วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ 5

หลังจากที่ Dr. Harman หมดวาระการทำงานในทีมของประธานาธิบดี Carter ในท้ายปี 1978 เขาก็หวนคืนสู่วงการตลาดออดิโออีกครั้ง ช่วงเวลาที่ผ่านมา Beatrice พบว่าค่อนข้างลำบากมากในการทำอุตสาหกรรมออดิโอ เนื่องด้วยพวกเขาขาดประสบการณ์ทางด้านการตลาดทางด้านนี้อย่างมาก ทำให้ไม่ค่อยสร้างบทบาทได้โดดเด่นมากนัก ผลประกอบการจึงไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ดั้งนั้นเมื่อ Dr. Harman เข้าทาบทาม Beatrice จึงมีความเป็นไปได้สูงในการซื้อบริษัทคืน แบรนด์หลักภายใต้ Harman International ในช่วงนั้นที่ทาง Beatrice ได้จากการซื้อบริษัทก็คือ Harman Kardon, JBL, Ortofon และ Tannoy ในปี 1980, ก็ได้ทำความตกลงร่วมกับ Dr. Harman ว่าซื้อเฉพาะ JBL คืนจาก Beatrice ส่วนแบรนด์ Harman/Kardon เดิมถูกขายให้กับบริษัทญี่ปุ่น Shin-Shirasuna ซึ่งเป็นผู้จำหน่าย OEM ของ Harman/Kardon ส่วน Tannoy และ Ortofon ถูกแยกออกมาต่างหาก ภายหลังการตกลงซื้อขาย และมีข้อเสนอด้านการเงินเพิ่มเติมในการซื้อ  JBL, Dr. Harman ก็สามารถซื้อรวมกับ Harman International คืนมาด้วย หลังจากที่ขายให้กับ Beatrice เมื่อสามปีก่อน โดย Dr. Harman ได้ปรับโครงสร้าง Harman International โดยให้แบรนด์ JBL เป็นแนวหน้า เพื่อคืนสู่สังเวียนการตลาดต่อ เขาได้สร้างให้ Harman International กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

 

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ในปี 1980, JBL ประสบความสำเร็จในการพัฒนาลำโพงมอนิเตอร์ที่ให้ระดับเอาต์พุตสูง, แบนด์วิดธ์กว้าง นั่นคือมอนิเตอร์ซีรีย์ 4300 แต่มีคู่แข่งที่เป็นบริษัทเล็กๆ ผลิตอุปกรณ์สตูดิโอสังกัดอิสระนั่นคือ UREI ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายยุค 70s, มอนิเตอร์ของ UREI รุ่น 811 และ 813 ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางในตลาดสตูดิโอ โดยแบ่งตลาดลำโพงมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ของ JBL ยิ่งไปกว่านั้นนวัตกรรมของมอนิเตอร์ UREI นอกจากจะมีระบบเฉพาะ เน็ตเวิร์คจัดการเรื่องการเหลื่อมของเวลา และที่สำคัญใช้ไดร์เวอร์ของบริษัทคู่แข่งนั่นก็คือ Altec Lansing 604 Duplex ที่ผ่านการปรับแต่งแล้ว เป็นผลให้มอนิเตอร์ของ UREI ได้รับความสนใจอย่างมาก ลำโพงมอนิเตอร์ของ JBL มีข้อจำกัดจากระบบเป็นแบบสี่ทางที่ไม่มีการจัดการเรื่องการเหลื่อมของเวลา จากไดร์เวอร์แต่ละตัว ทำให้มีปัญหาเมื่อนำมาใช้งานในระยะห่างจากลำโพงน้อยกว่า 8 ฟุต หรือการฟังแบบ Near Field ซึ่งไดร์เวอร์แบบโคแอ็กเชียลจะได้เปรียบกว่ามาก หากใช้การจัดการในเรื่องการเหลื่อมของเวลาโดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ดังเช่นมอนิเตอร์ของ UREI) กับระบบลำโพงสี่ทางจะมีความซับซ้อนในการออกแบบมาก ลำโพงมอนิเตอร์ของ JBL ยังไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ไว้

