มาเล่นลำโพงฮอร์นกันเถอะ ตอนที่ 3

มีบทความหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับแฟน Altec VOT มากนั่นก็คือแนวทางการเล่น Altec A5 ในแบบฉบับของ Jean Hiraga ที่ถ่ายทอดประสบการณ์โดย John Stronczer ผู้ออกแบบแอมป์หลอดให้กับ Bel Canto บทความนี้มีชื่อว่า ”La Voice of the Theater Chez Nous, Taming the ALTEC A5 Classic for Domestic Use” อ่านดูแล้วน่าสนใจ และนำมาเป็นแนวทางในการปรับ Altec VOT ให้เหมาะกับแนวการฟังเพลงของเราได้อย่างเหมาะสมครับ

หลังจากที่มีโอกาสได้ฟังเสียงจากระบบลำโพง A5 ของ Jean Hiraga ที่ห้องฟัง Nouvelle Revue du Son โดยใช้แอมป์ของ Bel Canto รุ่น Orfeo 30 เป็นแอมป์ซิงเกิลเอ็นด์ 845 ซึ่งทำให้รู้แก่ใจในทันทีว่าจะเอาลำโพงอะไรมาเปลี่ยนแทน Spendor SP-1 ที่ใช้งานมากว่า 13 ปี
อาจจะเรียกได้ว่าตัวเองได้ตกหลุมรัก A5 เข้าอย่างจังตั้งแต่ได้ฟังเสียงครั้งแรก หมายถึงว่าชอบตั้งแต่โน็ตห้องแรกเลยว่างั้น ในขณะที่ Spendor ใช้เวลากล่อมอยู่ร่วม 10 นาทีได้ เลยกลายเป็นว่าลำโพง Altec A5 ใช้เวลากล่อมแป๊บเดียวก็พาเข้าบ้านแล้ว
ในช่วงเวลาใดก็ตามหากได้สบโอกาสค้นหาระบบลำโพงฮอร์นขนาดใหญ่จะพบว่า คุณภาพเสียงเป็นไปในเชิงบวกสูง เสียงเพลงที่พวยพุ่งมาจากลำโพงเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เปี่ยมด้วยพละกำลัง ถ่ายทอดประสบการณ์ืทางดนตรีได้ครบถ้วน แม้จากเพียงแอมป์ซิงเกิลเอ็นด์ไตรโอด
แต่..ยังก่อนระบบลำโพงฮอร์นยังไม่ถึงกับสมบูรณ์แบบ.. ซึ่งข้อดีมันทำให้มองผ่านข้อด้อยของมันว่าคืออะไรบ้าง จนกระทั่งได้ลองนำไปเล่นกับระบบเสียงชุดอื่น คุณภาพเสียงโดยรวมก็ให้ความรู้สึกมีส่วนร่วมไปกับเสียงดนตรี ยังไม่เจือเสียงในแบบ ‘ไฮเอ็นด์’ ในบรรยากาศเสียงแบบเก่าๆ

แน่หล่ะเสียงไม่ถึงกับสมบูรณ์แบบ (อะไรเป็นเหตุ?) แต่มันยังให้เสียงที่ดีว่าลำโพงอื่นๆีอีกมากมาย เพราะมันให้เสียงดนตรีที่เป็นดนตรี เพียงเท่านี้เราก็ไม่สนใจถึงข้อด้อยนั้นแล้ว
ระบบลำโพงฮอร์น Altec A5 ที่ผ่านการเซ็ตอัพอย่างถูกต้องสามารถทำให้เราลืมความเป็นออดิไฟล์ไปบ้างเล็กน้อย แล้วนั่งลงฟังเสียงเพลงอย่างออกอรรถรสทางดนตรีจาก Hendrix, Gould, Bizet (เสียงร้องโอเปร่าที่มีชีวิตชีวา), Brel, Evans, Miles, Nina Simone, the Beatles, หรือศิลปินคนอื่นๆที่คุณจะนึกออกได้ ลองหยิบมาฟังกับระบบลำโพงฮอร์นแบบนี้ดู คุณจะได้ประสบการณ์ืื่ทางดนตรีรูปแบบใหม่ ไม่ว่าแหล่งกำเนิดสัญญาณจะเป็น LP, CD, วิทยุ หรือคาสเซ็ตเทปเก่า คุณจะสัมผัสได้ถึงเพลงที่เป็นมากกว่าเพลงที่สื่อถึงอารมณ์ของศิลปิน ในแบบทีุ่คุณไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน
เนื่องจากไม่ได้เป็นนักเขียนรีวิวเครื่องเสียง ดังนั้นจึงไม่ขอพูดถึงเรื่องประสิทธิภาพเสียง แต่จะพูดว่า A5 ให้ทุกเสียงได้ดีในทุกย่าน และให้บางเสียงได้ออกมาดีกว่าลำโพงแบบอื่นๆที่เคยได้ฟัง เสียงโดยรวมดีจนยกลำโพงเดิมๆเก็บได้เลย และถ่ายทอดอารมณ์ทางดนตรีให้คุณลุกขึ้นเต้น, หัวเราะ, หรือร้องคลอตาม หรือโยกหัวอย่างเพลิดเพลิน ซึ่งเป็นประสิทธิภาพทางดนตรีที่เป็นจุดเด่นของ A5
หากจะสารภาพความจริงว่าหลังจากที่กินอยู่กับเวอร์ชันที่ผ่านการปรับจูนของระบบลำโพงคลาสสิค A5 Voice of The Theater แล้ว พบว่าเราไม่สามารถย้อนกลับไปฟังลำโพงธรรมดาในแบบเดิมๆได้อีกแ้ล้ว!!

