Lowther ที่สุดของฟูลเรนจ์

สืบเนื่องจากงาน “Keep it Analog Meeting 2016” ในวินเทจสัญจร มีลำโพงที่ชื่ออาจจะไม่คุ้นหูนักเล่นวินเทจสักเท่าไหร่ นั่นก็คือลำโพงฟูลเรนจ์ “Lowther” ที่สร้างความประทับใจ และประหลาดใจไปกับไดร์เวอร์ขนาดเพียง 8 นิ้วดอกเดียว สามารถสร้างเสียงได้ครบแบบมีคุณภาพทั้งทุ้มกลางแหลม  แต่ลำโพง “Lowther” กลับเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักเล่นแบบ  DIY ด้วยความไวสูงมากเฉพาะไดร์เวอร์เปล่าๆก็มีความไวถึง 99.5 ดีบี ถ้าลงตู้แล้วบางแบบความไวจะสูงถึง 107 ดีบีกันเลยทีเดียว ทำให้สามารถเล่นแอมป์วัตต์ต่ำๆ อย่าง 101D, 45, 2A3 ได้เสียงดันลั่นบ้าน และไม่ยุ่งยากในการทำครอสส์โอเวอร์แบบลำโพงหลายทาง

ลำโพงแบบหลายทางกว่า 99% จะออกแบบให้มีจุดตัดความถี่ที่ 500-5000Hz เป็นช่วงความถี่ที่หูคนเราได้ยิน และสมองรับรู้ได้ไวที่สุด นิยมใช้ทวีตเตอร์แบบโดมที่ต่อกลับเฟส (โดมทวีตเตอร์เหมารวมทุกชนิด ไม่เพียงแค่โดมโลหะ) โดยคาดหวังว่าเจ้าโดมทวีตเตอร์นี้จะถ่ายทอดเสียงย่านความถี่สูงให้ไปไกลที่ สุดทอดยาวที่สุด แต่ักลับเกิดปัญหาขึ้นเมื่อเสียงแหลมจากโดมทวีตเตอร์สะท้อนกับหน้าได ร์วเวอร์, หน้าตู้ลำโพง, และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้คลื่นเสียงกว่าจะวิ่งถึงหูคนฟังมีการดีเลย์ทำให้เกิดเงาของเสียงทำให้ อิมเมจไม่ชัดเจน เกิดอาการวูบวาบของอิมเมจให้รับรู้เพียงซ้าย,ขวา,กลาง แต่ไม่สามารถรับรู้ถึงความลึกของอิมเมจทำให้การรับฟังไม่มีทางรับรู้ถึงความ เป็นสามมิติของเวทีเสียง
ปัญหาของโดมทวีตเตอร์อีกข้อก็คือ ปกติแล้วส่วนการเคลือนที่ของตัวโดมเองจะมีน้อยมาก แต่ส่วนที่เคลื่อนที่แล้วทำให้เกิดเสียงก็คือวอยซ์คอยล์ ลองนึกภาพโดมทวีตเตอร์ที่มีขนาดวอยซ์คอยล์ 16mm ซึ่งเป็นขนาดความยาวคลื่นของความถี่ 20,625Hz หรือครึ่งหนึ่งคือ 10,312.5Hz ถ้าคุณนั่งฟังอยู่นอกแกนของมุมกระจายเสียง ทำให้เสียงที่ได้ยินเกิดการกลับเฟสของสัญญาณถ้าคุณต้องการฟังเพลงแบบมีอิมเมจดีๆ ลำโพงต้องหันหน้าเข้าหาตำแหน่งนั่งฟังตรงๆ หรือโทอินจึงจะได้ อิมเมจความเป็นสเตริโอที่สมบูรณ์แบบ

