JBL เดอะซีรีย์ ตอนที่ 4 : ยุค Beatrice (1977-1980)

จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism

ในปี 1977 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งขึ้นกับ JBL เมื่อ Harman International ถูกขายให้กับ Beatrice Foods Co. ในช่วงที่ Dr. Harman ได้ก่อตั้งและบริหารให้ Harman International ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด ชื่อเสียงของเขาขจรไปถึงหูผู้ลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น นั่นคือ Jimmy Carter โดย Carter ได้เข้าทาบทาม Dr. Harman เข้าร่วมโดยเสนอตำแหน่งเลขาธิการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง Dr. Harman ก็ตอบรับ ซึ่งตอนรับตำแหน่งมีข้อบังคับเรื่องการถือหุ้นอยู่ ทำให้เขาต้องขายหุ้นทั้งหมดให้กับ Beatrice ซึ่งเคยเสนอขอซื้อ Harman International ซึ่งเขาก็ได้ปฏิเสธไปแล้วครั้งหนึ่ง พอมาในปี 1977, Dr. Harman ก็ได้ติดต่อกับทาง Beatrice เพื่อขายหุ้น Harman International

วิกฤติการณ์อัลนิโก
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทเทคโนโนยีมอเตอร์หลักๆที่ใช้สร้างไดร์เวอร์ของ JBL มีพื้นฐานมาจากแม่เหล็ก Alnico ซึ่งเป็นวัสดุที่มีเส้นแรกแม่เหล็กสูงเมื่อเทียบอัตราส่วนต่อน้ำหนัก, มีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิดีมาก และมีความต้านทานต่อการผสมของฟลักซ์แม่เหล็กสูง กระนั้นยังมีข้อเสียบ้างเล็กน้อยนั่นคือความเป็นแม่เหล็กถาวรจะลดลงเืมื่อมี กระแสสูงไหลผ่าน ณ.ช่วงเวลานั้นข้อดีของการใช้ Alnico V คือน้ำหนักไม่มาก พอมาในปี 1978 เกิดวิกฤติการณ์บางอย่างทำให้ Alnico V ไม่มีจำหน่าย ทำให้ JBL ต้องประสบกับปัญหาไม่สามารถผลิตไดร์เวอร์ได้ถ้าหากไม่เปลี่ยนเทคโนโลยี มอเตอร์ที่้ใช้นี้
ต้นเหตุของปัญหามาจากผลพวงของสงครามประชาชนที่เกิดขึ้นในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยคองโก หรือที่รู้จักกันในนามสาธารณรัฐซาเอียร์ในภาคกลางของแอฟริกา Alnico V ใช้โคบอลต์เป็นส่วนผสมหลักในการผลิต ช่วงนั้นซาเอียร์เป็นผู้ผลิตโคบอลต์ขายทั่วโลกมากกว่า 60% กบฏบุกรุกจากประเทศแองโกลา และในเดือนพฤษภาคม, ปี 1978 เหมืองแร่โคบอลต์ในแถบ Kolwezi ถูกยึด และทำให้เหมืองน้ำท่วม จนการผลิตโคบอลต์ของซาเอียร์หยุดสนิท ทำให้คงเหลือแต่ผู้ผลิตโคบอลต์ที่อยู่หลังม่านเหล็ก (รัสเซีย) หรือในอุตสาหกรรมทางการทหาร นั่นคือโคบอลต์ได้หายไปจากตลาดคอมเมอร์เชียลจนหมดสิ้น