ในช่วงที่มอนิเตอร์ซีรีย์ 4300 เปิดตัวขึ้นมา, ทาง JBL มุ่งเน้นไปที่การรับกำลังขับ เช่น ใช้วัสดุทนความร้อนสูง, โครงของวอยซ์คอยล์เป็น Kapton และซัสเพนชันที่แข็งแรงเพื่อให้ไดร์เวอร์เบสส์รับกำลังขับได้มาก ยังมีการพัฒนาวัสดุทำกรวยลำโพงที่ JBL ได้ทำการค้นคว้าเพื่อแก้ปัญหาการสั่นค้าง นั่นหมายถึงเบสส์ไดร์เวอร์ให้ผลการตอบสนองความถี่ต่ำได้ดีขึ้นนั่นคือให้เสียงเบสส์ได้ลึก และแบนด์วิดธ์กว้างขึ้นทำให้เลือกจุดตัดได้สูงขึ้น โดยยังไม่คำนึงถึงเรื่องการเหลื่อมของเวลาระหว่างไดร์เวอร์แต่ละตัว

พอเจอข้อจำกัดหลายๆอย่างเข้า JBL ก็กลับเข้ามาจัดการกับไดร์เวอร์สำหรับลำโพงมอนิเตอร์ให้เป็นระบบลำโพงสองทางแทน เป็นผลให้เกิดมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการชดเชยการเหลื่อมของเวลาสำหรับไดร์เวอร์แต่ละตัว โดยยังให้ระดับเอาต์พุตได้สูง และแบนด์วิดธ์กว้างดังเช่นมอนิเตอร์ซีรีย์ 4300 โดยมีรูปแบบเป็นลำโพงแบบสองทาง ฮอร์นสำหรับความถี่สูงสามารถทำงานร่วมกับเบสส์ไดร์เวอร์ได้เป็นอย่างดี แม้การฟังแบบเนีย ร์ฟิลด์ ลำโพงซีรีย์ใหม่นี้มีสองรุ่นคือ–แบบให้ระดับเสียงเอาต์พุตสูงใช้วูฟเฟอร์ สองตัวนั่นคือรุ่น 4435 และรุ่นรองลงมาใช้วูฟเฟอร์ตัวเดียวนั่นคือรุ่น 4430

องค์ประกอบทางคุณสมบัติที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ก็นำไปสู่มอนิเตอร์ซีรีย์ 4400 โดยพัฒนาจากรุ่นก่อนๆ และจากคู่แข่ง รองรับกำลังขับได้สูง ให้มุมในการฟังกว้างขึ้น คุณสมบัติสองประการนี้มอนิเตอร์ UREI ไม่สามารถให้ได้ จากความต้องการนี้ JBL จึงใช้มาพัฒนามอนิเตอร์ของตน การพัฒนาเทคโนโลยีฮอร์น Bi-Radial® โดยวิศวกรของ JBL ชื่อ David Smith เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบฮอร์นสองรุ่นที่อาศัยพื้นฐานจากฮอร์นรุ่นใหม่ ของ Keele ทำให้ได้ฮอร์นรุ่น 2344, ที่มีคุณสมบัติคือให้มุมกระจายเสียงกว้างถึง 100º ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน

ต้องใช้แนวทางในการพัฒนาครอสส์โอเวอร์ที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการตอบสนองของ Bi-Radial® และมีปุ่มควบคมุความดังของเสียงกลางแหลมแบบดั้งเดิมของระบบสองทาง ยังต้องปรับอีควอไลซ์ให้กับเน็ตเวิร์คสำหรับไดร์เวอร์ความถี่สูงเพื่อแก้ไขการโรลล์ออฟของความถี่สูงจากน้ำหนักของไดอะแฟรม (ฮอร์นแบบ Bi-Radial® ให้เสียงในแนวแกนที่มีการตอบสนองความถี่ตกลง ซึ่งต่างไปจากระบบ radial-horn แบบเดิมที่กลับกัน) ในตอนแรกใช้คอมเพรสชันไดร์เวอร์ 2421A ร่วมกับฮอร์นตัวใหม่นี้ แต่ก็เปลี่ยนมาเป็นรุ่น Alnico 2420 ที่ใช้ไดอะแฟรมอลูมิเนียมรุ่นใหม่ ที่ออกแบบพัฒนาขอบไดอะแฟรมเป็นลายเหมือนเพชร ซึ่งขอบแบบนี้จะช่วยยกระดับการตอบสนองความถี่สูงให้เกิดการเรโซแนนซ์ลำดับ ที่สองให้สูงกว่า 16kHz