The Voigt Legacy

ในอดีตมีลำโพงที่สร้างแบบเรียบง่าย ความไวสูง ตอบสนองความถี่ได้ถึง 20kHz ไม่มีเสียงแหลมที่บาดหู หรือเบสส์ตูมตาม มันเป็นลำโพงที่สร้างโดยสุภาพชนท่านหนึ่ง Mr. P. G. A. H.  Voigt กลับไปในปี 1920 Voigt กำลังสาละวนอยู่กับการออกแบบลำโพงขดลวดเคลื่อนที่ซึ่งเขายังไม่ทราบว่า ในช่วงเวลานั้นมี Rice & Kellogg ก็กำลังทำงานพัฒนาลำโพงแบบเดียวกันอยู่ ลำโพงทั้งสองเป็นแบบกรวยมีขนาดกลางราวๆ 6 1/2 นิ้ว ซึ่ง R&K สามารถถือครองสิทธิบัตรได้ก่อน Voigt ทำให้ Paul Voigt ไม่สามารถใช้ประโยชน์สิ่งประดิษ์ฐ์ของตนในเชิงพาณิชย์ได้
ในช่วงนั้น Voigt ทำงานอยู่ในบริษัทเล็กๆในอังกฤษชื่อว่า J.H. Hough, Ltd. (ซึ่งตอนหลังกลายเป็นบริษัท Edison Bell) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับวิทยุ และระบบบันทึกเสียง ณ ที่นี้ Voigt ได้จดสิทธิบัตรคอนเดนเซอร์ไมโครโฟน และเครื่องตัดแผ่นเสียงแบบไฟฟ้า ซึ่งแต่เดิมเครื่องตัดแผ่นเสียงจะเป็นแบบอะคูสติคล้วนๆ

Voigt ได้ออกมาตั้งบริษัทของตนเองชื่อว่า Voigt Patents Ltd. หลังจากที่ Edison Bell ปิดตัวในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1933 ในช่วงนั้นได้มีการพัฒนาลำโพงชื่อดังขึ้นมานั่นคือ Voigt Corner Horn ซึ่งเป็นลำโพงฟิลด์คอยล์ (ใช้ไฟ 200V 42W) ขนาดกรวยลำโพง 6 นิ้วด้านหน้ากรวยติดตั้ง Tractrix Horn สำหรับกระจายเสียงกลางแหลม และด้านหลังของกรวยเป็นห้องสำหรับสร้างคลื่นความถี่ต่ำ “bass chamber” ต่อมาอีกประมาณสองสามปี Voigt ก็ได้จดสิทธิบัตรกรวยลำโพง “twin cone” หรือกรวยสองชั้น ถ้าเขาไล่เก็บเงินจากค่าสิทธิบัตรนี้ก็รวยเละแล้ว ไดร์เวอร์ในแบบนี้ถูกนำไปใช้ในลำโพง Corner Horn ตามมาด้วยแนวคิดอันชาญฉลาด–นั่นคือวอยซ์คอยล์แบบพันสองชั้น โดยพันชั้นแรกไปรอบหนึ่งแล้วทบพันอีกรอบทับใส่กาวเยอะๆ ลวดที่ใช้เป็นลวดอลูมิเนียม ตัวกรวยลำโพงขึ้นรูปจากแผ่นกระดาษทาทับด้วยกาว, แล็คเกอร์ และน้ำยาวานิช ติดกับสไปเดอร์ และวอยซ์คอยล์ของ Voigt ที่ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี และยึดกรวยเข้ากับเฟรมด้วยขอบนุ่มๆ

ในช่วงเวลา 1930 นั้นเองก็มีบริษัทเล็กๆแห่งหนึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์คุณภาพสูง สำหรับระบบไร้สาย และแผ่นเสียง บริษัทนี้ื่ชื่อว่า “Lowther” ดำเนินกิจการโดย Mr. Peter Lowther ต่อมาชื่อของทั้งสองก็ผนวกกันอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน  อะไร?ทำให้  Voigt สามารถสร้างลำโพงให้ออกมาอย่างมีคุณภาพสูง  ในยุคนั้นแผ่นเสียงที่ใช้งานกันอยู่ความถี่สูงขึ้นไปได้อย่างเก่งก็ 5kHz ยุคนั้นไม่มีวิทยุ FM มีแต่คลื่น AM ทว่า Voigt สามารถสร้างลำโพงออกมาโดยสามารถตอบสนองความถี่สูงได้ถึง 13,000Hz เขาทำได้อย่างไร?