คำตอบง่ายๆสำหรับปัญหานี้คือเปลี่ยนไปใช้แม่เหล็กแบบใช้วัสดุเฟอร์ไรต์แทน การใช้ Alnico V ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีมอเตอร์ใหม่เนื่องจากแม่เหล็กอัลนิโกมีอัตราส่วนเส้น แรงแม่เหล็กสูงเทียบกับน้ำหนัก, ทำให้แม่เหล็กมีขนาดเล็กเพียงพอที่จะติดตั้งไว้ด้านในขดลวดได้ พอเปลี่ยนมาใ้ช้แม่เหล็กเฟอร์ไรต์ที่มีอัตราส่วนเส้นแรงแม่เหล็กต่อน้ำหนัก ต่ำกว่ามาก ทำให้ต้องใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่ขึ้นมากเพื่อให้ได้ฟลักซ์แม่เหล็กเท่ากับแม่ เหล็กอัลนิโก ทำให้ต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีมอเตอร์ที่ิต้องติดตั้งแม่เหล็กไว้ด้านนอก ของขดลวด
ต้นแบบของไดร์เวอร์เบสส์ที่เปลี่ยนไปใ้ช้แม่เหล็กเฟอร์ไรต์ที่พัฒนาขึ้นมา โดยฝ่ายวิศวกรรม JBL เพื่อให้สามารถทดแทนไดร์เวอร์แบบแม่เหล็กอัลนิโก ต้นแบบไดร์เวอร์เหล่านี้สร้างขึ้นเป็นระบบลำโพงขึ้นมาง่ายๆ และทดสอบด้วยการฟังแบบนามธรรม ผลปรากฏว่าการทดสอบฟังสามารถจับความแตกต่างได้อย่างชัดเจร ไดร์เวอร์ใหม่ที่เป็นแ่ม่เหล็กเฟอร์ไรต์ให้เสียงที่แตกต่างจากเสียงของ ไดร์เวอร์เดิม และให้เสียงแย่กว่า ทีมวิศวกรของ JBL engineers ภายใต้การนำของ Terry Sorensen, และรวมถึง Mark Gander, ทำหน้าที่พัฒนาไดร์เวอร์ขึ้นมาใหม่โดยหาวิธีทางเทคนิค เพื่อให้บรรลุประสิทธิภาพที่ต้องการ
ทีมวิจัยพบว่ามีองค์ประกอบสองประการที่ทำให้เกิดความเพี้ยนของเสียงใน ไดร์เวอร์ใหม่นี้ ทั้งสองประการมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างที่จัดวางให้แม่เหล็กอยู่ด้านนอก และผ่านเส้นแรงแม่เหล็กผ่านขั้วแม่เหล็กที่เป็นเหล็ก (iron pole piece) ปัญหาประการแรกคือทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่ไม่สมมาตรเกิดขึ้นระหว่างช่อง วอยซ์คอยล์ เนื่องจากทรานสดิวเซอร์ใ้ช้วอยซ์คอยล์ที่ยาวกว่าความลึกของแก็ป (ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของไดร์เวอร์เบสส์ของ JBL ในช่วงนั้น) ทำให้ฟลักซ์แม่เหล็กอ่อนแรงตรงบริเวณด้านบนสุดและล่างสุดของแก็ป การส่งผ่านเส้นแรงแม่เหล็กผ่าน pole piece ทำให้เส้นแรงแม่เหล็กด้านล่างของแก็ปแรงกว่าด้านบน ผลลัพธ์คือทำให้เกิดความเพี้ยนเชิงฮาร์โมนิิคออร์เดอร์ที่สองในตอนที่กรวย ลำโพงกระพือมากๆ ซึ่งแก้ไขโดยลดขนาดของ pole piece ลงจนเพียงพอที่จะทำให้ความแตกต่างของเส้นแรงแม่เหล็กในแก็ปต่ำลงมาก JBL เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Symmetrical Field Geometry (SFG), เป็นนวัตกรรมต่อมาที่ใช้กับไดร์เวอร์ของ JBL ที่ใช้แม่เหล็กเฟอร์ไรต์
ปัญหาประการที่สองที่ Sorensen และ Gander ค้นพบคือความสามารถในการแผ่ของเส้นแรงแม่เหล็กผ่านขั้วแม่เหล็กที่เป็นเหล็ก มันทำให้เกิดการรับสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากคอยล์กลับเข้ามาในโครงสร้าง แม่เหล็ก ทำให้เกิดผลลัพธ์ด้านความเพี้ยนเชิงฮาร์โมนิคออเดอร์ที่สอง วิธีการแก้ไขทำโดยสร้างวงแหวนอลูมิเนียมคั่นระหว่างฐานกับ pole piece ซึ่งทำให้แม่เหล็กเหนี่ยวนำไม่สามารถแผ่กลับเข้ามาในโครงสร้างแม่เหล็ก

หลังจากการแก้ปัญหาทั้งสองประการนี้ได้ก็ำทำให้ไดร์เวอร์มีความเพี้ยนต่ำ กว่าไดร์เวอร์ที่ใช้แม่เหล็กอัลนิโกตลอดย่านความถี่ หลังจากแก้ไขปัญหาทางเทคนิคได้จนหมด JBL ก็ได้เปิดตัวไลน์สินค้าไดร์เวอร์เบสส์ที่ใช้แม่เหล็กเฟอร์ไรต์ในปี 1979 การเปลี่ยนแปลงนี้มุ่งเน้นไปที่ไดร์เวอร์เบสส์ เนื่องจากใช้ใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่สุด หลังจากที่ปรับเปลี่ยนไดร์เวอร์ได้สมบูรณ์ ฝรั่งเศส, เบลเยียม และอเมริกาก็เข้าไปจัดการปัญหาสงครามประชาชน และทำให้เหมืองแร่โคบอลต์กลับมาผลิตใหม่ได้อีกครั้ง—ซึ่งมีกำลังการผลิตต่ำ แม่เหล็กอัลนิโกกลับมาอีกครั้งแต่มีราคาสูงมาก JBL ยังคงผลิตคอมเพรสชันไดร์เวอร์ที่ใช้แม่เหล็กอัลนิโกต่อไปจนถึงปี 1982, จึงได้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนมาใช้แม่เหล็กเฟอร์ไรต์เพื่อลดต้นทุก ไดร์เวอร์คอมเพรสชันเวอร์ัชันที่ใช้แม่เหล็กเฟอร์ไรต์ก็เปิดตัวในปีเดียวกัน ไดร์เวอร์รุ่น 2441 ที่เป็นแม่เหล็กอัลนิโกยังคงผลิตต่อไปจนถึง 1991 ซึ่งมีราคาสูงกว่ามาก

