็นรุ่น 4311 ทดแทนซึ่งให้การตอบสนองได้ถููกต้องแม่นยำกว่า และเป็นต้นกำเนิดมอนิเตอร์ซีัรีย์ 4300 รุ่นอื่นๆในกลางยุค 70s
พอมาในยุคนี้ก็นำเอา 4311 มาปรับปรุงอีกครั้งกลายเป็นรุ่น 4312, ซึ่งเปลี่ยนจากครอสส์โอเวอร์เน็ตเวิร์คง่ายๆให้เป็นเน็ตเวิร์คที่ได้รับการ ปรับปรุงในเชิงวิศวกรรมให้สามารถรีดประสิทธิภาพออกมาได้สูงสุด โดยไม่เปลี่ยนสไตล์เสียงในแบบฉบับของ4311 ผลคือได้ระบบมอนิเตอร์ที่กลายมาเป็นตำนานอีกตัวหนึ่ง เป็นที่ต้องการของนักเล่นทั่วโลกโดยเฉพาะที่ญี่ปุ่น แต่กลับไม่พบการใช้งานในสตูดิโอมากนัก กลับพบว่าถูกนำไปใช้เป็นลำโพงบ้านกันซะมากกว่า มอนิเตอร์ 4312 นี้ยังมีการพัฒนาต่ออีกหลายๆปี—โดนยังคงชื่อรุ่น 4312 ไว้เป็นสำคัญซึ่งมีการนับเวอร์ชันที่เกิดจากการพัฒนาในแต่ละครั้งดังนี้ 4312B, 4312BMKII, 4312M, 4312SX และยังมีต่อไปอีก รุ่นล่าสุดคือ 4312D ใช้เทคโลโลยีล่าสุดของลำโพง JBL อย่างเช่นนีโอไดเมียมที่ชื่อว่า Differential Drive®.

L250 และลำโพงในซีรีย์ Ti

ลำโพง L250 ถือเป็นแลนด์มาร์คของระบบลำโพงที่สร้างโดย JBL ในระดับสูงสุดของระบบลำโพงบ้าน มันเป็นลำโพงไฮเ้อ็นด์ตัวแีรกของ JBL หลังจากที่ถูกพัฒนาขึ้นมาหลังจากที่ JBL กลับมาสู่อ้อมแขนของ Harman International โดยพัฒนาลำโพงรุ่นนี้เพื่อพื้นฟูแบรนด์ JBL ว่าเป็นแบรนด์แห่งคุณภาพ และนวัตกรรม หลังจากที่ไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆเลยในยุคของ Beatrice
ลำโพงรุ่น L250 เกิดขึ้นจากมันสมองอันซุกซนของวิศวกรของ JBL นั่นคือคือ Greg Timbers และมันเป็นลำโพงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือแทนที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความต้้องการของตลาดลำโพง มันกลับเกิดจากงานอดิเรกของ Timbers โดยเขาได้พัฒนาต้นแบบลำโพงที่ทำเป็นงานอดิเรกยามว่าของเขา เพื่อสร้างลำโพงส่วนตัวที่มีมาตรฐานสูงสำหรับลำโพงบ้าน Timbers เคยรับผิดชอบในการออกแบบมอนิเตอร์รุ่น 4315 และมีส่วนรวมในการพัฒนา L212 ทั้งสองรุ่นพัฒนาตามคำแนะนำของเขาคือให้เป็นลำโพงสี่ทางเพื่อให้ความเป็น เชิงเส้นสูงสุด และการตอบสนองเปี่ยมไดนามิค เขาได้ระบุข้อจำกัดของลำโพง L212 ว่าเสียงเบสส์ขาดไดนามิคจากการใช้ไดร์เวอร์ 14″ LE14 ในแต่ละตู้ เขาได้ออกแบบตู้ลำโพงเป็นทรงปิรามิดมีมุมลาดเอียงด้านบน  เพื่อให้ลดการเกิดสแตนดิงเวฟภายในตู้ลำโพง และต้องการลดขนาดพื้นที่แผงหน้าลำโพงบริเวณมิดเรนจ์ และทวีตเตอร์ เพื่อลดการสะท้อนจากไดร์เวอร์ไปยังแผงหน้าลำโพง เน็ตเวิร์คถูกออกแบบโดยใช้แบบออร์เดอร์้ที่หนึ่่งเพื่อทำการจัดเฟส และการเหลื่อมของเวลา ซึ่งถูกปรับแต่งแยกสำหรับไดร์เวอร์แต่ละตัวทำให้ลำโพงทำงานได้อย่างมีความ เป็นเิชิงเส้นสูง
Timbers ทำการทดลองระบบลำโพงนี้โดยให้ใครก็ตามที่ผ่านไปมาลองฟังเสียงมันดู ซึ่งเขาก็ได้ผลตอบรับเชิงบวกจากฝ่ายบริหารของ JBL ซึ่งให้ไฟเขียวกับการพัฒนาไปสูงระบบลำโพงที่จะผลิตจริง งานหลักของลำโพงรุ่นนี้คือแปลงการออกแบบจากลำโพงต้นแบบในเชิงวิศวกรรมของ Timbers ให้กลายมาเป็นลำโพงสำหรับใช้ในบ้าน โดยให้เสียงเหมือนกัน ประสิทธิภาพเหมือนกัน Doug Warner ถูกเรียกมาให้รับงานออกแบบอุตสาหกรรม ต้นแบบลำโพงมันใช้งานได้จริง แต่รูปร่างหน้าตามันกลับเหมือนเมโทรโนมขนาดยักษ์ Warner ได้ปรับรูปร่างเรขาคณิตของตู้ลำโพงใหม่ จัดวางมุมเอียงของลำโพงทั้งสองข้างให้มิลเลอร์กันระหว่างซ้ายกับขวา เพื่อให้ฟังค์ชันการทำงานตรงกับต้นแบบ และมีรูปแบบสวยงามด้วย
Timbers เลือกใช้ไดร์เวอร์ที่มีอยู่ในการสร้างต้นแบบของเขา แต่ในตัวจริงไดร์เวอร์ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ เวอร์ชันแรกๆของ L250 ใช้ไดร์เวอร์ที่ประกอบไปด้วย LE14H-1 เป็นเบสส์ไดร์เวอร์, 108H เป็นมิดเบสส์, LE5-11 เป็นมิดเรนจ์ และ044-1 เป็นทวีตเตอร์แบบฟีโนลิคเคลือบอลูมิเนียม

มีลำโพงที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมกับลำโพงรุ่น L250 ด้วยนั่นคือสับวูฟเฟอร์ขนาด 18″ ใช้ไดร์เวอร์รุ่น 2245 ซึ่ง Timbers เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา เป็นสับวูฟเฟอร์ที่ใช้ไดร์เวอร์ขนาด 18″ ตัวที่สองที่ผลิตโดย JBL (เดิมใช้ในยุค 1970s สำหรับระบบลำโพงเครื่องดนตรีรุ่น K151) เป็นสับวูฟเฟอร์ที่พัฒนามาเพื่อชดเชยข้อด้อยด้านเสียงเบสส์ของรุ่น L212 แต่สับวูฟเฟอร์นี้กลับไม่ได้ถูกใ้ชงานกับ L212 จริงๆซะที เป็นตู้ขนาด 8 ลูกบากศ์ฟุตเรียกว่ารุ่น B460 ความจริงแล้วขนาดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับไดร์เวอร์รุ่น 2245 ต้องเป็นตู้ที่มีปริมาตรเท่ากับ 12 ลูกบากศ์ฟุต ซึ่งถือว่าใหญ่โตเกินไปสำหรับการใช้งานเป็นลำโพงบ้าน สับวูฟเฟอร์รุ่น B460 ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับครอสส์โอเวอร์พิเศษรุ่น BX63, ที่เป็นนวัตกรรมผสมผสานระหว่างแอคทีพว์/พาสซีพว์ โดยทำหน้าที่รวมความถี่ต่ำจากซ้ายและขวาเข้าด้วยกัน และเพิ่มการอีควอไลซ์อีกนิดเพื่อให้ผลการตอบสนองที่ราบเรียบของทั้งระบบจาก ความถี่ย่านกลางลงมาถึง 20Hz เมือนำมาใช้งานจริงๆในห้องสับวูฟเฟอร์ตัวนี้สามารถลงได้ต่ำกว่าความถี่ที่หู มนุษย์จะได้ยินเสียอีก รูปร่้างหน้าตาของ B460 ถูกออกแบบโดย Doug Warner ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ L250 และทำการตลาดให้ส B460 เป็นอุปกรณ์เสริมของระบบ แต่ความต้องการใช้สับวูฟเฟอร์กลับมีไม่มากนัก เพราะลำพัง L250 เองก็ให้การตอบสนองลงมาได้ึถึง 30Hz แล้ว อย่างไรก็ตามการเพิ่ม B460 เข้ามาทำให้ JBL มีระบบลำโพงชุดแรกที่มีแบนด์วิดธ์เลยย่านที่หูมนุษย์จะได้ยิน