เบสส์ไดร์เวอร์รุ่นใหม่สองตัวที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับระบบนี้คือ: รุ่น 2234H และรุ่น 2235H  โดยรุ่น 2235H เป็นรุ่นที่ปรับปรุงมาจากรุ่น 2231A,ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานกับมอนิเตอร์รุ่น 4300 ไดร์เวอร์ตัวใหม่พัฒนาให้สามารถรับกำลังขับได้เป็นสองเท่าของรุ่นเดิม และแก้ปัญหาเล็กๆน้อยๆของรุ่นก่อนนั่นคือ dynamic offset มักเกิดขึ้นเมื่อทำงานที่ความถี่ต่ำๆกรวยจะเคลื่อนเข้าออกอย่างแรง การสั่นนี้จะทำให้คอยล์เกิดการเลื่อนจากศูนย์กลางของช่องแม่เหล็ก, ทำให้เกิดความเพี้ยนทางเสียง และความดังเอาต์พุตลดลง Mark Gander ออกแบบระบบซัสเพ็นชันที่แข็งแรงแน่นหนาที่จะสร้างแรงต้านขึ้นเมื่อกรวยสั่นมากๆ ทำให้แก้ปัญหาไดนามิคออฟเซ็ตได้ และกลายเป็นเทคโนโนยีที่ทำไปสร้างไดร์เวอร์รุ่น 2235H และรุ่นร่วมสมัยอย่าง 2225H

มอนิเตอร์รุ่น 4430 ใช้ไดร์เวอร์ 2235H ตัวเดียว, ส่วนรุ่น 4435 ใช้ไดร์เวอร์ 2234H สองตัว ไดร์เวอร์รุ่น 2234H มันก็คือรุ่น 2235H แต่ไม่มีวงแหวนเพิ่มมวล ซึ่งทำหน้าที่ลดการกระพือแรงๆที่ความถี่ต่ำๆ ทำให้รุ่น 4435 มีความไวสูงกกว่า เพราะใช้ไดร์เวอร์ที่มีมวลเบากว่า ให้เสียงเบสส์ลงได้ลึกกว่ารุ่น 4430 ภายในจะแยกตู้อิสระสำหรับไดร์เวอร์ 2234H ทั้งสองตัว แต่จะจำกัดแบนด์วิดธ์ให้ไดร์เวอร์ตัวหนึ่งทำงานถึงแค่ 100Hz  การจำกัดแบนด์วิดธ์ให้เหลือเพียงวูฟเฟวอร์ตัวเดียวทำงานที่ 27-100 Hz ทำให้ผลการตอบสนองโดยรวมราบเรียบถึงลงมาถึง 30Hz โดยยังมีความไวมากกว่า 4430 ประมาณ 3 dB