 

ลำโพงบ้านในยุค Beatrice
JBL ในยุคของ Beatrice เน้นไปที่การผลิตลำโพงแบบผลิตขายจำนวนมาก อย่างไรก็ตามยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไฮเอ็นด์ออกมา ในช่วงเริ่มต้นของยุค Beatrice เป็นจุดเปลี่ยนผันในทางวิศวกรรม เนื่องจากลำโพงที่ผลิตในก่อนยุค 1970s เน้นไปที่ลำโพงขนาดใหญ่หรูหรา พอมาในช่วงท้ายยุค 70s วิศวกรรมลำโพงผสมผสานไปด้วยวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ พอมาปี 1977 พบว่ามีการออกแบบลำโพงในแนว Thiele-Small โดยวิศกรใหม่ Mark Gander (ปัจจุบันเป็็น Vice President of Marketing ของ JBL Professional) ที่เน้นความเป็นเครื่องมือ และใช้เทคโนโลยีก้าวหน้า ทำให้เกิดการพัฒนาออกแบบลำโพงล้ำยุคอย่าง L110

ลำโพงไฮเอ็นด์รุ่นใหญ่ของ JBL ที่เปิดตัวตามมาคือรุ่น L150 และ L220 ทั้งสองรุ่นเป็นลำโพงที่ออกแบบเป็นตู้ทาวเวอร์ใช้พาสซีพว์เรดิเอเตอร์ เพื่อให้ผลการตอบสนองเบสส์ต่ำๆดีขึ้น รุ่น L150 เป็นลำโพงสามทางของ JBL ที่เพิ่มพาสซีพว์เรดิเอเตอร์ขนาด 12″ ส่วนรุ่น L220 มีเอกลักษณ์เฉพาะคือใช้เรดิเอเตอร์รูปวงแหวนรุ่น 076 เป็นไดร์เวอร์ที่รูปร่างเหมือนกับไดร์เวอร์อื่นๆของ JBL ที่เป็นเรดิเอเตอร์วงแหวน แต่ยาวกว่ามีปากฮอร์นเป็นวงรี การออกแบบให้มีความยาวขึ้นเพื่อชดเชยในเรื่องของการเหลื่อมเวลาของไดร์เวอร์ แต่ละตัว รุ่น L220 ใช้อะคูสติคเลนส์สำหรับไดร์เวอร์มิดเรนจ์ LE5 เพื่อควบคุมการกระจายเสียงกลาง ส่วนไดร์เวอร์ความถี่ต่ำใช้ LE14H ร่วมกับพาสซีพว์เรดิเอเตอร์ขนาด 15″

การขยายตลาดลำโพงโปรฯ
ในยุคของ Beatrice เป็นจุดเปลี่ยนให้กับการลงสังเวียนตลาดลำโพงโปรฯ ในปี 1979, Ron Means เคยทำงานที่ Altec Lansing มานำทัพให้กับฝ่ายธุรกิจระบบโปรฯของ JBL และหลังจากนั้นอีก 16 ปี เขาก็ได้ขยายตลาดโปรฯให้กับ JBL อดีตที่ผ่านมาหลายต่อหลายครั้งที่ JBL พยายามเจาะเข้าตลาดนี้ และพบว่าที่จะเข้าถึงได้จริงๆเมื่อเทียบกับคามสำเร็จอย่างล้นหลามของลำโพง บ้าน การมาของ Means ช่วยให้ JBL สามารถช่วงชิงตลาดโปรฯได้สำเร็จดังเช่นระบบลำโพงบ้าน
การเริ่มต้นมีขึ้นตั้งแต่  Means ได้ปรับโครงสร้างของฝ่ายธุรกิจระบบโปรฯ เขาได้วางตำแหน่งพนักงานให้ทำงานงานในการเจาะตลาดแบบแนวตั้ง เพือให้สามารถใช้ทรัพยากรของบริษัทด้อย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะเป็นฝ่ายเดียวทำงานกับไลน์สินค้าระบบโปรฯทั้งหมด ก็แยกออกมาเป็นฝ่ายออกเป็นห้าส่วนงานซึ่งแต่ละส่วนมุ่งพัฒนาเฉพาะด้านได้แก่ ระบบเสียงโรงภาพยนตร์, การติดตั้งระบบเสียง, ระบบเสียงพกพา, ระบบบันทึก/กระจายเสียง และระบบเสียงสำหรับการทัวร์ ภายในช่วงเวลา 16 ปีที่เขาบริหารอยู่ ระบบโปรฯของ JBL ก็ครองส่วนแบ่งตลาดได้มากมาย