ลืมเสียงจากวิทยุ AM ไปได้เลยต่อให้ใช้ระบบเสียงคุณภาพดีแค่ไหนก็ตาม ระบบกระจายเสียงคลื่น AM ในยุคนั้นถูกจำกัดแบนด์วิดธ์ไว้เพียง 8kHz เสียงเพลงจากวิทยุ AM ออกมาคล้ายกับฝนตกลงหลังคาสังกะสีจนไม่สามารถเรียกว่า โลว์ไฟ ต้องเรียกว่า โนไฟ…

เมื่อเจ็ดแปดสิบปีก่อนคลื่นส่งกระจายเสียงยังไม่มาก สถานีวิทยุสามารถส่งคลืนวิทยุได้แบบไม่ต้องจำกัดจำเขี่ยแบนด์วิดธ์ ในยุคนั้นไมโครโฟนคุณภาพดีก็มีใช้งานกันแล้ว ลองนึกภาพการฟังเพลงในยุค 1935 ดูว่า เขาสามารถปรับเครื่องรับวิทยุเพื่อฟังคอนเสิร์ตเล่นสดๆจากสถานีวิทยุ BBC ถ่ายทอดเสียงกันสดๆผ่านไมโครโฟนโดยไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งเสียงใดๆเลย (อันนี้จริงมันไม่มีเครื่องมือปรุงแต่งเสียงเลยในยุคนั้น) เสียงก็ถูกส่งผ่านระบบกระจายเสียงความถี่วิทยุเลย โดยไม่มีการจำกัดแบนด์วิดธ์

ที่บ้านของ ‘เรดิโอไฟล์’ ก็ไม่ได้มีอะไรมากมาย มีเพียงเครื่องรับวิทยุที่ให้การตอบสนองความถี่ดีๆ ในยุคนั้นยังไม่มีแม้กระทั่งเครื่องรับวิทยุซุปเปอร์เฮดโทไดน์ ความไวขึ้นอยู่กับสายอากาศล้วนๆ ส่วนที่ัซับซ้อนที่สุดเครื่องเครื่องรับวิทยุยุคนั้นก็คือวงจรขยาย R.F สองสเตจ และวงจร ‘ไดโอด’ สำหรับกรองความถี่วิทยุทิ้งให้เหลือเพียงความถี่เสียง เครื่องขยายเสียงในยุคนั้นใช้หลอดไตรโอด PX4 พุชพูลคลาสส์ A ทำหน้าที่ขับลำโพง Corner Horn ของเขา

 

Lowther ผ่านสู่ยุคไฮไฟ
Voigt อพยพจากอังกฤษในช่วงสิ้นสงครามโลกครั้งที่สองด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพ เขาต้องย้ายไปอาศัยที่ๆอบอุ่นกว่านั่นคืออเมริกาเหนือ งานออกแบบของ Voigt ยังอยู่ในมือของ Lowther และหุ้นส่วนของเขา Mr. Donald Chave และ Mr. Mordant ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นเจ้าของบริษัทผลิตลำโพง Mordant Loudspeakers และมีบทบาทสำคัญมาก

ตู้แบบ Corner Horn ของ Voigt กลับมาผลิตอีกครั้งหลังสงครามโลก โดยยังคงรูปแบบเดิมแต่ภายใต้การผลิตของ Voigt & Chave กลับต่างออกไป เนื่องจากเปลี่ยนไดร์เวอร์ไปใช้แม่เหล็กถาวรที่มีการค้นพบเมื่อปี 1940
ไดร์วเวอร์ของ Chave รุ่น PM-1 ได้ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ โดยเพิ่มฟลักซ์แม่เหล็กในช่องว่าง และไม่จำเป็นต้องป้อนไฟตรง 200V อีกต่อไป ต่อมาก็พัฒนาสู่รุ่น PM-2 ก็ไม่มีสไปเดอร์แบบดั้งเดิมของ Voigt ภายใต้การปรับเปลี่ยนนี้ Chave ก็ได้ใส่เฟสปลั๊กตรงกลางวอยซ์คอยล์เข้าไปด้วย ซึ่งเฟสปลั๊กนี้ช่วยลดการหักล้างกันเองของความถี่สูงทำให้ผลการตอบสนองความ ถี่ดีขึ้นจาก 13,000Hz กลายเป็น 18,000Hz