ลำโพงรุ่น L250 มีการพัฒนาต่อโดยมีการพ่วงรหัสต่อหลังไปอีกหลายปี แต่ที่ดูจะมีนัยที่สุดก็คือการพัฒนาไดร์เวอร์เฉพาะในรุ่น 250Ti ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในภายหลัง เป็นรุ่นที่มีไม่มากนักประกอบไปด้วยรุ่น Limited Edition, Classic และ Jubilee โดย 250Ti มีการปรับปรุงเน็ตเวิร์คใหม่ และใช้ผิวตู้่ต่างไปจากเดิม เวอร์ชันสุดท้ายคือ 250Ti Jubilee เป็นรุ่นที่ผลิตในปี 1996 เพื่อฉลองครบรอบปีที่ 50 ของ JBL และเป็นรุ่นที่ใช้เน็ตเวิร์คแบบ charge-coupled ที่เป็นผลพวกจากโครงการพัฒนาลำโพง K2 ในยุคต้นของปี 1990s ดำเนินการผลิตต่อเนื่องมาถึงปี 1999
รุ่น 250Ti เป็นรุ่นที่พิเศษสุดๆ เพราะมันเป็นลำโพงที่เปิดตัวไลน์ไดร์เวอร์แบบใหม่ที่ใช้งานกันมาจนถึงทุก วันนี้ รหัสพ่วงท้ายรุ่น “Ti” ย่อาจาก Titanium ซึ่งบ่งบอกถึงว่าเป็นลำโพงตัวแรกจของ JBL ที่ใช้ไดอะแฟรมเป็นไตตาเนียมตัวแรกของระบบลำโพงบ้าน ซึ่งต่อมาลำโพงตัวหลักๆของ JBL ใช้ทวีตเตอร์เป็นไตตาเนียมที่เป็นผลพวงมาจากผู้นำนวัตกรรมนั่นคือ 250Ti
การนำเอาไตตาเนียมมาสร้างเป็นไดอะแฟรมสำหรับความถี่สูงเกิดขึ้นจากฝ่ายระบบ เสียงโปรฯของ JBL ซึ่งเดิมที JBL ใช้ไดอะแฟรมเป็นอลูมิเนียมสำหรับคอมเพรสชันไดร์เวอร์ ต่อมาในปี 1980 ไดร์เวอร์เหล่านี้พบข้อจำกัดว่าไม่เหมาะกับการใช้งานกับแอมป์ที่มีกำลังขับ สูงๆ เนื่องจากเสียหายได้ง่ายมากจึงมีการพัฒนาไดอะแฟรมใหม่โดยวิศกรของ JBL ชื่อ Fancher Murray เพื่อแก้ปัญหานี้ Murray มีพื้นฐานในการทำงานด้านอวกาศก่อนจะเข้ามาร่วมงานกับ JBL และใช้องค์ความรู้ที่เขามีในด้านวัสดุศาสตร์ในการพัฒนาไดอะแฟรมไตตาเนียม ขึ้นมาเป็นครั้งแรก

แรงตึงเครียดที่เกิดขึ้นกับไดอะแฟรมเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหาย อันเนืองมากจากความล้าของวัสดุที่เป็นโลหะ ซึ่งมักจะเกิดความเสียหายเมื่อเกิดแรงตึงเครียดซ้ำกันบ่อยๆ การเกิดแรงตึงเครียดหากเกินค่าต่ำสุดที่โลหะจะทนก็จะเกิดอาการล้าที่เนื้อ โลหะได้ สำหรับการประยุกต์ใช้งานในลำโพง แรงตึงเครียดที่เกิดขึ้นจะอยู่ในระดับต่ำกว่าที่จะทำให้โลหะเกิดการล้า แต่ในการใ้ช้งานบางครั้งต้องการระดับเสียงดังขึ้นอย่างเช่นระบบเสียงโปรฯ การเร่งความดังมากๆจะทำให้คอมเพรสชันไดร์เวอร์ของ JBL ทำงานหนักจนถึงระดับที่ทำให้เกิดการล้าที่ตัวไดอะแฟรมโลหะ จนเกิดความเสียหายขึ้นได้

วัสดุโลหะพิเศษอย่างไตตาเนียมมีความต้านทานที่จะำเกิดอาการล้าได้สูงกว่าอลู มิเนียมมาก แต่น้ำหนักเทียบกับปริมาตรแล้วมันหนักกว่าอลูมิเนียมมาก แต่เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงมาก และทนแรงตึงเครียดได้สูง เมื่อปรับใช้ในทางวิศวกรรมที่เหมาะสมแล้วพบว่ามันเป็นวัสดุในอุดมคติสำหรับ สร้างไดอะแฟรมความถี่สูง ทำให้ต่อมาไดอะแฟรมของคอมเพรสชันไดร์เวอร์ของ JBL ปรับเปลี่ยนมาเป็นไตตาเนียม

ก่อนจะนำวัสดุสร้างไดอะแฟรมใหม่นี้ไปเริ่มในสายผลิตภัณฑ์โปรณของ JBL มันได้ถูกประยุกต์ใช้ไดอะแฟรมไตตาเนียมกับลำโพงบ้ายก่อน ณ.ช่วงเวลานั้นทวีตเตอร์รุ่นไฮ-เอ็นด์ของ JBL จะเป็นโดมฟีโนลิคเคลือบอลูมิเนียม ซึ่งให้คุณภาพดี, การตอบสนองดี แต่ยังต้องควบคุมในเรื่องปลายเสียงของความถี่สูง พบว่าเมื่อเปลี่ยนไปใช้ไดอะแฟรมไตตาเนียมโดมแทนมันสามารถให้เสียงสูงทะลุ แบนด์วิดธ์ที่้ต้องการ และให้ความเพี้ยนต่ำมาก JBL จึงได้ทำการออกแบบระบบลำโพงที่ใ้ช้ทวีตเตอร์รุ่นใหม่นี้นั่นคือรุ่น 044Ti โดยเริ่มต้นโดยการปรับปรุงลำโพงจาก L250 กลายเป็น 250Ti

ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันก็มีการพัฒนามิดเรนจ์ไดร์เวอร์ใหม่เืพื่อใช้กับลำโพงใน ซีรีย์นี้ซึ่งเป็นไดร์เวอร์แบบกรวยโพลีโพรไพลีน ช่วงนั้นกรวยลำโพงแบบโพลีโพรไพลีนถูกนำไปใช้ในลำโพงบ้านบ้างแล้ว โดนใช้เป็นกรวยของวูฟเฟอร์เนืองจากเป็นวัสดุที่มีการแดมป์ได้ดี JBL เคยต่อต้านแนวคิดการใช้กรวยแบบนี้ ด้วยเหตุผลที่ฟังดูเข้าี กรวยขนาดใหญ่ที่สร้างจากวัสดุโพลีโพรไพลีนจะมีข้อด้อยในด้านความแข็งแรง ซึ่งจะเกิดการกระพือบิดตัวของกรวยได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตามภายหลัง JBL ค้นพบว่าถ้ากรวยมีขนาดเล็กลงสามารถนำไปใช้งานเป็นไดร์เวอร์สำหรับมิดเรนจ์ ได้ดี เพราะมีความแข็งแรง และให้เสียงมีทิศทางดี ยังมีผลดีด้านการแดมป์ส฿งทำให้ไม่เกิดความเพี้ยนเมื่อเปิดดังๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นมาเป็นมิดเรนจ์ไดร์เวอร์รุ่น 104H ใช้งานครั้งแรกในลำโพงรุ่น 250Ti

ลำโพงซีรีย์ Ti ก็เริ่มผลิตในปี 1984 โดยมีรุ่นเรือธงคือ 250Ti, ตามมาด้วย 240Ti, 120Ti และ 18Ti  โดยรุ่น 240Ti คล้ายๆกับ 250Ti แต่ไม่มีไดร์เวอร์มิดเบสส์ และใช้ตัวตู้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าปกติ รุ่น 120Ti เป็นเวอร์ัชันของลำโพงวางหิ้งสามทางดั้งเดิมของ JBL ใช้เบสส์ไดร์เวอร์ขนาด 12″ ร่วมกับไดร์เวอร์ตัวใหม่สำหรับมิดเรนจ์และทวีตเตอร์ รุ่นสุดท้ายคือ 18Ti เป็นลำโพงสองทางจนาดเล็กใช้เบสส์ไดร์เวอร์ขนาด 6.5″ ร่วมกับทวีตเตอร์ 044Ti สำโพงซีรีย์ Ti ได้สร้างจุดเริ่มต้นให้เกิดไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งคงอยู่ในแคตตาล็อกของ JBL ไปอีกสิบปี

โปรเจ็คลำโพงตัวที่สาม

โครงการพัฒนาลำโพงตัวที่สามได้เิริ่มขึ้นหลังจากที่พักยาวตั้งแต่โครงการ ลำโพง Paragon ในปี 1983 ณ.เวลานี้ญี่ปุ่นกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ Bruce Scrogin ประธาน JBL International ต้องการระบบลำโพงที่มีระดับในตลาดเพื่อสร้างช่วงห่างของความเป็นไฮเอ็นด์ที่ สุดของที่สุดในไลน์ผลิตภัณฑ์ของ JBL เขาได้พัฒนาแนวคิดไปสู่คำจำกัดความของลำโพงใหม่ที่มีสององค์ประกอบนี้—ให้ เสียงกว้าง, อิมเมจสเตริโอนิ่งสนิท และประสิทธิภาพสูง

องค์ประกอบแรกต้องย้อนกับไปหาลำโพง Paragon ซึ่งเป็นระบบลำโพงหนึ่งเดียวที่ใช้แผงโ้ค้งในการสะท้อนเสียงเพื่อสร้างสนาม เสียงสเตริโอที่กว้าง แม้ผู้ฟังจะอยู่นอกแนวแกนการฟังของลำโพงปกติ Scrogin ค้นพบว่าเทคโนโลยีฮอร์นของลำโพงโปรฯเมื่อทำไปสร้างลำโพงบ้านก็ให้ลักษณ์ เสียงในแนววนี้เช่นกัน เทคโนโลยีฮอร์นนั้นก็คือฮอร์นแบบไม่สมมาตรที่ Don Keele ได้พัฒนาฮอร์นรุ่น 2346 เพื่อใช้สำหรับลำโพงเพดานรุ่น 4660 ฮอร์นแบบไม่สมมาตรนี้ทำให้เสียงครอบคลุมทุกระยะไม่ว่าการฟังจะห่างจากลำโพง มากน้อยเพียงใด Scrogin ได้รับแรงบันดาลใจนี้โดยลองหมุนฮอร์นเป็นมุม 90º จัดวางเป็นลำโพงสเตริโอพบว่าเสียงที่กระจายออกจากไดร์เวอร์ทั้งสองข้างจะ ครอบคลุมมุมการฟังได้กว้าง แม้ว่าผู้ฟังจะไม่อยู่ในแนวแกนการฟังปกติ ทำให้อิมเมจความเป็นสเตริโอนิ่ง และเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ว่าจะเปลี่ยนตำแหน่งใด ตราบใดที่ยังฟังอยู่ระหว่างลำโพงทั้งสองข้าง
องค์ประกอบที่สองประสิทธิภาพสูงก็ต้องย้อนรอบไปถึงความเป็นตำนานของ JBL ที่ผ่านมาไดร์เวอร์ลำโพงในซีรีย์ LE รุ่นใหญ่ๆของ JBL เป็นที่รู้กันเป็นอย่างดีว่ามีความไวสูงมากๆให้เสียงที่มีไดนามิคเป็นที่ ประทับใจคอออดิโอไฟล์ ดังนั้นโครงการลำโพงใหม่นี้จึงเป็นการพัฒนาลำโพงที่ตั้งเป้าไว้ว่าต้องมี ความไวถึง 100 dB/W/m

ระบบลำโพงใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า Everest โดยมีชื่อรุ่นว่า DD55000 เหมือนกับรุ่น DD44000 ที่อ้างอิงถึงลำโพง Paragon โดยผู้รับผิดชอบงานภาพรวมเชิงวิศวกรรมคือ Greg Timbers เป็นระบบลำโพงที่แตกต่างจากลำโพงเรือธงในอดีตคือเป็นระบบลำโพงสามทาง เลือกใช้ไดร์วเวอร์ที่มีอยู่แล้ว แทนที่จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาใหม่ แต่ไดร์เวอร์ที่มีอยู่แล้วที่นำมาืำทำต้นแบบก็มีการปรับแต่งพารามิเตอร์บ้าง เล็กน้อย
เบสส์ไดร์เวอร์ใช้รุ่น E145 จากไลน์ผลิตภัณฑ์สำหรับเครื่องดนตรี ปกติแล้วทรานสดิวเซอร์สำหรับงานดนตรีจะมีลักษณะเสียงเฉพาะดนตรีนั้นๆไม่ได้ ให้เสียงที่ถูกต้องเมื่อใช้ในการฟังเพลง แต่รุ่น E145 กลับแหกกฏข้อนี้เดิมทีถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับแอมป์กีตาร์เบสส์ และแอมป์สำหรับคีย์บอร์ด ซึ่งต้องการความแม่นยำทางเสียงมาก ไดร์เวอร์ุรุ่น E145 ใช้ระบบมอเตอร์จากรุ่น LE15H แต่ปรับให้คอยล์จมลงต่ำกว่า ไดร์เวอร์รุ่นนี้ถือว่ามีความเป็นเชิงเส้นสถูกที่สุดในไลน์ผลิตภัณฑ์ของ JBL กรวยลำโพงรูปแบบคล้ายๆกับรุ่น 150-4C ที่มีโปรไฟล์ลึก, มุมกรวยค่อนข้างชัน, ผิวข้างกรวยเป็นแนวตรง รูปแบบของกรวบลำโพงแบบนี้จะมีความแข็งแรงและบิดตัวได้น้อยมาก เมื่อใช้กับระบบลำโพง Everest ไดร์เวอร์รุ่นนี้ก็นำมาตีเลเบลใหม่เป็นรุ่น 150-4H เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นลำโพงบ้านของรุ่น 150-4C ซึ่งจะได้อ้่างถึงได้อย่างถูกต้องว่าเป็นไดร์เวอร์ที่พัฒนาต่อเนื่องกันมา มิดเรนจ์ไดร์เวอร์ใช้รุ่น 2425H เป็นไดร์เวอร์รุ่นเดียวกันกับที่ใช้ร่วมกับฮอร์น 2346 ในลำโพงรุ่น 4660 ใ้ช้ไดร์เวอร์รุ่น 2405 เพื่อเสริมปลายเสียงแหลมย่านความถี่สูงๆ

ปกติแล้วงานของ Timbers จะเป็นการร่ายเวทย์มนตร์ในการปรับแต่งระบบ และออกแบบเน็ตเวิร์ค เขาสามารถพัฒนาให้ระบบลำโพงรุ่นนี้มีประสิทธิภาพสูง ให้อิมเมจเสียงตรงจากต้องการ และให้ผลการตอบสนองความถี่ราบเรียบ และตอบสนองกำลังขับราบเรียบ เป็นผลให้ระบบนี้สามารถให้คุณภาพเสียงสมกับชื่อว่า Everest สามารถให้ไดนามิคเสียง และเต็มไปด้วยรายละเอียด ปัญหาเพียงประการเดียวของระบบลำโพงนี้ก็คือขนาดของมัน
ต้นแบบของลำโพงขนาดใหญ่ีมีรูปแบบง่าย ที่ต้องมีขนาดใหญ่ก็เพราะไดร์เวอร์ 150-4H ต้องการตู้ที่มีปริมาตรภายใน 8 ลูกบากศ์ฟุตซึ่งไม่ถือว่าใหญ่โนมากนัก แต่มันก็เป็นเนื้อที่เฉพาะไดร์เวอร์ตัวนี้อย่างเดียว เมื่อติดตั้งฮอร์นขนาดใหญ่ลงไปก็ต้องมีตัวตู้ครอบฮอร์นด้วย โดยต้องมีการแดมป์เพื่อป้องกันการเรโซแนนซ์ ทำให้ขนาดตู้เมื่อรวมกับฮอร์นแล้วจึงมาขนาดใหญ่มากกว่าืขนาดปริมาตรที่ เบสส์ไดร์เวอร์้ต้องการ เป็นผลให้งานท้าทายต่อมาคือการออกแบบให้รูปแบบลำโพงน่าดู ฉีกจากรูปแบบการมองว่ามันคือตู้เย็น ซึ่งให้ความรู้สึกเทอะทะเมือนำไปจัดวางในห้อง

ที่ปรึกษาด้านออกแบบอุตสาหกรรมคนใหม่ Dan Ashcraft เป็นผู้แก้ปัญหาด้านนี้ รูปแบบที่เขากำหนดมาทำให้ต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งการติดตั้งของทวีตเตอร์ 2405 ตัวตู้มีความสูงเพียงพอแล้วเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งมิดเรนจ์ การหาตำแหน่งที่เหมาะสมของทวีตเตอร์ 2405 ในแนวแกนตั้งกลายเป็นคำถามในขณะนั้น พบว่าตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับ 2405 คือติดตั้งไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งต้องการให้ไดร์เวอร์มีมุมการกระจายเสียงครอบคลุมได้เพียงพอ จึงสร้างแผงสำหรับติดตั้งทวีตเตอร์เอียงเป็นมุมที่เหมาะสม ก็ลงตัวทั้งในด้านสถาปัตยกรรม และทางเทคนิค ทำให้มีการปรับมุมของไดร์เวอร์ความถี่ต่ำตามมาเพื่อให้เหมาะสม ซึ่งฉีกรูปแบบเดิมๆที่เป็นตู้ลำโพงกล่องสี่เหลี่ยมธรรมดาให้มีมุมเอียง, ฮอร์แบบไม่สมมาตรที่เป็นหัวใจของระบบ ได้ลำโพงที่ลงตัวทั้งในแง่วิศกรรม และมุมมองด้านการออกแบบ
ระบบลำโพง Everest ประสบความสำเร็จในทันทีทันใด วารสาร Stereo Sound มอบรางวัล “Product of the Year” ในปี 1985 ให้กับทาง JBL ลำโพงรุ่นนี้ผลิตออกมาเท่าไหร่ก็ไม่ทราบแน่ัชัด โดยประมาณก็น่าจะราวๆ 500 คู่ ระบบลำโพงนี้ดำเนินการผลิตต่อเนื่องมาจนกระทั่งที่การเปิดตัว K2 ในปี 1989 แต่ก็ยังสามารถเป็นเจ้าของลำโพง Everest โดยการสั่งผลิตพิเศษที่ฝ่าย International Division ซึ่งมีลูกค้าหลักอยู่ที่ญี่ปุ่น