มอนิเตอร์รุ่นนี้เปิดตัวในปี 1981 และนำไปสู่เป้าหมายในการเป็นมาตรฐานใหม่ของมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ ในปี 1983, ก็เริ่มมีการพัฒนามอนิเตอร์ที่ใช้ฮอร์น Bi-Radial® นั่นคือรุ่น 4425 ซึ่งถูกออกแบบโดย Dean Rivera ใช้เบสส์ไดร์เวอร์ขนาด 12″ ร่วมกับฮอร์น/ไดร์เวอร์รุ่นเล็ก 2342/2416H Bi-Radial® มอนิเตอร์ซีรีย์นี้ถือเป็นตัวหลักของ JBL ต่อมาอีกกว่ายี่สิบปี และเลิกผลิตไปในปี 2000 การเกิดขึ้นของฮอร์น Bi- Radial ก็เป็นการล่มสลายของระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ของ Altec Lansing ไปด้วย ในอดีต JBL พยายามเผชิญหน้ากับ Altec Lansing ในตลาดระบบเสียงโรงภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง มีทั้งสำเร็จแล้วล้มเหลว แต่ก็ผลักดันตัวเองให้มีส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆตลอด เวลา จนมาถึงในปี 1980 ความพยายามก็สัมฤทธิ์ผล เมื่อ Altec Lansing ไม่สามารถต้านแรงปะทะอย่างต่อเนื่องตลอด 30 ปีจาก JBL ในที่สุดก็สามารถทะลายปราการเข้าสู่อุตสาหกรรมระบบเสียงโรงภาพยนตร์ได้สำเร็จ ซึ่งไม่เคยทำได้สำเร็จตั้งแต่ปี 1945 นับจากที่ Altec Lansingได้ทำการเปิดตัวระบบลำโพง Voice of the Theatre (VOTT) ซึ่งเป็นระบบลำโพงที่เป็นมาตรฐานสำหรับโรงภาพยนตร์อย่างยากจะหาใครต่อกร หลังจากพัฒนาการถึงห้าคำรบในที่สุดระบบลำโพง JBL ก็กลายเป็นมาตรฐานระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ไปในที่สุดโดยมีนวัตกรรมใหม่ดังนี้ การพัฒนาแรกสุดคือระบบฮอร์น Bi-Radial® เป็นระบบฮอร์นแบบ constant directivity, หรือ CD ฮอร์น ซึ่งถูกพัฒนาโดย Don Keele ในปี 1973 เดิมเขาเคยทำงานที่ Electro-Voice ในยุคนั้นฮอร์นส่วนใหญ่จะเป็นแบบเอ็กโปเนนเชียลซึ่งเป็นฮอร์นที่พัฒนาโดย Bell Labs มาตั้งแต่ยุค 1920s ซึ่งฮอร์นทุกตัวที่เข้าข่ายนี้จะให้มุมกระจายเสียงแคบลงเมื่อความถี่สูงขึ้น เป็นผลมาจากรูปแบบการกระจายเสียงทางฟิสิกส์ของคอมเพรสชันไดร์เวอร์ เมื่อใช้ไดอะแฟรมโลหะขนาดใหญ่ก็จะทำให้เกิดการโรลล์ออฟความถี่สูงมากขึ้น เมื่อนำมาใช้กับฮอร์นแบบเอ็กโปเนนเชียลก็จะได้ผลดีเฉพาะเสียงในแนวตรงเท่า นั้น
Don Keele แก้ปัญหาโดยสร้างช่องกระจายเสียงเป็นช่องยาวๆแทนช่องคอฮอร์นปกติ เพื่อให้พลังงานอะคูสติคคงที่ และไม่แปรผันตามความถี่ โดยจะเป็นช่องเดียว (ปกติจะเป็นช่องแนวนอน) และมีระนาบฮอร์นผิวโค้งสองข้างเพื่อประคองให้เสียงเอาต์พุตมีความคงที่ (ปกติจะเป็นแนวตั้ง) Don Keele ได้เข้ามาเป็นพนักงานของ JBL ในปี 1980, ก็ได้ปรับแนวคิด CD ฮอร์นกลายมาเป็นฮอร์นในแบบของ Bi-Radial® ข้อดีที่เหนือกว่าของฮอร์นที่พัฒนาให้กับ JBL คือ Keele สามารถพัฒนาโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่มีความแม่นยำมากกว่าในการสร้าง ระนาบผิวโค้งของฮอร์นทำให้ Bi-Radial® สามารถจัดการปัญหาเรื่องการตอบสนองความถี่ในการออกแบบฮอร์นในแบบเดิมๆได้หมด สิ้น เมื่อแก้ปัญหานี้ได้แล้วระบบฮอร์นของ JBL ก็ปราศจากปัญหาการโรลล์ออฟความถี่สูงที่เป็นข้อจำกัดของคอมเพรสชันไดร์เวอร์ อันที่จริงปัญหานี้แก้ได้ไม่ยากนักคือปรับชดเชตความถี่ที่เน็ตเวิร์ค หรือที่แอมป์ก็ได้

ในการนำเสนองานวิจัยชิ้นนี้ก็ได้มีการสาธิตเทคโนโลยีใหม่ๆที่โรงภาพยนตร์ ของ Academy of Motion Picture Arts and Sciences ในลอสแองเจลิส ทาง JBL ก็ได้ประกอบต้นแบบลำโพงซึ่งประกอบไปด้วยไดร์เวอร์เบสส์รุ่น 2225 สองตัวติดตั้งลงตู้ 4508 และในส่วนของความถี่สูงใช้คอมเพรสชนไดร์เวอร์ 2441 และฮอร์น Bi-Radial® รุ่น 2360 ระบบลำโพงนี้ยังใช้ร่วมกับสับวูฟเฟอร์ที่ใช้ไดร์เวอร์รุ่นใหม่ขนาด 18″ สี่ตัวนั่นคือรุ่น 2245
การนำเสนอครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม สมาชิกที่เข้ามาร่วมทดสอบในการสาธิตต่างประหลาดใจกับระดับของประสิทธิภาพ ระบบลำโพง VOTT ที่เป็นมาตรฐานของวงการยังไม่มีแบนด์วิดธ์กว้างเหมือนกับต้นแบบของ JBL เนื่องจากตู้แบบผสมผสานระหว่างฮอร์น/รีเฟล็กซ์ที่เป็นหัวใจของระบบ VOTT จะให้การตอบสนองย่านมิดเบสส์ได้ไม่ดีนักเนื่องจากไม่มีเสียงแบบได เร็ค-เรดิเอเตอร์เหมือนกับต้นแบบของ JBL และการทำงานของฮอร์นแบบ Bi-Radial® ก็เหนือกว่าฮอร์นแบบมัลติเซลล์ของระบบ VOTT