ระบบ A5 ของ Jean Hiraga

          พวกเขาทำได้อย่างไร? เป็นคำถามแรกในแบบวิศวกรที่ฉุกขึ้นมาเมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่ๆทีเหนือความคาดหมาย คำถามแบบนี้เคยนำให้ไปสู่หลอดไตรโอดยักษ์ 845 และลงมือสร้างแอมป์ซิงเกิลเอ็นด์เมื่อราวๆสิบปีก่อน และมันก็เกิดขึ้นอีกครั้งคราวนี้เป็นลำโพง อย่างที่บอกไปแล้วข้างต้นว่าพอดีได้มีโอกาสได้ฟังระบบลำโพงฮอร์นในปารีส และนำไปสู่การค้นหาชิ้นส่วน แล้วหอบหิ้วแต่ละิชิ้นกลับมาบ้านแล้วลงมือประกอบ
M. Hiraga ใช้ตู้เบสส์/มิดเบสส์แบบ 828 ลงไดร์เวอร์ของ Westrex (Westrex เป็นชื่อที่ใช้ส่งออกโดยกิจการร่วมค้า Western Electric/ALTEC) รุ่น 515B ขนาด 15″ เป็นมิดเบสส์ไดร์เวอร์สำหรับความถี่ต่ำตั้งแต่ 500Hz ลงไป ใช้คอมเพรสชันไดร์วเวอร์ขนาด 1.4″ Westrex 2080 (หรือ Altec 288 C) ทำงานตั้งแต่ความถี่ 500Hz ขึ้นไป โดยใช้ร่วมกับฮอร์น 1505B เป็นฮอร์น 15 ช่องแบบเอ็กโปเนนเชียลฮอร์น และใช้ JBL ทวีตเตอร์แบบวงแหวนทำงานตั้งแ่ต่ความถี่ 15kHz ขึ้นไป

          ครอสส์โอเวอร์/อีคิวที่ออกแบบและเผยแพร่โดย M.Hiraga เน้นไปที่การปรับให้จากเดิมเป็นลำโพงที่ใช้งานในโรงหนัง ให้เสียงพุ่งกระจายได้เต็มโรงฯ ให้มีระดับความดังที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ฟังเพลงในบ้าน
วงจรครอสส์โอเวอร์ของ M.Hiraga ที่ใช้ในงานในระบบลำโพงที่ฝรั่งเศส ดังแสดงในวงจรครอสส์โอเวอร์  อาจจะดูซับซ้อนเล็กน้อยแต่ก็เหมาะสม ตรงประเด็นตามที่กำหนด และให้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
ครอสส์โอเวอร์นี้ได้สนธิกำลังอย่างเหมาะสมให้กับไดร์เวอร์ทั้งสองตัว ให้การตอบสนองที่ราบเรียบในการใช้งานใ่นห้องฟังตั้งแต่ความถี่ 40Hz ถึง 16-17kHz อาจไม่จำเป็นต้องใช้ทวีตเตอร์แบบวงแหวนเหมือนกับระบบของ M.Hiraga ก็ได้หากพบว่าเสียงแหลมเพียงพอแล้ว

ตู้เบสส์จะเป็นแบบ Altec 828 เป็นการออกแบบตู้เบสส์แบบลูกผสมระหว่างฮอร์นสั้นสำหรับไดร์วเวอร์ 515 ที่ความถี่ต่ำลงมาได้ 150Hz และด้านล่างเป็นช่องรีเฟล็กซ์ การใช้ทั้งคลื่นเสียงจากด้านหน้าและด้านหลังไดร์เวอร์ผสมผสานกันทำให้มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับเป็นฮอร์นสั้นสำหรับมิดเรนจ์ได้ ทำให้มีความไวสูงถึง 100d/W/m ความถี่ต่ำลงได้ถึง 40Hz เป็นลำโพงที่มีความไวสูงมากแม้ใช้แอมป์ที่มีกำลังขับเพียง 3 วัตต์ก็ดังลั่นบ้านแล้ว

แม้ Altec A5 จะมีความไวสูงมากก็ตามแต่ Hiraga ยืนยันว่าควรใช้กำลังขับจากแอมป์ที่มีกำลังขับสูงหน่อยสัก 30 หรือ 60 วัตต์อย่าง Orfeo 845 เป็นต้น เพราะมันจะหมายถึงการได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า ความเพี้้ยนต่ำกว่า เบสส์ออกดีกว่า เฮดรูมกว้างกว่าทำให้ใช้งานในห้องขนาดใหญ่ได้สบายๆ Hiraga ยังเลือกตัดความถี่ฮอร์นที่ 500Hz และทำหน้าที่ต่อเนื่องไปจนถึง 16-17kHz ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมผสมผสานลงตัวกับตู้เบสส์ได้เป็นอย่างดี

ปากฮอร์น 1505B ติดตั้งโดยวางด้านบนตู้เบสส์ ปรับให้้เฟสตรงกับวูฟเฟอร์โดยกำหนดทิศทางของฮอร์นพุ่งลงด้านล่างเข้าหาตำแหน่งนั่งฟังที่ห่างจากลำโพง 12-15 ฟุต ฮอร์นของ Altec มีรูยึดน๊อตให้สามารถปรับมุมก้มเงยทางแนวตั้งได้ง่าย ทำให้คุณสามารถกำหนดทิศทางของเสียงว่าจะให้พุ่งตรงไปหาต่ำแหน่งนั่งฟัง หรือยิงลงให้ผสมกับเสียงจากตู้เบสส์่ก่อนถึงต่ำแหน่งนั่งฟัง ตัวฮอร์นไม่ได้ยึดติดถาวรกับตู้เบสส์จึงสามารถเลื่อนเดินหน้าถอยหลังเพือชดเชยการตอบสนองทางเฟสให้ตรงกับวูฟเฟอร์


ซุปเปอร์ทวีตเตอร์ของ JBL วางบนหลังตู้เบสส์เช่นกัน ปรับชดเชยเฟสให้ตรงกัน โดยเล็งทำมุม 45 องศาให้ครอบคลุมบริเวณตำแหน่งนั่งฟัง ช่วยเพิ่มฮาร์โมนิคเสียงย่านความถี่สูงให้กระจายทั่วห้อง และลดอาการเสียงพุ่งของระบบ
ต้องยกนิ้วให้กับการเลือกจุด EQ ของครอสส์โอเวอร์ ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นแบบพาสซีพว์ที่สามารถใช้แอมป์เพียงตัวเดียวขับได้เลย ให้ดุลย์เสียงดีมาก M.Hiraga เปลี่ยนพอร์ตเบสส์จากช่องกว้างๆให้เหลือเป็นช่องรีเฟล็กซ์ และใส่ปีกเพิ่มเสียงเบสส์ขนาบตู้เบสส์ทั้งสองข้าง เพื่อชดเชยประสิทธิภาพความถี่ต่ำในกรณีที่ต้องจัดวางลำโพงห่างจากผนังของห้อง มีการแดมป์โดยใช้พุตตี้กับตัวมิดเรนจ์ฮอร์น ด้านหน้าทวีตเตอร์ JBL จะวางแผ่นผ้าหนาเพื่อป้องกันเสียงสะท้อนที่จะเกิดขึ้นที่ผิิวตู้ด้วย