โปรเจ็คลำโพงตัวที่สี่
ระบบลำโพง K2-S9500 ตามมาในระยะเวลาไม่นานนั้นถ้าเทียบกับระยะเวลาการเกิดขึ้นของการพัฒนาระบบ ลำโพงใหม่ๆ ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงความล้มเหลวทางเทคนิค และการตลาดแต่ประการใด แต่กลับพบว่าระบบลำโพง Everest ประสบความสำเร็จทั้งในแง่ทางเทคนิค และการตลาด หากทีมบริหารของ JBL ต้องการเร่งการเสริมภาพลักษณ์ของบริษัทในทันทีที่  Everest ถูกยกให้เป็นลำโพงที่มีมาตรฐานสูง
การดำเนิินงานพัฒนา K2-S9500 เริ่มต้นในปี 1989 และอาศัยพื้นฐานการออกแบบจากแนวคิดของ Bruce Scrogin อีกครั้ง แนวคิดนี้เป็นระบบลำโพงสองทางที่ใช้วูฟเฟอร์สองตัววางในแนวตั้งประกบฮอร์น ความถี่สูงบนล่าง เป็นแนวทางการจัดวางไดร์เวอร์แบบสมมาตรที่ออกแบบให้เกิดจุดกำเนิดเสียงร่วม เพียงจุดเดียว ที่เป็นจุดเด่นจริงๆของ K2-S9500 ก็คือทรานสดิวเซอร์ JBL ทราบเป็นอย่างดีว่าคุณภาพขอทรานสดิวเซอร์แต่ละตัวของ JBL ล้วนแฝงตำนานความเป็นมาจากผู้ก่อตั้งบริษัท James B. Lansing ระบบลำโพง K2-S9500 จึงต้องการเป็นโชว์เคสของวิศวกรรมทรานสดิวเซอร์สำหรับ JBL ซึ่งใช้ไดร์เวอร์ที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับลำโพงรุ่นนี้ และเืพื่อสำแดงถึงความเป็นสเตต-ออฟ-ธิ-อาร์ตของ JBL
ไดร์วเวอร์ที่ใช้ในระบบลำโพงนี้ประกอบไปด้วยไดร์เวอร์เบสส์ขนาด 14″ และคอมเพรสชันไดร์เวอร์ขนาดไดอะแฟรม 4″ ซึ่งเป็นทรานสดิวเซอร์ที่ใ้ช้ในลำโพงคอมเมอร์เชียลตัวแรกที่ใช้แม่เหล็กนีโอ ไดเมียมทั้งคอมเพรสชันไดร์เวอร์ และวูฟเฟอร์ แม่เหล็กนีโอไดเมียท (Neodymium เป็นชื่อเรียกสั้นๆของ  Neodymium-iron-boron) เป็นแม่เหล็กที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เริ่มมีการประยุกต์ใช้งานในกลางยุค 1980s จุดเด่นของแม่เหล็กชนิดนี้คือให้เส้นแรงแม่เหล็กสูงเมื่อเทียบกับน้ำหนัก และสูงกว่าแม่เหล็กถาวรที่สร้างด้วยวัสดุอื่นๆ มีความแรงมากกว่าสี่เท่าถ้าเทียบกับแม่เหล็กอัลนิโก และมากกว่าสิบเท่าถ้าเทียบกับแม่เหล็กเฟอร์ไรต์ แต่แม่เหล็กชนิดนี้ก็มีข้อด้อยคือถ้าเจอกับความร้อนแม่เหล็กนีโอไดเมียมจะมี ความเป็นแม่เหล็กเสื่อมเร็วแม่เหล็กอัลนิโก หรือเฟอร์ไรต์ และมีปัญหาเรื่องการผุกร่อนได้ง่าย
ปัญหาการผุกร่อนแก้ไขได้โดยการหุ้มแม่เหล็กด้วยนิเกิล เหลือเพียงปัญหาเรื่องการทนทานต่อความร้อนที่สร้างความท้าทายให้กับงานพัฒนา โดยเฉพาะการนำไปใช้งานกับไดร์เวอร์เบสส์กำลังสูงๆ Doug Button วิศวกรทรานสดิวเซอร์(ปัจจุบันเป็น Vice President of Research and Development ของ JBL Professional) รับความท้าทายนี้ในการพัฒนาไดร์เวอร์ความถี่ต่ำตัวใหม่นี้ เขาเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี Vented Gap Cooling® ของ JBL และได้ปรับมาใช้กับไดร์เวอร์รุ่นใหม่ 1400nd เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อน ทำให้ไดร์เวอร์สามารถทำงานที่อุณหภูมิสูงกว่าระดับที่วัสดุแม่แหล็กจะรับได้ แม้จะอัดกำลังต่อเนื่องสูงถึง 600 watts ก็ตาม

ไดร์เวอร์รุ่น 1400nd มีเอกลักษณ์เฉพาะโดย Button ออกแบบให้รับแรงกระพือได้สูง วางวอยซ์คอยล์จมลงในช่องมากกว่าปกติ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่ากการจัดตำแหน่งวอยซ์คอยล์แบบนี้เป็นการออกแบบที่ มีึความเป็นเชิงเส้นที่สุด เนื่องจากวอยซ์คอลย์ได้รับเส้นแรงแม่เหล็กที่มีความเข้มต่อเนื่องตลอดเวลา ที่วอยซ์คอยล์เคลื่อนตัว ในอดีตที่ผ่านมาไดร์เวอร์ส่วนมากจะมีข้อจำกัดด้านความลึกของคอยล์ และเคลื่อนที่ได้ไม่มาก ซึ่งทำให้รับกำลังได้น้อย และให้ระดับเสียงเอาต์พุตไม่มาก ปัญหานี้แก้ไขโดยออกแบบให้แก๊ปมีความลึกขึ้นซึ่งต้องอาศัยแกนขั้วแม่เหล็ก ที่มีความยาว ปัญหาคือเส้นแรงแม่เหล็กที่ผ่านแกนยาวๆจะมีความแรงไม่สม่ำเสมอ นวัตกรรมของ Button ใช้การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เพื่อจัดรูปทรงเรขาคณิตให้สามารถส่งผ่านสนาม แม่เหล็กผ่านแกนขั้วแม่เหล็ก และใช้แม่เหล็กแบบนีโอไดเมียมพลังสูง ทำให้แม่เหล็กมีขนาดเล็กและเกิดเส้นแรงแม่เหล็กสม่ำเสมอในโครงสร้างแม่เหล็ก

ผลลัพธ์ของการออกแบบทำให้ให้มีแก๊ปที่มีความลึกมากกว่าไดร์เวอร์ของ JBL ซีรีย์ LE15 ถึงสองเท่า แต่ก็เลือกให้มีความลึกของแก๊ปที่เหมาะสำหรับกับน้ำหนักของไดร์เวอร์ โดยไดร์เวอร์รุ่นนี้มีน้ำหนักราวๆครึ่งหนึ่งของไดร์เวอร์ 15″ รุ่นอื่นๆจอง JBL ที่มีความแรงของเส้นแรงแม่เหล็กเท่าๆกันไดร์เวอร์รุ่น 1400nd จึงมีขนาดกระทัดรัด, รับแรงสั่นกระพือได้สู , เป็นไดร์เวอร์ที่มีความเป็นเชิงเส้นสูง ให้ไดนามิคเรนจ์ และความแม่นยำได้ดี

Fancher Murray รับหน้าที่พัฒนาคอมเพรสชันไดร์เวอร์ตัวใหม่นี้ ใช้ไดอะแฟรม 4″ และมีช่องคอ 2″ พัฒนาต่อยอดมาจากรุ่น 375 ซึ่งไดร์เวอร์ตัวใหม่ใช้ชื่อรุ่นว่า 475nd ต่างไปจากต้นขั้วของมัน ดังเช่นรุ่น 1400nd มันถูกออกแบบใหม่หมดบนกระดาษขาวสะอาดเพื่อให้เป็นคอมเพรสชันไดร์เวอร์ที่ใช้ แม่เหล็กแบบนีโอไดเดมียม เอกลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นของไดร์เวอร์รุ่นนี้คือเป็นการใช้เฟสปลั๊กแบบ Coherent Wave ของ JBL เป็นครั้งแรก เฟสปลั๊กแบบนี้มีรูปร่างทางเรขาคณิตเป็นผิวโค้งซ้อนกันเป็นชั้นๆ ความยาวเกือบจะเท่าเฟสปลั้กรุ่นก่อนที่กับคอมเพรสชันไดร์เวอร์อย่างเช่นรุ่น 375 ใช้ไดอะแฟรมเป็นไตตาเนียมที่พัฒนาวิธีเคลือบบางเรียกว่า Aquaplas สามารถแดมป์การเรโซแนนซ์ได้ดี เป็นผลให้ได้ไดร์เวอร์ที่ให้เสียงที่ราบเรียบต่อเนื่อง การตอบสนองความถี่สูงทอดยาวขึ้น และมีความเพี้ยนต่ำ
ดังเช่นการพัฒนา Everest ผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบภาพรวมระบบ และออกแบบเน็ตเวิร์คก็คือ Greg Timbers ซี่งได้เพิ่มฮอร์นแบบ Bi-Radial® ที่ออกแบบพิเศษ Timbers ใช้การออกแบบเน็ตเิวิร์คแบบ Bessel เพื่อปรับให้ไดร์เวอร์ความถี่ต่ำเกิดการเลื่อนเฟสน้อยที่สุด เพื่อให้ผลการตอบสนองแบบเฉียบพลันได้ดีขึ้น ด้านทั้งสิบของตู้ลำโพงถูกออกแบบให้เกิดสแตนดิงเวฟจากไดร์เวอร์ความถี่ต่ำ น้อยที่สุด ตัวตู้ถูกสร้างขึ้นจากไม้แบบ medium density fiberboard (MDF) อัดซ้อนกันเป็นชั้นๆคั่นด้วยโฟมเพื่อให้ตัวตู้แน่นหนา และไม่มีการเรโซแนนซ์

งานออกแบบอุตสาหกรรมเป็นหน้าที่ของ Brian Lusty ดำรงตำแหน่ง Product Development Manager ใน JBL International โดนมี Dan Ashcraft เป็นที่ปรึกษา ซึ่ง Ashcraft ได้พัฒนาธีมรวมของระบบลำโพงที่มีสถาัปัตยกรรมพื้นฐานจาก K2-S9500—ระบบลำโพงเป็นองค์ีรวมของส่วนประกอบทั้งหมด ใช้แนวทางการออกแบบตู้แบบลำโพง Everest โดย K2-S9500 มีการแยกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนทำงานร่วมกันเป็นหน่วยอะคูสติคหนึ่งเดียวกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงลักษณ์ของการพัฒนาทรานสดิวเซอร์ระดับสเตต-ออฟ-ธิ-อาร์ต ด้วยเหตุนี้ Ashcraft จึงเน้นมุมมองให้เห็นไดร์เวอร์แต่ละตัวอย่างชัดเจน
การวางธีมแบบองค์ประกอบย่อยนี้ทำให้ลำโพง K2-S9500 ถูกแยกย่อยออกเป็นลำโพงสี่ระบบย่อย เบสส์ไดร์เวอร์แต่ละตัวจะติดตั้งลงตู้ลำโพงแยกกัน โดยมีฮอร์นขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์สร้างจากอครีลิคเป็นตัวคั่นระหว่างตู้ลำโพง เบสส์สองตู้ ท้ายสุดทั้งระบบถูกตรึงลงฐานคอนกรีตแน่นหนา แรงบันดาลใจนี้มาจากการเฝ้าสังเกตุว่านักเล่นเครื่องเสียงในญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จะยกระดับลำโพงให้อยู่ระดับหูโดยใช้อิฐบล๊อกรองลำโพง