การพัฒนาและการขยายตลาดในส่วนของระบบเสียงโปรฯโดยส่วนใหญามาจากระบบลำโพงซี รีย์ Cabaret ในปี 1978 ลำโพงซีรีย์นี้มีมากมายหลายรุ่นโดยมากเป็นผลพลอยได้จากระบบ PA แบบพกพาสำหรับนักดนตรี และร้านดนตรี ก่อนจะเปิดตัวลำโพงซีรีย์นี้นักดนตรีต้องจ้างบริษัทระบบเสีียง สร้างระบบลำโพงเพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ หรือใช้ลำโพงในการประยุกต์ใ้ช้งานด้านอื่นๆในแนวนี้ อย่างเช่นลำโพง Altec A7 ที่ผ่านการปรับแต่งแล้ว ก็จะกลายเป็นลำโพงหลักสำหรับระบบ PA สำหรับนักดนตรี
Mark Gander ใช้ภาวะความเป็นผู้นำในการพัฒนาลำโพงซีรีย์นี้ในแต่ละตัว ในกลางยุค 70 มีจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคำเรียกร้องจากฝ่ายการตลาดสำหรับระบบลำโพงที่ สามารถเคลื่อนย้ายโดยง่ายสำหรับนักดนตรี แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจากฝ่ายวิศวกรรมมากนัก ด้วยพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมดนตรี และระบบเสียงของ Gander เขาวิเคราะห์ได้ถึงแนวโน้มทางการตลาด และโอกาสที่เป็นผู้นำในไลน์สินค้านี่ ในปี 1978, เขาค้นคว้าและเสนอรายงานศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการพัฒนาระบบลำโพงซีรีย์ Cabaret และได้รับอนุมัติจากฝ่ายบริหารให้ดำเนินการผลิต จุดหนึ่งของรายงานการศึกษาฯนี่ได้รับความร่วมมือจาก Doug Warner ในการออกแบบร่างรูปแบบของระบบลำโพง ซึ่ง JBL ก็พบว่าแนวการออกแบบนี้มันส่อนัยถึงการพัฒนาระบบที่ใช้งานหนักโดยปรับจาก ลำโพงบ้าน และสตูดิโอมอนิเตอร์์ดั้งเดิม ตลาดสินค้าสำหรับนักดนตรีก็ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม
ระบบลำโพงซีรีย์นี้เปิดตัวในปี 1979 โดยมีผลิตภัณฑ์สามรุ่นคือ: รุ่น 4680 เป็นลำโพงไลน์แอเรย์สำหรับใช้ในระบบ PA (ใ้ช้ไดร์เวอร์ K110 4 ตัว และรุ่น 2402 สองตัว), รุ่น 4622 เป็นตู้กีตาร์ (ใช้ไดร์เวอร์ K120 สองตัว), และมอนิเตอร์ตั้งพื้นรุ่น 4602 (ใช้ไดร์เวอร์ K120-8 และ 2402) ระบบลำโพงทั้งสามรุ่นได้รับกรตอบรับทันที เพราะมันถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการออกทัวร์ของนักดนตรีโดยตรง ไม่ต้องทำการปรับแต่งใดๆเหมือนกับลำโพงอื่นๆในท้องตลาด ยกตัวอย่างเช่นลำโพง Altec A7 สำหรับระบบ PA เมื่อเทียบกับลำโพงรุ่น 4680 จะพบว่าขนาด 4680 เล็กกว่ามาก ทำให้ง่ายต่อการขนย้ายและติดตั้ง ยังมีจุดเด่นเพิ่มเติมได้อีกอย่างเช่น ฝาครอบเสริม, มุมปิดสำหรับวางซ้อน, มือจับสำหรับยก และฝาผิดสปริงสำหรับเสียบขั้วโฟโน เสียงของระบบลำโพงซีรีย์นี้เมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วดีกว่ามาก โดยเฉพาะลำโพงไลน์แอเรย์รุ่น 4680 ที่ต่อมากลายเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมไปแล้ว