การสาธิตในครั้งนี้ได้ชักนำให้ JBL ทุ่มเทพัฒนาเข้าสู่ตลาดระบบลำโพงโรงภาพยนตร์เป็นรอบที่สาม และรอบที่สี่ ในงานประชุมที่ AES มีผู้เข้าร่วมฟังการสาธิตนั่นคือ Dan Ross ซึ่งเป็นผู้บริหารของ Academy of Motion Picture Arts and Sciences ในปี 1983 ภายใต้แนวทางของ Ross ก็ได้ทำการปรับปรุงโรงภาพยนตร์ครั้งใหญ่โดยเปลี่ยนระบบเสียงใหม่ทั้งหมด Ross ประทับใจระบบที่สาธิตในงาน AES ทำให้เขามุ่งตรงไปหา JBL ให้ทำการผลิตระบบลำโพงระดับสเตต-ออฟ-ธิ-อาร์ตที่มีพื้นฐานมาจากลำโพงโรง ภาพยนต์ที่นำมาสาธิต เป็นผลให้ระบบลำโพงโรงภาพยนนตร์กลายมาเป็นโชว์เคส และประชาสัมพันธ์ความเป็นผู้นำในระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ของ JBL

ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนี้ Tomlinson Holman จาก Lucasfilm ได้เริ่มพัฒนาระบบที่กลายเป็นมาตรฐานของระบบ THX ซึ่งเป็นมาตรฐานและการรับรองกระบวนการของการบันทึกเสียง และเล่นกลับสำหรับภาพยนตร์ ที่มั่นใจได้ว่าผู้ชมภาพยนตร์จะได้ประสบการณ์ฟังเสียงที่ถูกต้องในการชม ภาพยนตร์ Holman ก็ได้ฟังการสาธิตลำโพงโรงภาพยนตร์ที่งาน AES ด้วยเช่นกัน และให้การตอบสนองในเชิงบวก เขาจึงสอบถาม JBL ในการสร้างตัวอย่างระบบลำโพงที่ใช้ไดร์เวอร์แบบเดียวกัน เพื่อพัฒนาระบบการเล่นกลับที่ได้มาตรฐาน ผลคือ JBL ก็ได้รับสิทธิในการเป็นมาตรฐานของระบบลำโพง THX เนื่องจากเป็นระบบลำโพงที่เป็นพื้นฐานในการกำหนดมาตรฐาน และเมื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ก็เป็นเจ้าแรกที่ได้การรับรองตามมาตรฐาน THX

การพัฒนาระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ครั้งที่ห้านี้ได้ปิดผนึก Altec ด้วยการปรับไปใช้มาตรฐาน THX ซึ่งมีการประการเป็นทางการครั้งแรกในปี 1983, ในปีถัดมาความต้องการปรับปรุงระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ให้ได้การรับรองตาม มาตรฐาน THX ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในปี 1984, Altec Lansing รวนไปทั้งบริษัท โดยเฉพาะในทุนในการดำเนินการ Altec ได้ขายโรงงานที่ดำเนินการมานานแสนนานไปทีละแห่งสองแห่ง JBL พบว่าตนได้ทำสำเร็จแล้วกับการเจาะตลาดระบบเสียงโรงภาพยนตร์ที่ความต้องการ ระบบของ JBL พุ่งทะยาน

ยังมีมอนิเตอร์อีกรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาในยุคนี้เช่นกันนั่นคือ 4312 ผลิตออกมาในปี 1982 เป็นมอนิเตอร์ที่พัฒนาจากรากเหง้าของ 4310 ที่ผลิตในปี 1968 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนอีกจุดหนึ่ง เดิม 4310 ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทดแทน Altec Lansing 604 Duplex ซึ่งยังไม่ได้ให้ความแม่นยำของเสียงมากนัก ต่อมาก็มีการพัฒนาเป็นรุ่น 4311 ทดแทนซึ่งให้การตอบสนองได้ถูกต้องแม่นยำกว่า และเป็นต้นกำเนิดมอนิเตอร์ซีรีย์ 4300 รุ่นอื่นๆในกลางยุค 70s