เหมือนดังเช่นโปรเจ็คลำโพงก่อนหน้าที่ออกแบบเสร็จสิ้น K2 ก็ได้เปิดตัวระบบลำโพงในทันทีโดยมีสองรุ่น เนื่องจากแนวคิดดั้งเดิมของ K2-S9500 ถูกแยกออกเป็นส่วนๆได้ ทำให้สามารถพัฒนาให้มีเวอร์ชันที่ลดขนาดและราคาลงโดยตัดตู้เบสส์ออกตัวหนึ่ง กลายเป็นที่มาของรุ่นเล็ก K2-S7500 ทั้งสองรุ่นเปิดตัวกับสื่อมวลชลและนักเขียนรีวิวในปี 1989 ในปีนั้นเอง K2-S9500 ก็ได้รับรางวัล Component of the Year (COTY) จากวารสาร Stereo Sound ลำโพงรุ่นนี้เริ่มเดินสายการผลิตในปี 1990 และประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด แม้ว่าราคาสูงกว่า $30,000/คู่ แต่รุ่นเล็กอย่าง K2-S7500 กลับไม่ได้รับการตอบรับทางการตลาดได้ดีนัก เนื่องจากราคาของทั้งสองรุ่นใกล้เคียงกันมาก ทำให้คนที่จะตัดสินใจซื้อ K2-S7500 ยอมจ่ายเพิ่มอีกนิดเพื่อได้รุ่นเรือธงอย่าง K2-S9500 ทำให้รุ่น K2-S7500 จำหน่ายได้ไม่มากนัก และหยุดการผลิตต่อไม่ในไ่ม่กี่ปี

JBL อาศัยความสำเร็จของ K2-S9500 ก็ได้เริ่มพัฒนาลำโพงในซีรีย์นี้ต่อโดยใช้ K2 เป็นชื่อของระบบลำโพงแบบนี้ โดยรุ่นแรกที่พัฒนาตามออกมาคือ K2-S5500 ในปี 1993 ใช้ไดร์เวอร์เบสส์ 12″ สองตัว และคอมเพรสชันไดร์เวอร์ขนาดเล็ก จัดรูปแบบลำโพงเหมือนกับ K2-S9500 ใช้ระบบครอสส์โอเวอร์ชั้นนำที่ถูกออกแบบโดย Greg Timbers ที่มีชื่อเรียกว่า “Charge-Coupled Linear Definition Dividing Network.” แนวคิดครอสส์โอเวอร์แบบนี้อาศัยการไบอััสแรงดันในครอสส์โอเวอร์เน็ตเวิร์ค เพื่อควบคุมสัญญาณเสียงให้วิ่งผ่านตัวเก็บประจุ ทำให้เป็นเน็ตเวิร์คที่มีความเป็นเชิงเส้นสูง และให้คุณภาพเสียงดีขึ้น มักถูกใช้งานในการออกแบบครอสส์โอเวอร์สำหรับลำโพงไฮเอ็นด์ของ JBL

ลำโพงรุ่น K2-S5500 เปิดตัวตู้ลำโพงรูปแบบใหม่ที่ใช้ชื่อว่า “Imaginary Equivalent Tuning” (IET) เป็นการผสมผสานระหว่างการปรับแต่งเน็ตเวิร์คแบบ Bessel ที่ให้การตอบสนองเฉียบพลันได้ดี และการปรับแต่งแบบ Butterworth ที่ให้การตอบสนองได้กว้าง Greg Timbers พัฒนาแรนวการออกแบบนี้บนพื้นฐานที่ว่าตู้เบสส์ทั้งคู่มีขนาดไม่เท่ากัน ระหว่างตู้ด้านบนและด้านล่างฮอร์นเสียงแหลม ไดร์เวอร์ และพอร์ตของทั้งสองตู้ถูกปรับให้มีความถี่ต่างกัน การรวมพลังงานจากต้นกำเนิดเสียงทั้งสี่เข้าด้วยกันจะให้เสียงมีความลึก การตอบสนองกว้างกว่า และมีการตอบสนองแบบเฉียบพลันได้ดี

เทคโนโลยีทั้งสองประการที่ใช้ในการออกแบบ K2-S9500 ก็นำไปพัฒนา M9500 ในปี 1993 โดย M9500 ใช้องค์ประกอบเดียวกันแต่มีขนาดใหญ่กว่า และตู้สไตล์อินดัสเทรียล ใช้ตู้แบบ IET สามารถให้เสียงเบสส์ได้ลึกกว่า และเบสส์เป็นเชิงเส้นกว่าุ K2-S9500 ถ้าใช้งานในห้องจะให้ผลการสนองราบเรียบลงไปถึง 25 Hz ระบบลำโพงรุ่นตั้งใจจะพัฒนาสำหรับใช้งานเป็นมอนิเตอร์ระดับโปรฯ และสามารถพบเห็นการใช้งานในบางสตูดิโอ M9500 เป็นลำโพงสำหรับอ้างอิงได้ดีมาก แต่เสียงตรงขนาดใหญ่โตมาก และใช้งานได้จำกัด ทำให้ M9500 กลับประสบความสำเร็จในตลาดคอนซูเมอร์มากกว่า และได้รับรางวัล COTY จากวารสาร Stereo Sound ในปี 1993

ยุค 1990s ยุคแห่งการแข่งขันของลำโพงบ้าน

ในยุก 1990s พบว่ามีการพัฒนาลำโพงบ้านเป็นจำนวนมาก ลำโพงในซีรีย์ XPL ก็ถูกเปิดตัวด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมสองประการ ประการแรกสุดเป็นการเปิดตัวไดร์เวอร์มิดเรนจ์รุ่น 093Ti ที่ใช้โดยไตตาเนียมขนาด 3″ เป็นไดร์เวอร์กระจายเสียงแนวตรง สามารถทำงานในแบนด์วิดธ์ของมันโดยไม่มีการบิดตัว และเป็นไดร์เวอร์ที่มีความเที่ยงตรงสูงมาก รูปร่างทางเรขาคณิตเป็นทรงโดมกว้าง มีลายแพ็ทเทิร์นทั่วโดม ให้มุมการรับฟังเสียงกว้างให้เสียงดีแม้ไม่อยู่ในแนวแกน
นวัตกรรมประการที่สองคือใช้แปงหน้าที่ผสมผสานกันด้วยไม้หุ้มด้วยยางผสมที่ แข็งแรง ทำให้สามารถขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ให้มีขอบเอียง และมีการจัดลำดับขั้นเพื่อปรับการเหลื่อมของเวลาของไดร์เวอร์แต่ละตัว และป้องกันการสะท้อนเสียงของไดร์เวอร์
ลำโพงซีรีย์ XPL ได้นำเสนอถึงความเป็นผู้นำด้านเทคนิคชั้นสูงของลำโพง JBL ซึ่งเป็นลำโพงตระกูลที่พัฒนาให้ครอบคลุมกับทุกส่วนของตลาด กระนั้นลำโพงในซีรีย์นี้กลับไม่ประสบความสำเร็จมากนักอย่างที่หวัง ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเงื่อนไขของตลาดเป็นผลให้ลำโพงซีรีย์นี้ยุติลงในปี 1992 คงอยู่เพียงในมือนักสะสมงานออกแบบของ Greg Timbers โดนนักสะสมให้ความเห็นไว้ว่า กระทั่งทุกวันนี้เองยังหาลำโพงซีรีย์ XPL ยากมาก ราคาในตลาดนักสะสมของลำโพงซีรีย์นี่สูงกว่าลำโพงรุ่นอื่นๆที่ผลิตโดย JBL ในรอบสามสิบปีเลยทีเดียว

นัยถัดมาของลำโพงบ้านที่เปิดตัวโดย JBL ก็คือลำโพงซีรีย์ Signature ในปี 1995 ประกอบไปด้วยรุ่น S3100 และ S2600 ทั้งสองรุ่นเ็ป็นการประยุกต์ใ้้ช้แนวคิดของฮอร์นแบบไม่สมมาตรดังเช่น Everest แต่เป็นลำโพงแบบสองทางใช้ฮอร์นรุ่นเล็กกว่าฮอร์นที่ใช้ใน horn นั่นคือรุ่น H2600 ทำงานร่วมกับคอมเพรสชันไดร์เวอร์ 2426H ทั้งสองรุ่นเป็นระบบลำโพงที่แตกกันกันในเรื่องขนาดของตัวตู้และขนาดของ ไดร์เวอร์เบสส์ที่ใช้ รุ่น S3100 ขนาดใหญ่กว่าใช้ไดร์เวอร์รุ่น ME150HS ขนาด 15″ ส่วนรุ่น S2600 ใช้ไดร์เวอร์รุ่น ME120HS
ไดร์เวอร์เบสส์รุ่น ME150HS เป็นจุดเด่นสำคัญของระบบลำโพงซีรีย์นี้ เนื่องจากเป็นการนำเอาเทคโนโลยีมอเตอร์ SVG ของ JBL มาประยุกต์ใช้งานในลำโพงบ้านเป็นครั้งแรก เป็นผลให้ไดนามิคของเสียงเหนือกว่าลำโพงบ้านของ JBL รุ่นอื่นๆ

ในปี 1996 ถือเป็นปีที่ครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้ง JBL และได้เปิดตัวลำโพงที่สำคัญสองรุ่นด้วยกันนั่นคือ— Century Gold และ 4344MKII ลำโพงรุ่น Century Gold ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อฉลองการครบรอบของ JBL เป็นลำโพงวางหิ้งที่มีคุณภาพสูงสุดเท่าที่เคยสร้างมา เป็นลำโพงที่ได้ััรับแรงบันดาลใจมาจากตำนานของ L100 Century พัฒนาเป็นลำโพงสามทางคล้ายๆกันโดยประกอบไปด้วยเบสส์ไดร์เวอร์ 12″, มิดเรนจ์ 5″ และทวีตเตอร์ 1″