พบว่าภายหลังประกอบสำเร็จแล้ว Altec A5 มันดูเป็นสไตล์อินดัสทรีย์มากๆ ปัญหาต่อมาคือต้องผ่านด่านสำคัญคือต้องเกลี้ยกล่อมภรรยาว่า มันมีดียังไงถึงกับต้องหอบหิ้วเข้าบ้านโดยให้ฟังว่าเสียงเพลงมันให้ได้แบบไหน และสัญญาว่าจะทำความสะอาดและตกแต่งตู้อีกเ็ล็กน้อยเพื่อให้ดูสวยงามขึ้น เนื่องจากเป็นระบบลำโพงที่ใช้พื้นที่พอสมควร จึงต้องแน่ใจก่อนว่า A5 จะให้เสียงดนตรีออกมาได้ดีกว่าระบบลำโพงอื่นๆ
ดูจากขนาดแล้วกลับพบว่าความถี่ต่ำไม่มีทางลงได้ต่ำถึง 20Hz ซึ่งต้องรอหาซับวูฟเฟอร์ที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต ถ้าเอามาัวัดดูสเปคตรัมของเสียงจะพบว่ามันออกมาแทบไม่เข้าข่ายลำโพงไฮเอ็นด์ใดๆเลย แม้ยังไม่ได้วางแอมป์ซิงเกิลเอ็นด์ไตรโอดเข้าในสมการเลยก็พบว่าเป็นระบบลำโพงที่ให้เสียงได้ครบเครื่องเมื่อได้มีโอกาสฟังมัน และนี้คือหนทางการเล่นในแบบที่เราต้องการ

ตรรกะแห่งระบบลำโพง A5
เราได้เรียนรู้อะไรจากระบบลำโพง Altec A5 ของ Hiraga บ้าง?
1) เลือกใช้ไดร์เวอร์ และตู้ลำโพงที่มีประสิทธิภาพสูง, มีความเป็นเชิงเส้นโดยเนื้อแท้ (เช่น ความเพี้ยนต่ำ), ความไวสูง
2) จัดวางตู้ลำโพงอย่างเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงอาการโ้ด่ง หรือเรโซแนนซ์ที่บางความถี่
3) ใช้มิดเรนจ์ที่ครอบคลุมความถี่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงครอสส์โอเวอร์ี่ที่ีมีจุดตัด 1000Hz ถึง 3000Hz ไดร์เวอร์ที่มีคุณภาพสูงสำหรับระบบลำโพงนี้เพียงสองตัวก็สามารถทำงานในการตอบสนองแบบฟูลเรนจ์
4) จัดการเลื่อนตำแหน่งไดร์วเวอร์ให้เหมาะสมเพื่อปรับเรื่องเฟส และโฟกัสของเสียง
5) รักษาระดับการตอบสนองให้ราบเรียบทุกย่านความถี่ให้มีระดับความไวสูง 96-100dB ซึ่งจะให้เสียงที่เปี่ยมพลังแม้เล่นกับแอมป์เพียงสองสามวัตต์
6) ต้องแน่ใจว่าฮาร์โมนิคที่ความถี่สูงมีพลังพอที่จะกระจายครอบคลุมทั่วห้อง
7) ไม่ต้องกังวลมากับเสียงอ็อคเต็พว์ต่ำๆ แต่ให้ใส่ใจในประสิทธิภาพของมิดเบสส์และอัปเปอร์เบสส์ จะได้เบสส์ต่ำๆแฝงออกมาเอง

คุณภาพของไดร์เวอร์คือจุดเริ่มต้น

ไดร์เวอร์สำหรับเสียงเบสส์ 515 และตู้เบสส์ในแบบ 825/828 ให้ความไวสูง, แบนด์ิิวิดธ์ดี และความเพี้ยนต่ำ อาจจะเลือกใ้ช้ไดร์เวอร์ 515E อิมพีแดนซ์ 16 โอห์ม แม่เหล็กเป็นเซรามิครูปแบบคล้ายกับ 515B รุ่นตำนานที่แม่เหล็กเป็นอัลนิโก

ทั้ง 515B และ 515E ให้เสียงกลางออกมาน้อยกว่ารุ่นใหม่กว่าอย่าง 515G ซึ่งเป็นคุณสมบัติีที่ดีถ้าดูจากเอกสารของ 515G จะพบอาการโด่งที่ 150Hz ขึ้นมา 5dB อาการโด่งบางความถี่นี้มันดีถ้าระบบลำโพงมันอยู่หลังจอภาพยนตร์ แต่ถ้าเอาออกมาใช้ฟังในห้องฟังก็ต้องปรับแก้กันนิดหน่อย

ในความคิดเห็นส่วนตัวพบว่าไดร์เวอร์ที่ใช้แม่เหล็กเป็นเซรามิคใช้ งานได้ปราศจากปัญหา เพราะกลไกการขยับของกรวยไดร์เวอร์เหมือนกับ 515B ทุกประการ และสมมุติว่าฟลักซ์แม่เหล็กที่ช่่องว่างของวอยซ์คอยล์มันแรงเท่ากันกับอัลนิ โก และไม่ต้องชาร์ตพลังแม่เหล็กอย่างเช่นอัลนิโกที่ผ่านระยะเวลาการใช้งานนานๆ ก็คิดว่า 515 ทุกรุ่นเป็นไดร์เวอร์ที่ดีเยี่ยม

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ไดร์เวอร์ 515 ใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่ และวอยซ์คอยล์อลูมิเนียมขนาด 3″ ช่วยให้ไดร์เวอร์มีความเป็นเชิงเส้นสูง รุ่น 16 โอห์มมีองค์ประกอบของค่า BL ซึ่งเป็นการวัดของความเข้มสนามแม่เหล็กคูณด้วยจำนวนรอบของลวดที่พัน วอยซ์คอยล์เท่ากับ 22 สำหรับรุ่น 515E ต่างไปจากไดร์เวอร์ขนาด 8″ ทั่วไปในท้องตลาดที่มีค่า BL เพียง 5-8 เท่านั้น นั่นหมายความว่าไดร์เวอร์แบบไหนก็ตามถ้าสร้างภายใต้การออกแบบนี้ก็จะให้การ เคลื่อนของกรวย และการควบคุมกรวยได้ดีเช่นกัน
กรวยลำโพงเป็นกระดาษที่ดูสวยงามยึดกับสไปเดอร์ที่แข็งแรง คุณสามารถลองกดกรวยด้านใดด้านหนึ่งแล้วพบว่ากรวยกระดาษเคลื่อนที่ไปพร้อมกัน ทั้งหมด โดยไม่มีการโย้บิดเบี้ยวใดๆ ทำให้กรวยลำโพงเคลื่อนที่ได้อย่างเป็นเชิงเส้นทั้งกรวยลำโพง
ดัสแค็ปขนาด 1″ ติดอยู่ตรงกลางกรวยลำโพง ช่วยป้องกันการเกิดความเพี้ยนอันมาจากแรงอัด และไม่มีอาการคัลเลอร์อันเนื่องมจากตัวดัสแค็ป และทำหน้าที่แดมป์กรวยลำโพงไปในตัว ช่วยลดอาการเกิดฮิสเตอริซิสระดับต่ำๆเหมือนกับลำโพงทั่วไปที่เป็นขอบยาง