พอมาในยุคนี้ก็นำเอา 4311 มาปรับปรุงอีกครั้งกลายเป็นรุ่น 4312, ซึ่งเปลี่ยนจากครอสส์โอเวอร์เน็ตเวิร์คง่ายๆให้เป็นเน็ตเวิร์คที่ได้รับการ ปรับปรุงในเชิงวิศวกรรมให้สามารถรีดประสิทธิภาพออกมาได้สูงสุด โดยไม่เปลี่ยนสไตล์เสียงในแบบฉบับของ4311 ผลคือได้ระบบมอนิเตอร์ที่กลายมาเป็นตำนานอีกตัวหนึ่ง เป็นที่ต้องการของนักเล่นทั่วโลกโดยเฉพาะที่ญี่ปุ่น  แต่กลับไม่พบการใช้งานในสตูดิโอมากนัก กลับพบว่าถูกนำไปใช้เป็นลำโพงบ้านกันซะมากกว่า มอนิเตอร์ 4312 นี้ยังมีการพัฒนาต่ออีกหลายๆป โดยยังคงชื่อรุ่น 4312 ไว้เป็นสำคัญซึ่งมีการนับเวอร์ชันที่เกิดจากการพัฒนาในแต่ละครั้งดังนี้ 4312B, 4312BMKII, 4312M, 4312SX และยังมีต่อไปอีก รุ่นล่าสุดคือ 4312D ใช้เทคโลโลยีล่าสุดของลำโพง JBL อย่างเช่นนีโอไดเมียมที่ชื่อว่า Differential Drive®

ในปี 1996 ถือเป็นปีที่ครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้ง JBL และได้เปิดตัวลำโพงที่สำคัญสองรุ่นด้วยกันนั่นคือ— Century Gold และ 4344MKII มอนิเตอร์ 4344MKII เป็นการปรับปรุงใหม่ของมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ยอดนิยมที่สุดเท่าที่ JBL เคยสร้างมา เดิมที 4344 ได้หยุดผลิตไปมากกว่าสิบปี แต่เป็นลำโพงรุ่นที่ยังคงอยู่ในความสนใจของนักเล่น โดยเฉพาะในญี่ปุ่นความต้องการของลำโพงรุ่นนี้ยังมีมาก และยังคักคักต่อเนื่องในตลาดมือสอง แม้ว่าจะเป็นลำโพงที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานเป็นมอนิเตอร์ระดับมืออาชีพ แต่กลับพบว่าถูกนำไปใช้งานเป็นลำโพงบ้านในตลาดแถบเอเชียมากกว่าการใช้งาน จริงๆในตลาดโปรฯเสียอีก การปรับปรุงลำโพงมอนิเตอร์ 4344 ไปสู่รุ่น 4344MKII ถูกออกแบบใหม่โดยฝ่ายคอนซูเมอร์ของ JBL ทีเน้นไปที่ตลาดลำโพงบ้าน แต่ยังรักษารูปแบบของมอนิเตอร์โปรฯไว้อยู่ นวัตกรรมที่เหนือกว่ารูปแบบนั่นคือไดร์เวอร์ที่นำมาใช้ รุ่น 4344MKII เปลี่ยนมาใช้เบสส์ไดร์เวอร์รุ่น ME150HS จากเดิมที่ถูกออกแบบให้ใช้รุ่น S3100 ส่วนคอมเพรสชันไดร์เวอร์เป็นแบบนีโอไดเมียมรุ่น 275nd ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับ K2-S5500 โดย Greg Timbers พัฒนาเน็ตเวิร์คแบบ charge-coupled ที่มีไฟเลี้ยงวงจรเป็นแบตเตอรีย์ 9V ขึ้นมาโดยเฉพาะ เมื่อทำงานกับไดร์เวอร์ทั้งสี่ตัวให้ผลการตอบสนองที่ยอดเยี่ยมในระดับสุด ยอดของลำโพง JBL ทั้งในความแม่นยำและไดนามิค เป็นผลให้ลำโพงรุ่นนี้ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลายโดยเฉพาะในตลาดเอเชีย และผลิตต่อเนื่อไปอีก 8 ปีจนกระทั่งถูกแทนที่โดย 4348 ในปี 2003