ส่วนประกอบแต่ละชิ้นถูกออกแบบมาเพื่อเน้นให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของภาพรวม ระบบ ไดร์เวอร์ความถี่ต่ำใช้เทคโนยี VGC ของ JBL ที่ให้ผลการตอบสนองของเสียงเบสส์อย่างเกินคาดหมาย มิดเรนจ์ไดร์เวอร์เป็นไดอะเฟรมเคฟลาร์ตัวแรกของ JBL ซึ่งมีคุณสมบัติด้านการแดมป์ดีเยี่ยม และความเพี้ยนต่ำมาก ทวีตเตอร์เป็นโดมไตตาเนียมชุบทองให้ผลการตอบสนองราบเรียบ และกระจายเสียงได้กว้าง Greg Timbers เป็นผู้ออกแบบระบบ และเน็ตเวิร์คโดยใช้โทโปโลยี charge-coupled ที่เขาคิดค้นมาเพื่อใช้กับ K2-S5500
ระบบลำโพง Century Gold ได้รับการตอบรับจากทั้งสื่อมวลชล และตลาด เนื่องจากเป็นรุ่นที่ผลิตมาจำกัด และเพื่อฉลองครบรอบเท่านั้น ทำให้เป็นที่ต้องการของนักสะสมมาก

มอนิเตอร์ 4344MKII เป็นการปรับปรุงใหม่ของมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ยอดนิยมที่สุดเท่าที่ JBL เคยสร้างมา เดิมที 4344 ได้หยุดผลิตไปมากกว่าสิบปี แต่เป็นลำโพงรุ่นที่ยังคงอยู่ในความสนใจของนักเล่น โดยเฉพาะในญี่ปุ่นความต้องการของลำโพงรุ่นนี้ยังมีมาก และยังคักคักต่อเนื่องในตลาดมือสอง แม้ว่าจะเป็นลำโพงที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานเป็นมอนิเตอร์ระดับโปรฯ แต่กลับพบว่าถูกนำไปใช้งานเป็นลำโพงบ้านในตลาดแถบเอเชียมากกว่าการใช้งาน จริงๆในตลาดโปรฯเสียอีก การปรับปรุงไปสู่รุ่น 4344MKII ถูกออกแบบใหม่โดยฝ่ายคอนซูเมอร์ของ JBL ทีเน้นไปที่ตลาดลำโพงบ้าน แต่ยังรักษารูปแบบของมอนิเตอร์โปรฯไว้อยู่ นวัตกรรมที่เหนือกว่ารูปแบบนั่นคือไดร์เวอร์ที่นำมาใช้ รุ่น 4344MKII เปลี่ยนมาใช้เบสส์ไดร์เวอร์รุ่น ME150HS จากเดิมที่ถูกออกแบบให้ใช้รุ่น S3100 ส่วนคอมเพรสชันไดร์เวอร์เป็นแบบนีโอไดเมียมรุ่น 275nd ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับ K2-S5500 โดย Greg Timbers พัฒนาเน็ตเวิร์คแบบ charge-coupled มาเฉพาะ เมื่อทำงานกับไดร์เวอร์ทั้งสี่ตัวให้้ผลการตอบสนองที่ยอดเยี่ยมในระดับสุด ยอดของลำโพง JBL ทั้งในความแม่นยำและไดนามิค เป็นผลให้ลำโพงรุ่นนี้ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลายโดยเฉพาะในตลาดเอเชีย และผลิตต่อเนื่อไปอีก 8 ปีจนกระทั่งถูกแทนที่โดย 4348 ในปี 2003

ปิดท้ายในทศวรรตด้วยการเปิดตัวลำโพง JBL ในซีรีย์ SVA เป็นลำโพงที่ใช้ฮอร์น-โหลดร่วมกับไดร์เวอร์แบบโดม ทุกรุ่นในซีรีย์นี้เป็นลำโพงสองทางเหมือนกับ K2-S9500 นั่นคือใช้วูฟเฟอร์สองตัวประกบฮอร์นความถี่สูง รุ่นใหญ่สุดคือ SVA2100 ใ้ช้ไดร์เวอร์ขนาด 10″ สองตัวลงตู้ร่วมกัน และฮอร์นแบบ Bi-Radial® ร่วมกับไดร์เวอร์แบบโดมขนาด 1″ ลูกหลานของระบบลำโพง SVA ยังคงอยู่ในสายการผลิตในระบบลำโพงโฮมเธียร์เตอร์ของ JBL

หมายเหตุผู้แปล
จะพบว่างานออกแบบเน็ตเวิร์คของ Greg Timbers จะใ้ช้โทโปโลยีแบบ charge-coupled คือจะมีไฟ DC ไบอัสเน็ตเวิร์คด้วย ถ้าใครใช้ลำโพงรุ่นที่มีการใช้เน็ตเวิร์แบบนี้ลองเช็คว่าแบตมันหมดหรือยัง ที่ใส่แบตฯจะอยู่แถวขั้วต่อลำโพงครับ ถ้าอยากศึกษาแนวทางลองดูวงจรของ 4345 เป็นแนวครับ

ต้นแบบของ XPL250
ภายหลังจากที่การยุติของสายผลิตภัณฑ์ XPL ยังคงมีการพัฒนาลำโพงไฮเอ็นด์ที่เป็นลูกผสมทางเทคโนโลยีระหว่างลำโพงซีรีย์ XPL และลำโพง 250Ti งานพัฒนาลำโพงรุ่นนี้ดำเนินมาถึงการสร้างต้นแบบ และจบลงด้วยการยกเลิกโครงการ ระบบที่พัฒนานี้ใช้ชื่อว่า XPL250 และใช้การจัดวางลำโพงคล้ายๆกับ  250Ti ที่ตางกันคือเปลี่ยนมิดเรนจ์จาก 104-H ไปเป็นมิดเรนจ์ 093Ti ตัวตู้สร้างขึ้นจากไม้ และยางผสม และพัฒนาเน็ตเวิร์คขึ้นมาใหม่
มีต้นแบบที่ใช้งานได้จริงอยู่สามคู่ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี  1994 เมื่อถูกพับโครงการเนื่องด้วยการตัดสินใจด้านการตลาด จึงมีหลงเหลือเพียงหนึ่งคู่ที่ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ โดยอยู่ในครอบครองของนักออกแบบระบบ Greg Timbers เขาและวิศวกรหลายคนได้ใส่แนวคิดหลายอย่างลงไปใน 250 คู่นี้ แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ถูกนำไปผลิตจริงๆ

โปรเจ็คลำโพงตัวที่ห้า

การเริ่มงานพัฒนา K2-S9800 เริ่มต้นในปี 1999 ภายใต้การนำของ Greg Timbers และใช้ชื่อในการพัฒนาว่า “M1 Millennium.” มีความหมายว่าเป็นจุดเปลี่ยนในรอบร้อยปี (ผู้แปล: กำลังจะขึ้นปี 2000) จึงได้พัฒนาลำโพง JBL ระดับสเตต-ออฟ-ธิ-อาร์ต เ่พื่อร่วมฉลองการขึ้นศตวรรษใหม่ แต่มันก็ไม่ได้ตั้งเป้าถึงวันเิปิดตัว ทำให้ลำโพงรุ่นนี้พัฒนาล่าช้ากว่าจะเปิดตัวได้จริงๆก็ปาไปฤดูใบไม้ร่วงปี 2001 แต่ก็เป็นบรรลุเป้าหมายทางวิศวกรรมในการสร้างลำโพงระดับไฮเอ็นด์ที่ไม่เคย พัฒนามาก่อนโดย JBP สำหรับการใช้ในบ้าน
ดังเช่นโปรเจ็คลำโพงก่อนหน้านั้นหัวใจของแนวคิดในการพัฒนา K2-S9800 คือไดร์เวอร์ที่มีประสิทธิภาพ แต่ครั้งนี้ค่อนข้างจะแตกต่างจากเดิมเพราะไดร์เวอร์ขนาด 15″ รุ่น 1500AL ซึ่งกลับไปใช้แม่เหล็กอัลนิโกเหมือนครั้งแรกเมื่อกว่ายี่สิบปีก่อน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นของบทความว่า JBL ทุ่มเทงานทางวิศวกรรมอย่างมากในการพัฒนาไดร์เวอร์แบบเฟอร์ไรต์ให้เทียบเท่า กับรุ่นอัลนิโก จนกระทั่งสามารถข้ามข้อจำกัดของแ่ม่เหล็กเฟอร์ไรต์ได้ ทีนี่ก็เกิดคำถามที่น่าสนใจว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้า JBL ทุ่มเทงานทางวิศวกรรฒในระดับเดียวกันในการพัฒนาไดร์เวอร์โดยอาศัยจุดเด่นของ แม่เหล็กอััลนิโก? ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประสิทธิภาพ, ความทนทานต่อความร้อน และความสม่ำเสมอของเส้นแรงแม่เหล็กจากแม่เหล็กอัลนิโกเหนือจากวัสดุแม่เหล็ก ประเภทอื่นๆ คำตอบของคำถามนี้เป็นที่มาของเบสส์ไดร์เวอร์ที่คุณภาพเยี่ยมทีุ่สุดเท่าที่ JBL เคยสร้างมา และ่น่าจะเหนือกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆด้วย–นั่นคือไดร์เวอร์รุ่น 1500AL