แฟรมของไดร์เวอร์สร้างมาในระดับมาสเตอร์พีซ ขนาดกว้าง 1″ วางเป็นโครงสร้างรองรับที่แข็งแรง โดยกินพื้นที่น้อยทำให้คลื่นเสียงด้านหลังกรวยผ่านได้สะดวก น้ำหนัก 515E เยอะถึง 30 ปอนด์ (ผู้แปล: ประมาณ 13.6 กิโลกรัม) ทำให้ไดร์เวอร์มีความเพี้ยนต่ำมาก, ความไวสูง และให้แรงปะทะดีในแบบ 515

Altec 515 ไม่เหมือนกับดอกลำโพง PA และไม่เหมือนกับลำโพงโปรฯอื่นๆ มันเป็นเครื่องมือที่จะทำให้คุณประหลาดใจได้แน่ๆ เพราะมันเป็นไดร์เวอร์ไฮไฟตัวจริงเสียงจริง และรับกำลังขับได้เพียง 75W ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับไดร์เวอร์ PA หรือโปรฯในท้องตลาด

อีกครึ่งกว่าของสเปคตรัมเสียงไดร์เวอร์และฮอร์นหน้าที่ถ่ายทอดเสียงออกมาได้ อย่างดีเยี่ยม ไดร์เวอร์เป็นแบบคอมเพรสชันที่มีขนาดช่องคอ 1.4″ รุ่น 288K-16 และฮอร์นรุ่น 1505B โดยเลือกใช้ไดร์วเวอร 288 เวอร์ชันที่เป็นแม่เหล็กแบบเซรามิคอิมพีแดนซ์ 16 โอห์ม มีเฟสปลั๊กโลหะหล่อรุ่น Tangerine เป็นเวอร์ชันที่ให้เสียงย่านความถี่สูงได้ชัดเจนกว่าสะอาดกว่าเวอร์ชันที่ เป็นแม่เหล็กอัลนิโก ทำให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทวีตเตอร์ของ JBL เข้ามา

ไดร์เวอร์ 288K ใช้ไดอะแฟรมขนาดเส้นผ่าูนศูนย์กลาง 2.8″ ขึ้นรูปจากอลูมิเนียมให้เป็นทรงโดม วอยซ์คอยล์เป็นอลูมิเนียม ทวีตเตอร์ัตัวนี้หนักถึง 30 ปอนด์ ทำให้นึกภาพไปถึงขนาดของแม่เหล็กที่ใช้ว่าใหญ่โตขนาดไหน โดยมีความเข้มของเส้นแรงแม่เหล็กสูงในช่องแก๊ปถึง 20,500 เกา์ส์ (มากเหมือน Lowther)
ไดร์เวอร์ 288K สามารถรับการสั่นของไดอะแฟรมได้สูงมาก สามารถทำงานได้โดยไม่มีการบิดเบี้ยวของไดอะแฟรมแม้ทำงานที่ความถี่สูงใน ระดับความดังมากๆ เมื่อประกอบรวมกับฮอร์น 1505B ทำให้มีความไวสูงถึง 112dB/W/m ที่ช่วงความถี่ 1-5kHz!! และลดลงมาเหลือ 103dB ที่ 16-17kHz
อย่าลืมถอดตระแกรงกันแมลงออกด้วย ตระแกรงนี้จะเป็นตัวป้องกันไม่ให้แมลงหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆเข้าไปในคอมเพรส ชันไดร์เวอร์ ปกติในการใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบโปรฯ ตระแกรงนี้ยังอยู่ เมื่อต้องการให้คุณภาพเสียงดีขึ้นก็กำัจัดมันออกไปซะ
ไดร์เวอร์ 288 และฮอร์นออกแบบให้เล่นความดังระดับสูงสุดได้ถึง 128-130dB แต่รับกำัลังขับต่อเนื่องได้ราวๆ 15W เท่านั้นเอง คล้ายๆกันกับ 515 ทำให้ไดร์เวอร์ของ Altec ค่อนข้างจะแปลกกว่าไดร์วเวอร์ไฮไฟทั่วๆไป

ทั้งฮอร์นความถี่ต่ำและความถี่สองจะครอบคลุมการกระจายเสียงแนวตรงทางแนวนอน 120 องศาสำหรับไดร์เวอร์ความถี่สูง และแนวตั้ง 90 องศาสำหรับไดร์วเวอร์ความถี่ต่ำ ด้วยองศาการกระจายเสียงขนาดนี้สามารถครอบคลุมห้องฟังทั้งห้อง ไม่ต้องโทอินเข้าหาตำแหน่งนั่งฟังเหมือนลำโพงทั่วไป แต่จัดวางให้มีการสะท้อนพื้นและผนังเหมือนลำโพงพาแนล

การกระจายเสียงของฮอร์น 15 ช่องแต่ละช่องเป็นแบบเอ็กโปเนนเชียลช่วยลดเสียงความถี่สูงไม่ให้พุ่งตรงไปหา ผู้ฟัง เหมือนกับฮอร์นทั่วไป ฮอร์น 1505B มีขนาดใหญ่พอสมควร และเป็นลำโพงที่ดูแล้วน่าประทับใจเืมื่อแรกเห็น มีพื้นที่ำสำหรับกระจายเสียงครอบคลุมกว่า 3 ตารางฟุตสามารถแผ่คลื่นเสียงครอบคลุมโรงหนังที่มีที่นั่งกว่า 400 ที่ได้สบายๆ ในห้องฟังของขนาด 450 ตารางฟุต มันสามารถอัดคลื่นเสียงเข้าไปในลมหายใจได้เลย
เอ็กโปเนนเชียลฮอร์นออกแบบมาเพื่อให้คลื่นเสียงในแนบราบที่ยิงออกมาจากคอม เพรสชันไดร์เวอร์ โดยทำหน้าที่คล้ายกับเฟสปลั๊กทำหน้าที่จัดเฟสคลื่นเสียงให้กลับจากเดิมที่ ออกมาจากไดอะแฟรมที่เป็นโดมโค้งวิ่งผ่านออกช่องคอของไดร์เวอร์ออกมาสู่ฮอร์น