ตามมาด้วยไดร์เวอร์รุ่น PM3 เป็นรุ่นพิเศษผลิตออกมาเพือใช้กับตู้แบบ TP1 (ลำโพงที่ฟังกันในงาน Keep It Analog Meeting 2016) เป็นตู้ที่มีฮอร์นด้านหน้าเป็นแบบฮอร์น Tractix และมีเอ็กโปเนนเชียลฮอร์นสำหรับเสียงเบสส์ เช่นเดียวกับรุ่น Corner Horn ตู้แบบ TP1 ต้องวางติดมุมห้องเช่นกัน  ภายหลังจากการปรับปรุง Voigt Corner  Horn กลายมาเป็นตู้รุ่น PW2  ได้พัฒนาไดร์วเวอร์รุ่นน้องเล็ก PM6 ออกมาซึ่งมีขนาดแม่เหล็กใหญ่กว่า เส้นแรงแม่เหล็กแรงกว่าตอนเปลี่ยนให้กับ PM1 ตู้แบบ PW2 กลับไม่ได้ดีเหมือนกับรุ่นดั้งเดิม Voigt Corner Horn แต่มีราคาถูกกว่ามาก ตามติดมาด้วยไดร์เวอร์ PM2 mkII (รุ่นที่แม่เหล็กใหญ่ที่สุดของ Lowther), PM2 mkIII (เหมือนกับ mkI แต่ตัวยึดต่างกัน), PM4 (PM2 mkII แต่ขั้วแม่เหล็กผสมโคบอลต์) และปิดท้ายด้วย PM7 ซึ่งมีขนาดเล็กลง ซึ่งคิดว่าเป็นรุ่นที่ดีกว่ารุ่นใหญ่ๆ อย่าง PM2 เพราะติดตั้งและใช้งานได้ง่ายกว่า

ทุกรุ่นจะมีกรวยกับโครงลำโพงพื้นฐานที่เหมือนกัน PM2 และ PM4 จะมีเฟรมสำหรับประคองแม่เหล็ก เนื่องจากเฟรมของลำโพงไม่สามารถรับน้ำหนักแม่เหล็กได้เพียงพอ รุ่น PM3 ดูเหมือนกับว่ามันถูกยึดติดกับกระทะท้องแบนปิดฝาด้วยกรวยลำโพงหน้าตาเหมือน ฝาบิดกระทะ แถมมีเฟสปลั๊กหน้าตาเหมือนที่ี่จับฝาหม้อ
เฟสปลั๊กของไดร์เวอร์จะมีสองแบบ แบบที่มีขนาดเล็กเรียวใช้สำหรับการลงตู้ปกติที่ไดร์เวอร์อยู่ด้านหน้าตู้ไม่มีฮอร์น ส่วนแบบที่ีมีขนาดใหญ่ใช้สำหรับกรณีที่ต้องติดตั้งไดร์เวอร์ลงในตู้แบบมีฮอร์น

ตู้ลำโพงของ Lowther ที่ผลิตออกมาเป็นตัวหลักในช่วงปี 1960 คือตู้แบบ Acousta จากเดิมทีตู้ลำโพง Lowther จะมีสองแบบเป็นลำโพงที่วางเข้ากับมุมห้องเพื่อกระจายเสียงออกมาทั่วห้อง และมักเป็นรุ่นที่ดีกว่า กลายมาเป็นตู้แบบยึดไดร์เวอร์ด้านหน้าและมีปากฮอร์นออกมาทางด้านหน้าตู้

ตู้ของ Lowther ส่วนมากจะมีฮอร์นด้านหลังไดร์เวอร์ที่มีความกว้างคงที่ยกเว้นรุ่น TP1, Audiovector และ L.I.B (Lowther Ideal Baffle ใช้กรวยแบบ “drone cone”) Chase ออกแบบพัฒนาตู้ลำโพงอย่างต่อเนื่องจาก Corner Acousta รุ่นเล็ก กลายมาเป็น Dual Position Acousta และรุ่นมาตรฐาน Acousta ก็เปลี่ยนไปใช้ไดร์เวอร์ PM6 และ PM7