แนวคิดของไดร์เวอร์รุ่น 1500AL ถูกพัฒนาโดยเริ่มจาก Doug Button, และจบงานออกแบบโดย Jerry Moro จุดเิริ่มต้อนของ Button มุ่งไปที่จุดอ่อนที่สุดของลำโพงที่ใช้แม่เหล็กแบบอัลนิโก—คือสนามแม่เหล็กจะ ลดความแรงลงเมื่อใช้กำลังขับสูงๆ ซึ่งเกิดจากความแรงของสนามแม่เหล็กถูกหักล้างโดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของวอยซ์ คอยล์ ซึ่งเรียกว่า flux modulation และทำให้เกิดความเพี้ยนย่านเสียงกลางซึ่งเกิดขึ้นได้กับลำโพงไดนามิคทุกตัว สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากคอยล์
Doug Button ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ำทำให้ฟลักซ์มีเสถียรภาพในครั้งที่พัฒนาไดร์เวอร์แบบ แม่เหล็กเฟอร์ไรต์ จึงสามารถประยุกต์ในการควบคุมการเกิดฟลักซ์มอดูเลตชันในไดร์เวอร์แบบแม่ เหล็กอัลนิโกได้สำเร็จ เขาใช้วงแหวนทองแดงขนาดใหญ่เป็นตัวป้องกันสนามแม่เหล็กที่มาจากวอยซ์คอยล์ ทำให้จุดอ่อนของลำโพงแบบแม่เหล็กอัลนิโกถูกแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์แบบ

เช่นเดียวกับงานออกแบบเก่าของเขาในรุ่น 1400nd ซึ่ง Button เลือกใช้คอลย์ขนาดใหญ่ และติดตั้งลงลึกในช่องแก๊ป ที่ต่างออกไปในรุ่น 1500AL คือคอยล์จะใหญ่กว่า และช่องแก๊ปมีความลึกเป็นสองเท่าของ 1400nd เป็นงานออกแบบโดดเด่นค่อนข้างแหกกฏไปสักหน่อย การใช้ช่องแก็ปที่มีความลึกมากขนาดนั้นมีผลให้ที่ผลการตอบสนองย่านเสียงกลาง หลายไปราวๆ 2-dB ซึ่งสามารถชดเชยโดยใช้วงจรเน็ตเวิร์ค
หลังจากองค์ประกอบของแนวคิดการออกแบบของ 1500AL เข้าที่เข้าทางก็เป็นหน้าที่ของวิศวกรทรานสดิวเซอร์อาวุโส Jerry Moro จาก JBL Consumer Products ทำหน้าที่ในการพัฒนาไดร์เวอร์สำหรับการผลิต เขากำหนดคุณสมบัติในความสามารถรับการกระพือได้สูงสุดมากกว่า 1″ จุดสุดสเกลเครื่องมือวัดที่จะสามารถวัดได้ ทำให้ได้ช่องแก็ปที่มีความลึกมากกว่า 1.6″ โดนมีำระยะติดตั้งคอยล์ลึก 0.8″ พลังงานแม่เหล็กต้องมีความเข้มสูงจึงจะสามารถใ้ช้งานกับช่องแก๊ปที่ลึกขนาด นี้ หนึ่งเดียวที่ให้ได้ก็คือแม่เหล็กอัลนิโกที่แรงเป็นพิเศษ โดยใช้วัสดุอัลนิโกที่มีน้ำหนักมากกว่า 5 ปอนด์เป็นแกนหลักของโครงสร้างแม่เหล็ก และโครงสร้างโดยรวมหนักถึง 30 ปอนด์

หลังจากองค์ประกอบของแนวคิดการออกแบบของ 1500AL เข้าที่เข้าทางก็เป็นหน้าที่ของวิศวกรทรานสดิวเซอร์อาวุโส Jerry Moro จาก JBL Consumer Products ทำหน้าที่ในการพัฒนาไดร์เวอร์สำหรับการผลิต เขากำหนดคุณสมบัติในความสามารถรับการกระพือได้สูงสุดมากกว่า 1″ จุดสุดสเกลเครื่องมือวัดที่จะสามารถวัดได้ ทำให้ได้ช่องแก็ปที่มีความลึกมากกว่า 1.6″ โดนมีำระยะติดตั้งคอยล์ลึก 0.8″ พลังงานแม่เหล็กต้องมีความเข้มสูงจึงจะสามารถใ้ช้งานกับช่องแก๊ปที่ลึกขนาด นี้ หนึ่งเดียวที่ให้ได้ก็คือแม่เหล็กอัลนิโกที่แรงเป็นพิเศษ โดยใช้วัสดุอัลนิโกที่มีน้ำหนักมากกว่า 5 ปอนด์เป็นแกนหลักของโครงสร้างแม่เหล็ก และโครงสร้างโดยรวมหนักถึง 30 ปอนด์

เพื่อให้รับการแรงกระพือมากๆต้องใ้ช้ซัสเพนชันที่ออกแบบมาเฉพาะ ปกติจะออกแบบให้ขอบลำโพง และสไปเดอร์จะถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกัน ในการหยุดแรงกระพือ และแดมป์การเคลื่อนที่ของกรวย เมื่อต้องการให้รับแรงกระพือมากๆ ต้องใช้การออกแบบต่างกันออกไประหว่างขอบลำโพง และสไปเดอร์ หากใช้แบบปกติจะเป็นผลให้เกิดแรงต้านที่ไม่สมมาตรกันทำให้ผลการตอบสนองแย่ ลอง และเกิดความเพี้ยน Moro แก้ปัญหานี้โดยออกแบบให้ใช้สไปเดอร์คู่ที่สมมาตรกัน ทำให้ขอบลำโพงทำงานเป็นเิชิงเส้นขึ้น ด้วยโครงสร้างแบบนี้ทำให้ความเพี้ยนของเสียงทั้งหมดถูกแ้้ก้ไขลง
นอกจาก Moro จะมุ่นเน่นงานออกแบบ 1500AL ให้อัดความเป็นฮอลล์มาร์คของ JBL ]งไปแล้ว เขายังได้ปรับใช้เทคโนโลยี VCG ของ JBL โดยติดตั้งลงไปในโครงสร้างลำโพงนี้ด้วย มีแอร์แทร็ปด้านหลังดัสแค๊ปทำหน้าที่ผลักอากาศเข้าไปในคอลย์ เพื่อทำให้คอยล์มีความร้อนลดลง และมีการใส่แค็ปอลูมิเนียมลงในโครงสร้างมอเตอร์ เพื่อป้องการสนามแม่เหล็กตีกลับเข้าำไปในโครงสร้าง ด้านหลังออกแบบให้มีช่องอากาศที่อาศัยการเคลื่อนของสไปเดอร์ในการปั๊มอากาศ ให้ผ่านช่องแก๊ปเพือระบายความร้อนออกจากฝาครอบเหล็ก และทำหน้าที่เป็นฮีตซิงค์ขนาดใหญ่อีกด้วย
ทำให้วูฟเฟอร์รุ่นนี้สามารถรับกำลังได้มากกว่าลำโพงอื่นๆในขนาดเดียวกัน โดยสามารถให้ระดับเอาต์พุตสูงถึง 118 dB โดยมีความเพี้ยนต่ำ การทดสอบที่ระดับเอาต์พุต 110 dB จะเกิดความเพี้ยนย่านเสียงกลางลดลง 50 dB หรือประมาณ 0.3%
มิดเรนจ์ไดร์เวอร์รุ่น 435Be พัฒนาขึ้นมาสำหรับ K2-S9800 ซึ่งเริ่มต้นจากศูนย์ เป็นคอมเพรสชันไดร์เวอร์ของ JBL ตัวแรกที่ให้การตอบสนองความถี่ได้กว้างโดยไม่เกิดการเสียหาย ใช้แนวคิดแบบไดอะแฟรมของลำโพงไดนามิคที่ทำงานเหมือนกับลูกสูบ โดยไดอะเฟรมทุกจุดเคลื่อนตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน อย่างไรก็ตามไดอะแฟรมก็มีความแข็งแีรงจำกัด เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็จะทำให้เกิดการสั่นค้างได้ ทำให้บางจุดของไดอะแฟรมเคลื่อนตัวแตกต่างกัน ภายใต้เงื่อนไขนี้ไดอะแฟรมอาจจะบิดตัวจนเสียหายได้ และเป็นที่มาของความเพี้ยน คอมเพรสชันไดร์เวอร์ที่ใช้ไดอะแฟรมเป็นอลูมิเนียม และไตตาเนียม ก็มีโอการที่จะเกิดการบิดตัวได้โดยเฉพาะไดอะแฟรมขนาดใหญ่ แม้ทรานสดิวเซอร์ที่มีขนาดเล็กเหมือนกับทวีตเตอร์ไดอะแฟรมอลูมิเนียม และไตตาเนียมก็ยังมีปัญหานี้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามไดอะแฟรมขนาด 4″ ของคอมเพรสชันไดร์เวอร์ทั้งอลูมิเนียมและไตตาเนียมจะเสียหายก็ต่อเมื่อทำงาน ต่ำกว่า 4000 Hz