        ตรงช่องคอของไดร์เวอร์จะเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางที่คลื่นเสียงที่วิ่งผ่าน ฮอร์น จะมีเฟสปลั๊กด้วยเป็นแบบ “Tangerine” ตัวที่ใช้ใน 288K จะเป็นโลหะทำให้สามารถมองเห็นไดอะแฟรมเมื่อมองผ่านช่องคอของไดร์เวอร์ อัตราการคอมเพรสชันของ 288 จะมีค่าเท่ากับ 2:1 ผ่านเฟสปลั๊ก ทำให้ช่วยลดความเีพี้ยนของเสียงได้ขึ้น และช่วงทางผ่านของคลื่นเสียงโล่ง ทำให้เสียงย่านความถี่สูงไปได้ไกลขึ้น และสะอาดชัดเจนขึ้น
ฮอร์น 1505B แต่ละเซลล์มีความยาวทำให้ความถี่ต่ำลงได้มากกว่า มีำจำนวนถึง 15 เซลล์ จัดเป็นแถวละ 5 เซลล์สามแถว ด้วยขนาดเซลล์แต่ละช่องที่เล็กช่วยให้ความถี่สูงไปได้ไกลขึ้น และกระจายคลื่นเสียงได้ดี
เซลล์ย่อยๆของฮอร์น 1505B ขึ้นรูปด้วยมือใช้อลูมิเนียมเป็นโครงสร้างหลักโดยเป็นวัสดุชนิดเดียวที่ใช้ ผลิตรถยนต์ แ้ล้วเคลือบทับด้วยวัสดุแดมป์ที่มีค่า Q เรโซแนนซ์สูง วิธีการนี้ทำให้การแดมป์ฮอร์นได้ผลดีมาก ซึ่งไม่เห็นลำโพงใหม่ๆใช้การแดมป์แบบนี้
คาดว่าถ้าฮอร์นแบบนี้สร้างขึ้นมาใหม่ในปัจจุบันต้องใช้ต้นทุนมาก มายสักเท่าไหร่ สำหรับฮอร์น 1505 เป็นส่วนสำัคัญที่ต้องหาเพราะไม่ได้มีวางขายกันทั่วไป ต้องคุ้ยแคะค้นหาพอสมควรดังนั้น
คะเนว่าด้วยน้ำหนักตัวของไดร์วเวอร์เทียบกับแรงจากส่วนที่เคลื่อน ที่ของ 288K ส่วนที่อยู่นิ่งๆมีน้ำหนักถึง 30 ปอนด์ ทำให้การเรโซแนนซ์ที่มาจากไดอะแฟรมยากที่จะเขย่าตัวของไดร์วเวอร์ได้ทำให้ เสียงออกมามีรายละเอียด เป็นธรรมชาิติ ได้ฮาร์โมนิคที่มีรายละเอียด และทิศทางเสียงที่ถูกต้อง
กับไดร์วเวอร์คู่นี้เรียกได้ว่าเป็นไดร์เวอร์ความถี่สูงยอดยาหยีเลยว่างั้น คล้ายกับลำโพงริบบอน Maggie แต่ให้แรงปะทะ และไดนามิคขับเคลื่อนได้ดีกว่า

 

มาทำให้เสียงเบสส์ลงได้อย่างถูกต้อง

วูฟเฟอร์ 515 ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับตู้แบบฮอร์นเหมือนกับตู้ 825/828 ซึ่ง M.Hiraga ได้กล่าวถึงอัตราส่วนทองคำของสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับตู้แบบนี้ ทำให้ตู้ในแบบนี้ให้เสียงออกมาดีแม้ไม่ได้ทำการโมดิฟายใดๆเลย อาจจะมีเสียงออกก้องๆ หรือ ‘boxy’ คล้ายกับตู้เบสส์แบบอื่นอยู่บ้าง เมื่อใช้กับวูฟเฟอร์ 515 แล้วมันเข้ากันได้ดีมาก ตู้รุ่นที่ใหม่กว่าจะแก้ขนาดปริมาตร และพื้นช่องเบสส์ใหม่เพื่อให้เสียงเบสส์ดีขึ้น และความไวเพิ่มขึ้น
ตู้รุ่นเก่าต้องการปิดพื้นที่ด้านหลังฮอร์นสั้น และลดขนาดช่องพอร์ตด้านหน้าลง 50% ตู้เบสส์ที่ได้มาสามารถปรับขนาดพื้นที่ช่องพอร์ตได้ และได้ลองเซ็ตด้วยขนาด 25 1/2″ x 8 1/4″ แผ่นปรับช่องพอร์ตมีความหนาเพียง 5/8″ โดยปกติช่องพอร์ต และลมเบสส์ที่ออกมาต้องไม่มีเสียงรบกวนใดๆเกิดขึ้น
เมื่อรวมกับฮอร์น 1505B ทำให้มีพื้นที่กระจายเสียงสำหรับระบบลำโพง A5 เพิ่มขึ้นมาเป็น 8.5 ตารางฟุต ผลที่ได้คืออิมเมจ และพลังเสียงออกมาคล้ายกับลำโพงพาแนล แต่มีความเพี้ยนของเสียงต่ำกว่า, ความไวสูงกว่ามาก และไดนามิคเสียงดีกว่า และไม่มีปัญหาจากคลื่นเสียงสะท้อนด้านหลังลำโพง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ตู้วินเทจ 828 จะสร้างออกมาโดยใช้ไม้อัดหนา 5/8″ สภาพภายนอกอาจจะไม่สวยงามซึ่งตบแต่งโดยปะให้หนาเพิ่มขึ้นหนา 1/2″ หรือ 5/8″ ด้วยไม้แอปเปิิลอัด ซึ่งเป็นไม้อัดคุณภาพสูงที่หนาแข็งแรงเหมือนไม้เนื้อแข็ง การตกแต่งเพิ่มเติมนอกจากเพื่อความสวยงาม ก็ยังให้ผลทางอะคูสติคด้วย
มีบางคำแนะนำให้อัดใยฉนวนโพลียูรีเทน ในด้านหลังของฮอร์นสั้นสะท้อนเสียงด้านหน้าวูฟเฟอร์ เป็นคำแนะนำที่ดีสำหรับการแดมป์การสั่นสะเทือนของฮอร์นสั้น แต่ก็ยังไม่จำเป็นมากนัก เพราะส่วนใหญ่ลองเสียงแล้วมักจะจบด้วยความพึงพอใจตั้งแต่แรก