พอย่างเข้าสู่ปี 1970 ตู้แบบ Acousta ก็มีหลากแบบนับไม่ถ้วนทั้ง Mini Acousta, Super Acousta, Twin Acousta เป็นต้น ตัวตู้ก็เปลี่ยนวัสดุจากไม้อัดเป็นไม้ MDF มองได้ว่าเป็นการถอยหลังลงคลองครั้งใหญ่ Chave ควรจะฟังแนวคิดของ Voigt เมื่อสามสิบปีก่อนหน้านี้

Lowther…ในวันนี้
หลังจากช่วงปี 80 เป็นต้นมา Lowther ได้เปลี่ยนไปใช้แม่เหล็กแบบเซรามิคในการผลิตไดร์เวอร์แทนแม่เหล็กแบบอัลนิโก และยังคงดำเนินการผลิตไดร์เวอร์คุณภาพสูงออกมาอยู่ ลำโพงรุ่นหลังที่ใช้แม่เหล็กเซรามิคมีคุณภาพดีกว่ารุ่นเดิมที่ใช้แม่เหล็กอัลนิโก สายการผลิตลำโพงคงเหลือเพียงสองสามรุ่นที่ใช้แนวคิดแบบ “BICOR” หรือใช้ฮอร์นที่มีขนาดต่างกันสองแบบในตู้เดียวกัน  พบว่าตู้ลำโพงแบบนี้ไม่ได้ให้อะไรมากมาย เหมือนกับตู้ลำโพงในแบบดั้งเดิม ในยุคหลังได้ออกแบบปรับปรุงโครงตัวไดร์เวอร์ใหม่ ช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ได้ปรับเปลี่ยนไดร์เวอร์ Lowther-Voigt ถึงสี่ยุค ในยุคแรกจะเป็นโครงขนาดใหญ่เพื่อติดตั้งแม่เหล็กขนาดมโหฬารซึ่งเป็น ไดร์เวอร์ที่ผลิตช่วงปี 50 ต่อมาก็ปรับไปใช้โครงแบบโลหะผสมหล่อเป็นชิ้นเดียวโดยเป็นไดร์เวอร์ที่ผลิต ตั้งแต่ปี 70 เป็นต้นมา หลังจากนั้นก็พัฒนาเป็นโครงโลหะสีดำ ในช่วงปี 70 มีบางรุ่นผลิตไดร์เวอร์ที่ใช้โครงเป็นพลาสติคด้วย ไดร์เวอร์ Lowther ยังมีการผลิตอยู่ แต่เป็นในลักษณะของการสั่งผลิต โดยมีซีรีย์ EX (แม่เหล็ก Neodymium), DX (แม่เหล็ก Hi-Ferric), A (แม่เหล็ก Alcomax 3 หรือแม่เหล็กอัลนิโก), C (แม่เหล็ก Feroba 2 หรือแม่เหล็กเฟอร์ไรต์) หลังจากงาน Keep It Analog จบไปแล้ว หลายๆท่านมีโอกาสได้ฟังทั้ง Lowther ที่เป็นดั้งเดิมอย่าง TP-1 และ Lowther ในตู้แบบใหม่ คาดว่าแนวทางการเล่นในแบบ Fleawatt Amplifier หรือแอมป์วัตต์มด กับลำโพงประสิทธิภาพสูงนาม “Lowther” จะกลายเป็นอีกหนึ่งแนวทางการเล่นครับ

ถ้าคุณอยากเริ่มต้นกับ Lowther การเลือกซื้อหาไดร์เวอร์จากตลาดมือสองมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาเลือกซื้อดัง นี้ ขอบโฟมของไดร์เวอร์ Lowther ซึ่งมักจะเปื่อยผุพังตามอายุ สามารถส่งซ่อมโดยตรงกับ Lowther ที่อังกฤษ แต่ค่าซ่อมแพงมาก หรือสั่งขอบถ้ากรวยกับวอยซ์คอยล์ยังดีอยู่ส่งช่างซ่อมลำโพงบ้านเราทำการเปลี่ยนขอบได้ครับไม่แพง ห้ามลองเสียงไดร์เวอร์ Lowther กับแอมป์ทรานซิสเตอร์เป็นอันขาด เพราะกระแสไฟ DC รั่วไหลเพียงนิดเดียวก็ทำให้วอยซ์คอยล์บิดเสียรูปทรงได้เลย หรือคอยล์อาจจะขาดได้ ทำให้ไดร์เวอร์เสียหายหนักมากเพราะต้องยกทั้งกรวยเปลี่ยนหมดเลย
ช่องว่างของวอยซ์คอยล์ของ Lowther แคบมากเมื่อเทียบกับไดร์เวอร์ทั่่วไป ซึ่งทำให้เส้นแรงแม่เหล็กแรงขึ้นมาก อย่างรุ่น PM4A เป็นลำโพงเพียงหนึ่งเดียวที่มีเส้นแรงแม่เหล็กที่ช่องวอยซ์คอยล์แรงถึง 24,000 เกาส์! ซึ่งหาไม่ได้ในไดร์วเวอร์ตัวอื่นๆ