ในปี 1999 มีคอมเพรสชันไดร์เวอร์ซีรีย์ใหม่ที่พัฒนาโดย Doug Button ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนาไปสู่รุ่น 435Be โดย Button ต้องการแก้ปัญหาทั้งด้านแบนด์วิดธ์ และการให้ระดับเอาต์พุตสูงโดยมีความเพี้ยนต่ำ เป็นเป้าหมายสำหรับการสร้างไดร์เวอร์ที่ไม่เกิดความเสียหายถ้าทำงานเกิด แบนด์วิดธ์จนเกิดการเรโซแนนซ์ วิธีแก้ปัญหาคือใช้วัสดุสร้างไดอะแฟรมที่แตกต่างออกไปนั่นคือ-เบอริเลียม ซึ่งไม่เคยมีการใช้เบอริเลียมในการสร้างคอมเพรสชันไดร์เวอร์มาก่อนจนกระทั่ง นำมาใช้สร้าง 435Be
เพื่อให้แน่ว่าไม่เกิดปัญหาการการบิดตัว Button จึงลดขนาดไดอะแฟรมลงมาเหลือ 3″ กลายมาเป็นไดอะแฟรมเบอริเลียมขนาดที่แน่ใจว่าความถี่ที่จะทำให้เกิดความเสีย หายได้อยู่สูงกว่า 15.5k Hz มีการเคลือบชั้นบางๆด้วย Aquaplas ตรงด้านหลังของwasไดอะเฟรมเพื่อแดมป์การเรโซแนนซ์ ทำให้ได้ไดอะเฟรมที่มีน้ำหนักเบาจนสามารถให้ช่วงการตอบสนองความถี่กว้างโดย ไม่เกิดการเรโซแนนซ์ มวลรวมในการเคลื่อนที่เท่ากับ 1 กรัม โดยตัวไดอะแฟรมมีน้ำหนักน้อยกว่า 0.5 กรัม หรือมีน้ำหนักน้อยกว่าวัสดุสร้างไดอะแฟรมก่อนหน้านี้สามเท่า
การเปลี่ยนวัสดุไปเป็นเบอริเลียมเพื่อแก้ปัญหาความเพี้ยน และเพิ่มการตอบสนองความถี่ กลับยังไ่ม่สอดรับการการใช้ระดับเอาต์พุตสูงขึ้น เนื่องจากรูปแบบของขอบไดอะเฟรมไม่ทนแรงบิดได้เหมือนไตตาเนียม Button แก้ไขปัญหานี้โดยสร้างนวัตกรรมใหม่โดยใช้การผสมผสานวัสดุอื่น เขาได้ใช้ Kapton เป็นต้วสร้างขอบไดอะเฟรมเพื่อป้องกันการบิดตัวจนเกิดความเสียหายได้ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้สำเร็จ
จุดที่แตกต่างอีกประการหนึ่งคือไดร์เวอร์รุ่นใหม่นี้ไม่มีช่องคอเหมือนกับ ไดร์เวอร์รุ่นเก่า เฟสปลั๊กตรงช่องเสียงทำให้ไดร์เวอร์ทำงานลงมาที่ 550 Hz แทนที่จะเหมือนกับคอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่นก่อนๆที่ลงมาได้ถึง 180 Hz เนื่องจากต้องการให้ผลการตอบสนองความถี่สูงของไดร์เวอร์มีประสิทธิภาพขึ้น

ทรานสดิวเซอร์ตัวที่สามที่ใช้ใน K2-S9800 ก็คือไดร์เวอร์ความถี่สูงรุ่น 045Be ก็เริ่มต้นจากศูนย์เช่นกัน ต้องการสร้างเป็นไดร์เวอร์ี่ตอบสนองความถี่ได้สูงๆ ให้ระดับเอาต์พุตสูง ความเพี้ยนต่ำ และมุมกระจายเสียงกว้าง โดยการพัฒนานี้สัมพันธ์กับสื่อบันทึกเสียงที่เปลี่ยนไป มีเดียเดิม (เช่นซีดี) จะมีข้อจำกัดความถี่สูงอยู่ราวๆ 20k Hz แต่ในสื่อบันทึกแบบรายละเอียดสูงจะมีข้อมูลเสียงที่มีความถี่สูงกว่า 50k Hz จึงตัดสินใจที่จะพัฒนาให้ K2-S9800 สามารถสร้างเสียงความถี่สูงได้ถึงระดับนี้ ซึ่งไม่มีใครจะสร้างลำโพงให้รับมือกับความถี่ได้สูงมากขนาดนี้โดยยังคงให้ ประสิทธิภาพสูง และให้ระดับเอาต์พุตได้สูง 045Be ถูกพัฒนาออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
การออกแบบ 045Be เป็นหน้าที่ของ Tim Prenta ดำรงตำแหน่ง Director of JBL Consumer Engineering ในการพัฒนาคอมเพรสชันไดร์เวอร์ให้ได้ทั้งระดับเอาต์พุตสูง แและประสิทธิภาพสูง แถมยังตอบสนองความถี่สูงมากๆ จึงต้องการไดอะแฟรมที่มีขนาดเล็กน้ำหนักเบามากๆ ดังเช่นไดร์เวอร์รุ่น 435Be, เบอริเรียมได้พิสูจน์ว่าเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สุด Prenta สร้างไดอะแฟรมขนาด 1″ น้ำหนักเพียง 0.1 กรัมเท่านั้น เพื่อให้มวลรวมในการเคลื่อนที่ต่ำที่สุด คอยล์จึงถูกยึดกับไดอะแฟรมโดยไม่มีคอยล์ฟอร์มทำให้น้ำหนักรวมเหลือเพียง 0.3 กรัม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงต้องใช้แม่เหล็กที่มีความแรงมากๆแต่ต้องมีขนาด เล็ก จึงเลือกใช้แม่เหล็กแบบนีโอไดเมียมที่มีความเข้มของเส้นแรงแม่เหล็กถึง 20 เทสลาในช่องแก๊ป
ไดอะฟรมขนาดเล็ก และต้องการให้ตอบสนองความถี่ได้สูงมากต้องอาศัยเฟสปลั๊กเป็นตัวช่วย ซึ่งต้องสร้างเฟสปลั๊กที่มีความแม่นยำสูงมาก เทคโนโลยีปกติที่ใช้สร้างต้นแบบจึงทำให้มีต้นทุนสูงมาก ซึ่งการผลิตจริงๆก็ต้องใช้วิธีเดียวกันเนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ เหมาะสม ทำให้ได้ไดร์เวอร์ที่มีความเพี้ยนต่ำให้การตอบสนองราบเรียบจาก 10k Hz ถึง 48k Hz ให้ระดับเอาต์พุตอย่างมีเสถียรภาพสูงกว่า 110 dB โดยมีน้ำหนักรวมทั้งไดร์เวอร์น้อยกว่า 1 ปอนด์

หลังจากไดร์เวอร์ทุกตัวพร้อมแล้ว Greg Timbers รับหน้าที่ออกแบบเน็ตเวิร์ค และปรับแ่ระบบ แนวคิดของ Timbers ในการออกแบบระบบลำโพงนี้คือใช้แนวการออกแบบเหมือนกับลำโพงสองทาง เนื่องจากไดร์เวอร์ 1500AL และ 435Be สองตัวก็สามารถทำงานได้เต็มแบนด์ิวิดธ์ของระบบสองทางปกติที่ JBL เคยสร้า้ง ไดร์เวอร์ 045Be จึงทำหน้าที่เป็นเพียงซุปเปอร์-ทวีตเตอร์ ที่ทำงานไปจนถึงจุดคัตออฟที่ 50k Hz โดยจะทำงานทีจุดตัดตั้งแต่ 10k Hz โดย Timbers ยังใช้โทโปโลยี charge-coupled ทำให้ได้เน็ตเวิร์คที่มีความชันถึง 24-dB โดนมีความเพี้ยนที่จุดตัดต่ำมาก และเกิดการทับซ้อนของความถี่ของแต่ละไดร์เวอร์น้อย
Timbers ยังทำหน้าที่สำหรับการออกแบบฮอร์น Bi-Radial® สองตัวและออกแบบตู้ ฮอร์นสำหรับมิดเรนจ์ถูกออกแบบให้มีมุมการกระจายเสียงแนวนอน 100º และแนวตั้ง 60º ส่วนฮอร์นสำหรับความถี่สูงมากๆจะมีมุมกระจายเสียงทางแนวนอนและแนวตั้งคือ 60º และ 30º ตัวตู้สร้างจากไม้ MDF หนา 1″ ที่หนักและแน่นหน้า ผนังทั้งหกด้านมี่การป้องกันการเกิดสแตนดิงเวฟภายในตัวตู้ แยกเป็นตู้ย่อยภายในเพื่อแยกให้ครอสสโอเวอร์ไม่ให้รับแรงสั่นสะเทือนจากภาพ ในตู้
เช่นเดียวกับโปรเจ็คลำโพงสองรุ่นก่อนหน้า Dan Ashcraft ทำหน้าที่ในการออกแบบอุตสาหรกรรฒ และพยายามรักษารูปแบบให้ตรงกับแนวคิดด้านการออกแบบของ Timbers โดย Ashcraft จัดระบบให้เหมือนกับระบบมอนิเตอร์สองทางของ JBL โดยเน้นไปที่วูฟเฟอร์ 15″ และฮอร์น/คอมเพสชันไดร์เวอร์ของมิดเรนจ์ และติดตั้งซุปเปอร์ทวีตเตอร์แยกอิสระ อย่างที่กำหนดในสถาปัตยกรรม การออกแบบเน้นให้เห็นซุปเปอร์ทวีตเตอร์อย่างขัดเจนเมื่อมองจากภาพรวมของตัว ตู้ลำโพง
ตัวตู้หลักได้ผ่านบทพิสูจน์ทางวิศวกรรมในการวางให้มิดเรนจ์ฮอร์นอยู่ด้านบน ตู้ กริลปิดหน้าวูฟเฟอร์ออกแบบให้รับกับส่วนโค้งของฮอร์นเมื่อปิดกริลล์แล้วหน้า ลำโพงจะเรียบเสมอกัน ผลสุดท้ายก็ได้รูปแบบลำโพง K2-S9800 ดังที่เห็น
ระบบลำโพง K2-S9800 ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งความสนใจจากสื่อมวลชน, ทั้งความเห็นจากนักเขียนรีวิว ที่ระบุว่าเป็นลำโพงที่ดีที่สุดเท่าที่เคยได้ฟังมา และประสบความสำเร็จทางการตลาดต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ดังเช่นโครงการลำโพงก่อนๆตลาดหลักอยู่ี่เอชีย K2-S9800 พบว่าได้รับการยอมรับในตลาดหลักนี้ รวมไปถึงตลาดในยุโรป และอเมริกาเหนือ ยังนำไปสู่รุ่นอื่นๆที่พัฒนาต่อมารวมถึง K2-S5800, S4800 และมอนิเตอร์ซีรีย์ 4338, 4348 และ 4428 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีจากลำโพงรุ่น K2-S9800