ต้องทำความแน่ใจว่าได้กรุแผ่นไฟเบอร์กลาสส์หนาๆ หรือวัสดุซับเสียงไว้ภายในตู้ เพื่อซับคลื่นเสียงด้านหลังวูฟเฟอร์ที่ช่วงเสียงกลาง ตัวไดร์เวอร์เองค่อนข้างชิดด้านหลังตู้ ไม่ควรกรุบริเวณเนื่องจากเป็นส่วนทางเดินในการสร้างเสียงความถี่ต่ำให้ เคลื่อนออกทางพอร์ตด้านหน้า
ถ้าคุณมองหาตู้ที่ใช้ไม้อัดแบบเก่าๆพึงระวังตู้ที่พอง หรือไม้อัดปริแยกออกเป็นแผ่นๆ เนื่องจากแก้ไขกลับให้เป็นเหมือนเดิมได้ยากมาก หรือไม่ได้เลย เหมือนกับแม่เหล็กเซรามิค คอมเพรสบอร์ดที่ติดด้านหน้ามันดูไม่สวยนัก แต่ให้ผลออกมายอดเยี่ยมได้ผลการปรับเพิ่มเสียงเบสส์ได้ชงักนัก
การวัดค่าเฉลี่ยของระดับความดังที่ตำแหน่งนั่งฟังได้ถึง 100-103dB เมื่อฟังเพลงของ Eric Clapton (เสียงร้องของเขาเหมือนมายืนร้องหน้าวงเลย) ที่ความดังระดับนี้เสียงกระเดื่องกลอง และพลังเสียงเบสส์สูงขึ้นถึง 110-115dB จะเห็นการขยับของกรวย 515 เพียงเล็กน้อยเ่ท่านั้น! แสดงให้เห็นว่าระดับความเพี้ยนของเสียงต่ำมากแม้เล่นในระดับความดังขนาดนี้ ถ้าเป็นวูฟเฟอร์โดยทั่วไปกับความดังขนาดนี้จะเห็นกรวยลำโพงเด้งเข้าเด้งออก เกือบ 1/2″ แต่กับระบบลำโพง A5 กรวยลำโพงเคลื่อนที่เพียงไม่ถึง 1/8″ เท่านั้นเอง แสดงถึงความเป็นเชิงเส้นของไดร์เวอร์ได้เป็นอย่างดี
เหมือนกับ 1505B ฮอร์นสั้นหน้าตู้ควรปล่อยให้เปิดโล่งไว้ แนะนำให้ติดไม้อัดบางๆจะดูสวยงามกว่าสีเทาเดิมของตู้ 828 รุ่นหลังๆ อาจจะสร้างขารองเป็นไม้เนื้อแข็งสำหรับวางฮอร์น 1505B กับคอมเพรสชันไดร์เวอร์ 288 ซึ่งปกติจะติดตั้งด้วยขาตัว L สูง 4 นิ้ว และมีที่ปรับความสูงทางด้านหลังทำจากไม้อัดที่ทาสีหยาบๆ  อาจจะทำขึ้นมาใหม่โดยเป็นขึ้นมาเป็นแบบตัว T มีด้านล่างเป็นทิปโทรับน้ำหนักสามจุด ทำให้ฮอร์น 1505 ก้มลงเล็กน้อย ขารับฮอร์นช่วยป้องกันแรงสั่นสะเทือนจากตู้เบสส์ไปรบกวนการทำงานของฮอร์น

ครอสส์โอเวอร์รวมระบบเข้าด้วยกัน

ถ้าไม่ได้รับข้อมูลที่ดีจาก M.Hiraga ป้อนให้ในเรื่องของการออกแบบครอสส์โอเวอร์ที่เหมาะสม ก็อาจจะต้องคงต้องเสียเวลามากในการทำการทดลอง แต่ที่เราเห็นนี้ก็เป็นผลจากการคลุกคลีตีโมงกับระบบลำโพงนี้มากว่า 10-20 ปี และเขาก็ได้ถักทอเข้าเป็นระบบที่การันตีได้ว่าเข้าขั้นประสบความสำเร็จ
ครอสส์โอเวอร์ดั้งเดิมของ Hiraga ที่แสดงวงจรในตอนก่อนหน้าจะเป็นทั้งแบบอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม และปรับค่าให้เหมาะสมกับไดร์วเวอร์อิมพีแดนซ์ 16 โอห์ม โดยเพิ่ม R5 เพื่อแมทช์ระดับความดัง โดยผ่านการจำลองการทำงานของวงจรโดยใช้โปรแกรม SPICE  ซึ่งเป็นโมเดลที่แม่นยำพอ ซึ่งต้องเพิ่มตัวต้านทาน 2.5 โอห์ม เพื่อเป็นโหลดจำลองเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ของแอมป์ซิงเกิลไตรโอดทั่วไปขณะทำการ ไดร์วเน็ตเวิร์คชุดนี้
L1 และ C1 ทำงานเป็นออร์เดอร์ที่ 2 แบบบัตเตอร์เวิร์ธผ่านความถี่ต่ำ 500Hz ไปยังไดร์เวอร์ 515 เป็นวงจรที่ดูเรียบง่าย และคลาสสิค อาจจะใช้ขดลวดแกนเฟอร์ไรต์รับกำัลังได้ 500W ที่มี DCR ต่ำเพียง 0.5 โอห์ม หรือแกนอากาศที่ใช้ลวดคุณภาพดีๆที่ให้ DCR ต่ำๆ และใช้ตัวเก็บประจุชนิดโพลีโพรไพลีนแช่ในน้ำมันทนแรงดันได้ 660VAC และตัวเก็บประจุชนิดกระดาษสำหรับส่วนโลว์พาสส์ หรืออาจจะใช้แบบกระดาษแช่น้ำมันของรัสเซียก็ได้เช่นกัน แนวคิดคือต้องการให้อุปกรณ์ครอสส์โอเวอร์รับภาระได้สบายๆในการใช้งานปกติ
ที่ความถี่สูงจะซับซ้อนหน่อยโดยประกอบไปด้วยวงจรไฮพาสส์ออร์เดอร์ที่ 2 ใช้ L2 และ C2 ใช้ขดลวดแกนอากาศที่มีค่าเหนี่ยวนำต่ำที่ความถี่ 10kHz และใช้ตัวเก็บประจุกำลังสูงเป็นชนิดน้ำมัน  มี R2 สำหรับควบคุมค่า Q สูงสุดของขดลวด และแดมป์พลังงานจากการโอเวอร์ชูตแบบเฉียบพลัน โดยจะมีผลต่อการทำงานน้อยที่สุดเมื่อทำงานในภาวะปกติ L3 และ C3 ต่อกับ R3, R4 และ R5 ทำหน้าที่เป็นตัวดักการเรโซแนนซ์โดยการควบคุมค่า Q และกดสัญญาณที่ 115dB ของการตอบสนองความถี่เสียงกลางของ ไดร์เวอร์ 288 ให้ลงมาเหลือ 100dB และลดระดับการกดสัญญาณความถี่สูงไปจนถึง 16kHz
ผลการตอบสนองความถี่ของครอสส์โอเวอร์ดังแสดงในกราฟก่อนหน้า หมายเหตุว่าจะกดสัญญาณช่วง 1-5kHz ลง 12dB (มากว่า 4 เท่าของแรงดัน หรือ 10 เท่าของกำัลัง) เพื่อให้การตอบสนองความถี่ค่อยๆโรลล์ออฟลงอย่างเป็นธรรมชาิติ โดยมี L3 ที่เป็นแกนอากาศ และ C3 เป็นแบบน้ำมันทำงานที่ 19kHz ได้สบายๆ