แม้กระทั่งรุ่นเล็กอย่าง PM6C ก็ยังมีเส้นแรงแม่เหล็กสูงมาก จุดนี้มีความจำเป็นมากในการช่วยให้ไดร์เวอร์สามารถตอบสนองความถี่สูงได้ดี ถ้าเทียบ PM4A กับรถยนต์ก็สามารถให้กำลังเทียบกับน้ำหนักตัวสูงถึง 1,000,000 BPH ต่อตัน!!! ที่น่าสนใจคือกลไกการทำงานของไดร์เวอร์ในการสร้างเสียงแต่ละความถี่ออกมาได้ จากกรวยลำโพงชุดเดียวกัน ความถี่สูงๆจะมาจากด้านในของวอยซ์คอยล์ (มีการใส่เฟสปลั๊กตรงจุดนี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความถี่สูงๆ) ความถี่สูงระดับรองลงมาจะเกิดขึ้นที่กรวยด้านในวิ่งสู่กรวยวิซเวอร์ และความถี่ต่ำลงมาก็ไล่มาจนถึงขอบ 6″
ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบตลอดถ้าป้อนสัญญาณจากเครื่องกวาดความถี่เพื่อวัดผลการ ตอบสนองความถี่ของไดร์เวอร์ จะพบว่ากราฟของไดร์เวอร์ Lowther ไม่ได้สวยงามนัก (โดยเฉพาะรุ่น PM6C จะมีอาการโด่งของการตอบสนองความถี่ที่ 11kHz) แต่ทดสอบแบบพัลซ์จะพบว่าผลการตอบสนองเทียบชั้นได้กับลำโพงอิเล็กโตรสเตติคดีๆได้เลย

ถ้าคุณอัดกำลังมากๆกับไดร์เวอร์ Lowther มันจะพังในทันที ดังนั้นใช้แอมป์ SE เล็กๆ หรือ PP เล็กๆ จะเหมาะกว่า แม้กระทั่งใช้แอมป์เพียง 15W ก็สามารถเผาวอยซ์คอยล์ของ Lowther ได้เลย แต่อย่าลืมว่าที่กำลัง 15W เมื่อเล่นกับ Lowther ความดังที่เกิดขึ้นจะสูงถึง 111dB! ซึ่งปกตินักเล่นที่ใช้ลำโพง Lowther มักใช้แอมป์ที่มีกำลังขับไม่เกิด 1,000mW กันทั้งนั้น

ตู้ลำโพงรุ่น TP1 และ Audiovector ดั้งเดิมราคาสูงมากในปัจจุบัน  คาดว่า Lowther ยังชุดลำโพงที่สมบูรณ์อยู่ในสต๊อคสภาพไม่ได้ใหม่กริ๊บๆ แต่ก็ได้รูปแบบคลาสสิคเดิมๆ อาจจะพบว่าลำโพงรุ่นใหญ่ๆของ Lowther จะมีแบบที่เชยสบัด และดูขัดๆพิกล แต่กลับเป็นลำโพงที่ให้เสียงออกมาดีมาก อย่างเช่น TP1 ซึ่งงานไม้ในการสร้างตู้ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย ถ้าคุณมีทักษะมีฝีมือด้านงานไม้ และแบบแปลนของ TP1 ก็สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีแปลนดั้งเดิมของ TP-1 ส่งสำเนามาให้ผมด้วยครับ จะได้ลงมือทำ TP-1 ขึ้นมาใหม่สำหรับใช้เองสักตัว