ถ้าใ้ช้อุปกรณ์ดีๆในการสร้างครอสส์โอเวอร์คู่นี้คาดว่าใช้งบเป็นหลายหมื่นบาทเลยกระมัง เช่นน่าจะเปลี่ยน L1 ในวงจรส่วนของวูฟเฟอร์เป็น Copper Foil หรือไปใช้ขดลวดระดับเทพๆแทนก็สุดแ้ท้แต่จะสรรหากัน คุณสามารถปรับค่า R5 เพื่อปรับระดับความดังได้  นแนะนำให้ใช้ค่า 5 – 20 โอห์ม ซึ่งทำให้คุณสามารถปรับระดับความดังโดยไม่มีผลต่อจุดตัดของครอสส์โอเวอร์ หรือใช้ L-Pad ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับใช้งานกับลำโพงจะเหมาะสมกว่าครับ
เชื่อว่าครอสส์โอเวอร์ที่จุดตัด 500Hz เป็นจุดที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ตามที่ Fletcher Munson แสดงกราฟการตอบสนองของหูมนุษย์ไว้ว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ความถี่นี้ ถ้าจุดตัดที่ต่างออกไปจะสูงกว่า หรือต่ำกว่าผลการรับฟังก็จะต่างออกไป

การปรับเฟสไดร์เวอร์เบสส์และมิดเรนจ์

เนื่องจากฮอร์น 1505B แยกอิสระจากตัวตู้เบสส์ทำให้คุณสามารถทำการปรับชดเชยเฟส โดยการเลื่อนเดินหน้าถอยหลังฮอร์นผลที่ได้คือเสียงเบสส์กับโฟกัสเสียง ณ ตำแหน่งพื้นที่นั่งฟัง ซึ่งคล้ายๆกับการจัดลำดับไดร์เวอร์แต่ละตัวของระบบลำโพงใหญ่ๆอย่าง Wilson ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้งานในการเซ็ตอัพระบบ และปรับให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
เริ่มจากวางลำโพงห่างจากผนังด้านหลัง 8″ โทอินเข้าหาตำแหน่งนั่งฟังโดยให้กึ่งกลางตู้ห่างจากผนังด้านหลัง 10-11″ และด้านข้างห่างจากผนัง 55″ ได้อิมเมจค่อนข้างดีที่ตำแหน่งนี้ ใช้ซอฟต์แวร์ Bestplace จาก RDI ตรวจสอบดูพบว่ามีการโ้ด่งขึ้นประมาณ 6-8dB ที่ความถี่ 40Hz ถ้าคุณวางลำโพงในห้องขนาดใหญ่ และลำโพงห่างจากผนังด้านข้างเยอะ อาจจะเสริมปีกลำโพงทั้งสองข้างเพื่อเพิ่มเบสส์ออคเต็พว์สุดท้ายให้ลงได้ต่ำถึง 40Hz วางลำโพงให้ใกล้ผนังมากที่สุดจะดีที่สุด เพราะมันจะลดแรงปะทะได้มากกว่าตั้งลำโพงลอยๆ และควบคุมทิศทางของความถี่ช่วง 150Hz ได้ดีกว่า นั่นหมายถึงอิมเมจจะไม่เบลอ ถ้าติดผนังมากเกินไปก็จะทำให้มิดเบสส์เยอะเกินไป

พบว่าการเลื่อนลำโพงเพียงสองสามนิ้วก็มีผลแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับขนาดและ สภาพห้อง ห้องฟังมีขนาดค่อนข้างเล็กแต่ก็พอจะเป็นแนวทางได้ด้วยขนาด 19x23x8 1/2 ฟุต วางลำโพงให้ห่างตำแหน่งนั่งฟัง 13-15 ฟุต ระหว่างลำโพง 11 ฟุัต ที่ระยะนี้สามารถทำให้ลำโพงขนาดนี้ล่องหนได้ และมีอิมเมจที่เกิดขึ้นทั้งระหว่่าง, ด้านหลัง, และด้านหน้าลำโพง ตามรูปแบบการบันทึกเสียง
ในขั้นตอนการปรับตำแหน่งฮอร์นใช้ไฟฉายช่วยเพื่อให้แน่ใจว่าไดอะ แฟรมของไดร์เวอร์ตรงกลางฮอร์นพุ่งตรงไปยังตำแหน่งนั่งฟัง หลังจากได้มุมที่เหมาะสมแล้ว ให้ทดลองปรับฮอร์นเลื่อนเดินหน้าถอยหลัง ให้สัมพันธ์กับวูฟเฟอร์ ทดสอบด้วยการฟังด้วยเพลงร้องผู้หญิงให้ได้เสียงลื่นไหลมากที่สุด การเลื่อนเดินหน้าถอยหลังเพียง 1/8″ ก็ให้ผลของเสียงต่างกันแล้ว

 

ทำไมถึงไม่ใช้ครอสส์โอเวอร์ดั้งเดิมละ?

ตอบง่ายๆก็เพราะสำหรับโรงภาพยนตร์ต้องการครอสส์โอเวอร์ที่ออกแบบมาเฉพาะไม่มีการสูญเสียใดๆ ความไวสูง เพราะต้องให้ลำโพงสามารถเปล่งคลื่นเสียงขจรขยายครอบคลุมทั้งโรง ให้เสียงชัดจะแจ้งทั้งเสียงพูดและเสียงเพลง
แต่ในห้องฟังคุณต้องทำการลดทอนสัญญาณของฮอร์นลงอย่างน้อย 12dB คุณถึงจะได้รับฮาร์โมนิคของความถี่สูงได้ดีที่สุด จึงจะได้ฮอร์นที่ให้เสียงหวานในย่านความถี่สูง และเสียงนุ่มนวลขึ้น โดยยังคงรายละเอียดและความสมจริงไว้ได้ ถ้าปรับ EQ ของครอสส์โอเวอร์ได้อย่างถูกต้องมันจะให้เสียงที่เป็นธรรมชาติ มีพละกำลัง และความเีพี้ยนเสียงต่ำมาก โดยยังให้ความหวาน และเสียงที่เต็มไปด้วยรายละเอียด
ความเพี้ยนของระบบลำโพงนี้ที่ความถี่สูงกว่า 100Hz ที่ 100dB จะต่ำกว่า 0.05%! ที่ความดังขนาดนี้ความเพี้ยนของลำโพงยังน้อยกว่าแอมป์ Orfeo ที่ใต่ไปถึง 0.07% ที่กำลังขับ 1W คาดว่านักฟังส่วนใหญ่ไม่เคยได้ฟังลำโพงที่มีึความเพี้ยนต่ำขนาดนี้ แน่ๆ ระบบลำโพงนี้จัดได้ว่าเป็นลำโพงที่ให้เสียงยอดเยี่ยม รายละเอียดเสียงเป็นธรรมชาิติ และไดนามิคเสียงในระดับแสดงสด

พลังเสียงย่านความถี่สูงลมหายใจแห่งดนตรี
ทวีตเตอร์แบบโดมโดยส่วนมาก (จริงๆมันก็ทั้งหมด) จะให้เสียงย่านความถี่สูงๆออกมาแห้งๆ ขาดเนื้อหนัง และพลังเสียงที่จะเติมเต็มโครงสร้างฮาร์โมนิของดนตรี เนื่องจากทวีตเตอร์เหล่านี้มีช่วงไดนามิคเฮดรูมแคบ องค์ประกอบการทำงานร่วมกันของ 288/1505B ปลดปล่อยให้ความถี่สูงอบอวลไปทั้งห้องได้ สร้างบรรยากาศและรายละเอียดทางฮาร์โมนิค ที่ให้รู้สึกได้ว่ามันมีชีวิตชีวา

เสียงความถี่ต่ำๆจากระบบลำโพงนี้..อาจจะประทับใจเพื่อนคุณ
Altec A5 เล่นเสียงเชลโล, กลองทิมปะนี, และอะคูสติคเบสส์ออกมาได้ดีที่สุดเท่าที่คุณจะได้ฟังจากลำโพง โดยมีเสียงกลางที่อิ่มใหญ่จากฮอร์นสั้น ให้เสียงเบสส์ที่ปราศจากอาการสั่นค้าง แต่ถ้าเบสส์แบบนี้ยังไม่เป็นที่ประทับใจเพื่อนคุณก็บอกให้เขาไปซื้อลำโพงแบบอื่นเถิด หวังว่าคงจะมีระบบลำโพงอื่นที่สามารถทำได้ตามที่เขาตองการ

บทเพิ่มเติม
หากได้อ่านบทความล่าสุดใน Journal of the Audio Engineering Society (Vol. 44, No. 1/2, 1996 January/February) ซึ่งได้ตอกย้ำว่าทำไมฮอร์น 1505B ถึงได้ให้เสียงออกมาดีกว่าฮอร์นเสียงกลางตัวอื่นๆ เท่าที่ได้ประสบมา ในบทความที่ชื่อว่า “The Sound of Midrange Horn for Studio Monitors” ได้กล่าวถึงโครงสร้างที่ดี และทดสอบเปรียบเทียบเสียงมิดเรนจ์ฮอร์นที่ความถี่ 1kHz ถึง 4kHz กับฮอร์นอ้างอิงหลายๆแบบ พบว่ามีกุญแจสำคัญสองประการที่มีผลต่อประสิทธิภาพของฮอร์น ความยาวของฮอร์นมีผลโดยตรงต่อเวลาเดินทางของคลื่นเสียง ฮอร์นของ Altec มีความยาว และพื้นที่ปากฮอร์นค่อนข้างใหญ่พอที่จะครอบคลุมความถี่คัตออฟได้
กุญแจสำคัญตัวที่สองคุณภาพเสียงในเชิงนามธรรมขึ้นอยู่กับการแผ่ออกของตัว ฮอร์น โดยอัตราการแผ่จากช่องคอถึงปากฮอร์นจะเพิ่มขึ้นตามความยาวของฮอร์น ถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงนี้ยุติก่่อนหมดความยาวจะมีผลโดยตรงต่อความถี่กลาง สูง และความถี่สูงจะเกิดการสะท้อนไปมาภายในฮอร์นทำให้เกิดความเพี้ยนของเสียง ถ้าอัตราการแผ่ของฮอร์นดีและใช้คอมเพรสชันไดร์เวอร์ได้เหมาะสมก็จะให้คุณภาพ เสียงที่ดีได้

ฮอร์นมัลติเซลล์ของ Altec ให้เสียงออกมาคล้ายกับลำโพงอิเล็กโตรสเตติค QUAD ฟังแล้วจะไม่คล้ายเสียงของฮอร์นไม่ว่าจะเป็นใครฟัง หรือแม้กระทั่งนักฟังหูทองที่นิยมทดสอบเสียงในเชิงนามธรรมก็ตาม แม้จะเป็นการออกแบบที่เ่ก่าๆแต่ก็เก๋าตั้งแต่อยู่ในโรงหนังปี 30-40 แล้วครับ